คอลัมน์ ศิลปะแห่งศรัทธา
โดย ARTMULET
สวัสดีครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงผลงานประติมากรรม “พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง อันเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่มีความงดงามอ่อนช้อยโดดเด่นเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันดีในบรรดานักสะสมพระพุทธรูปทั้งหลายและเป็นหนึ่งใน “พระพุทธรูปชุดสุดยอดมหาไตรภาคี” ที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ดินแดนทุ่งโพธิ์ทอง อันเป็นที่ตั้งของวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ในปัจจุบัน ถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์และอุดมสมบูรณ์จึงเป็นสุดยอดแห่งความเป็นสิริมงคลเมื่อได้มีไว้บูชา เป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติ เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นพระประจำตระกูลเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานต่อไปในภายหน้า
ในสัปดาห์นี้ผมจะขอกล่าวถึงผลงานประติมากรรม “พระพุทธสิงหอินทราชาบดี” หนึ่งใน “พระพุทธรูปชุดสุดยอดมหาไตรภาคี” ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงบรรดาศิลปะแห่งพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัยโดยเริ่มจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนมาถึงพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์นั้น พระพุทธรูปหนึ่งในสุดยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมพระพุทธรูปพระบูชาแล้ว อันดับหนึ่ง ต้องยกให้กับพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่ง ศิลปะล้านนา โดยเฉพาะหากเป็นพระเก่าอายุถึงยุคสมัยแล้ว ราคาเช่าหาบูชาต้องว่ากันที่ตัวเลขเจ็ดถึงแปดหลักเลยทีเดียวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความงดงามของศิลปะอายุขัยและที่มาของพระองค์นั้นๆ อันกลายเป็นคุณค่าที่สำคัญยากต่อการประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ ดังนั้นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งจึงมักตกอยู่ในครอบครองของบรรดานักสะสมผู้มากด้วยบารมีและฐานะทางสังคมโดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงาม พระอุระอวบอิ่มสมบูรณ์ ดุจดังพญาราชสีห์ สื่อความหมายถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ทั้งอำนาจ วาสนา บารมี และยังเป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคสมัยนั้นอีกด้วย
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี “สิงห์หนึ่ง” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง มีที่มาจากเรื่องราวในครั้งอดีตสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งขุนอินทประมูลคหบดีที่เป็นนายอากรเก็บภาษี ผู้บูรณะพระนอนองค์ใหญ่ที่สร้างมาแต่ครั้งสมัยพระยาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ในครั้งนั้นขุนอินทประมูลได้ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินภาษีอากรของทางราชการ มาบูรณะพระนอน แต่ขุนอินทประมูลยืนยันว่าเงินที่นำมาบูรณะพระนอนนั้นเป็นเงินที่ตนได้เก็บสะสมมาตั้งแต่ครั้งเริ่มรับราชการหาใช่เงินที่ยักยอกมาดังที่ถูกกล่าวหา แต่อย่างไรก็ดีทางการกับคาดคั้นด้วยการโบยตี โดยหวังให้ขุนอินทประมูลยอมจำนนรับสารภาพ แต่ในครั้งนั้นขุนอินทประมูล ผู้มีหัวใจสิงห์ จึงยอมตายโดยไม่ยอมให้พระพุทธศาสนาต้องมามัวหมองเพราะคำกล่าวหานั้น ครั้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงทราบถึงความเด็ดเดี่ยวในศรัทธาอันแรงกล้าของขุนอินทประมูลที่มีต่อพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงพระราชทานทองคำประดับพระเกศมาลาองค์พระพุทธไสยาสน์ และทรงพระราชทานพระนามใหม่เป็น “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล”
ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของขุนอินทประมูล คหบดีผู้มีหัวใจสิงห์ จึงนำมาสู่แนวคิดในการจัดสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาในแบบสิงห์หนึ่ง เปรียบดังผู้ที่มีหัวใจสิงห์ของขุนอินทประมูล โดยพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่ในครั้งนี้ จะต้องมีความสง่างาม สมบูรณ์ ทรงคุณค่า และสืบสานงานพุทธศิลป์ตามแบบยุคสมัยเดิมในแบบพระเชียงแสนสิงห์หนึ่งแท้ๆ ถูกต้องตามพุทธลักษณะ ที่มีความประณีต วิจิตร บรรจงในทุกขั้นตอนของการจัดสร้าง เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและเพื่อมอบไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของของคนไทยผู้มีจิตศรัทธาในโครงการจัดสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง ทางคณะกรรมการโครงการ โดย อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานและ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาในโครงการ จึงมอบหมายให้ อ.สุชาติ แซ่จิว ประติมากร ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานปั้นพระพุทธรูปแบบคลาสสิก จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งในและนอกวงการเป็นผู้รังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ให้มีความงดงามวิจิตรบรรจง ในรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งยุคต้นขึ้นมาใหม่ในลักษณะประติมากรรมลอยตัว มีพุทธศิลป์คล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย คือมีพุทธลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้น ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำ บัวหงายมีเกสรบัวประกอบ บนฐานหกเหลี่ยมอันเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งยุคต้นโดยแท้
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี “สิงห์หนึ่ง” ภายในบรรจุแผ่นยันต์มหามงคลจักรวาล มหายันต์แห่งโชคลาภ ผ่านพิธีสวดนพเคราะห์ หนุนดวงชะตา เสริมบารมี อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง ร่ำรวย รุ่งเรืองทั้งอำนาจ วาสนา บารมี เหมาะสำหรับมีไว้เป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติเป็นพระประจำตระกูลและเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานสืบไป
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี
ผู้ออกแบบแนวคิดและรังสรรค์ผลงาน : ARTMULET
ออกแบบและปั้นโดยประติมากร : อ.สุชาติ แซ่จิว
จัดสร้างเป็นเนื้อโลหะ 2 ชนิด คือ
- งานโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย
หล่อโดยโรงหล่อเอเชีย ไฟน์อาร์ต
- งานโลหะทองชนวน
หล่อโดยโรงหล่อพุทธศิลป์ล้านนา
พิธีบวงสรวงเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก : วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระพุทธสิงหอินทราชาบดี “สิงห์หนึ่ง”
จัดสร้างขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เพียงขนาดเดียว ฐานชั้นล่างกว้าง 13 นิ้ว ลึก 7 นิ้ว สูง 15 นิ้ว
สร้างเป็นเนื้อโลหะ 2 ชนิดคือ
รายการเนื้อโลหะบรอนซ์ออสเตรเลียจัดสร้างทั้งหมด 6 สี สีละ 9 องค์
ราคาเปิดจอง 26,900.- (ปิดรับจองแล้ว)
รายการเนื้อโลหะทองชนวนสร้างทั้งหมด 6 สี สีละ 99 องค์
ราคาเปิดจอง 15,900.- และ 17,900.- (ปิดรับจองแล้ว)
ค่าจัดส่ง 300 บาทต่อ 1 องค์ รับที่วัดไม่มีค่าส่ง
รายการนี้ได้มีการส่งมอบและรับพระกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังพิธีบวงสรวงและพิธีมหาพุทธาภิเษก ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นในวันที่ 5 มกราคม 2563 ณ พระอุโบสถ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี วัดไตรมิตรวิทยาราม มาเป็นประธานจุดเทียนชัยและนั่งปรกอธิฐานจิตร่วมกับพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป มีท่านพระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาส รก. วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ดับเทียนชัย
สำหรับท่านที่สนใจพระในชุดมหาไตรภาคีองค์อื่นยังสามารถสั่งจองโดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Facebook Inbox : artmulet
Facebook Inbox : artmulet official
Line Id : @artmulet
เว็บไซต์: www.artmulet.com
และที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง T. 0925577511
รายได้ร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง