"ปัญญาพลวัตร"
"พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมามีสองประเด็นหลักคือ การจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ใหม่ระหว่าง ส.ส. แบบเขตเลือกตั้งและ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ กับการกำหนดบัตรเลือกตั้งใหม่จากเดิมใช้บัตรใบเดียวมาเป็นบัตรสองใบ อย่างไรก็ตามผลสืบเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดการถกเถียงตามมา และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ประเด็นที่อาจก่อให้เกิดการถกเถียงคือ การคิดจำนวน ส.ส. ว่าจะคำนวณอย่างไร ในรัฐธรรมนูญปี 2560 การคิดจำนวน ส.ส. คิดจากคะแนนเสียงที่ ส.ส.แต่ละคนได้รับมารวมกันเป็นคะแนนรวมของพรรค จากนั้นนำมาคำนวณเป็นจำนวน “ส.ส.พึงมี” ของแต่ละพรรค ขณะที่ระบบการเลือกตั้งแบบบัตรสองใบที่แก้ครั้งนี้ หากดูจากเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข คือ ต้องการคิดคะแนนแบบ “แยกขาด” ระหว่าง ส.ส. เขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ แต่การที่ผู้เสนอแก้มิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ทำให้ไม่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ครบทุกมาตราที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ระบบการคำนวณ ส.ส.แบบเดิมยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตราที่ว่าด้วยการคำนวณ “จำนวน ส.ส. พึงมี”
ความเห็นเรื่องนี้แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกมองว่า ให้ยึดหลักการตามเจตนารมณ์ที่แก้ไข และมีการให้เหตุผลในทำนองว่า มาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามหลักการใหม่ สำหรับที่มาตราอื่น ๆ ที่อนุวัตรของมาตราหลักเดิม ซึ่งขัดแย้งกับมาตราหลักที่แก้ไขให้ถือว่าหมดสภาพไปโดยปริยาย นัยคือ “การคิด ส.ส. พึงมีของพรรคการเมืองหมดสภาพไปนั่นเอง” และหากเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่า เจตนารมณ์เดิมของรัฐธรรมนูญที่เคยใช้อยู่ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ซึ่งคือ “คะแนนไม่ตกน้ำ” ก็ต้องยกเลิกไปด้วย
กลุ่มที่สองมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมครั้งนี้ไม่ได้ลบล้างระบบการคิด “ส.ส. พึงมี” แต่อย่างใด เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดก็เกี่ยวข้องเฉพาะมาตรานั้น จะไปเปลี่ยนแปลงหลักการของมาตราอื่นไม่ได้ ดังนั้น มาตราที่เกี่ยวข้องกับ ส.ส. พึงมีที่ยังดำรงอยู่ในรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงเป็นแบบเดิม ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการแก้ไขในครั้งนี้ และในการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงยังต้องใช้ระบบการคิด ส.ส. พึงมี อยู่เช่นเดิม และหลักการคะแนนไม่ตกน้ำก็ยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน
มีความเป็นไปได้สูงว่า ภายหลังที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รับการลงพระปรมาธิไธยแล้ว และมีการเริ่มแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง โดยยกเลิกหลักการคำนวณ “ส.ส. พึงมี” และใช้หลักการคำนวณใหม่แทน อาจมีผู้นำเห็นว่า หลักการใหม่ที่แก้ไขใน พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง “ขัดรัฐธรรมนูญ” และนำประเด็นนี้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ในอนาคตอันใกล้มีความน่าจะเป็นสามประการที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งครั้งต่อไป
1)นายกรัฐมนตรียุบสภาก่อนการลงพระปรมาธิไธย ระบบการเลือกตั้งก็ต้องใช้แบบเดิมเหมือนในการเลือกตั้งปี 2562 นั่นคือ การใช้บัตรใบเดียว การคิด ส.ส. พึงมี และมีจำนวน ส.ส.เขต 350 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน
2)นายกฯ ไม่ยุบสภา ปล่อยให้กระบวนการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งดำเนินไปจนเสร็จ และไม่มีอุปสรรคอื่นใดที่ขัดขวางเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข จะส่งผลให้มีการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ที่มีการคิดจำนวน ส.ส. แบบแยกขาดระหว่าง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค (เป็นระบบเลือกตั้งที่เคยใช้ในการเลือกตั้งปี 2544) มีการใช้บัตร 2 ใบ ไม่มีการคิดจำนวน ส.ส.พึงมี และ มีจำนวน ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน
3)นายกฯ ไม่ยุบสภา ปล่อยให้กระบวนการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งดำเนินไปจนเสร็จ แต่มีอุปสรรคที่ขัดขวางให้ไม่เป็นไปเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข เช่น มีผู้ยื่นศาลธรรมนูญให้ตีความ และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ป.เลือกตั้ง ที่แก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ ลักษณะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นคือ มีการใช้บัตร 2 ใบ มีการคิด ส.ส.พึงมีของพรรคการเมือง (อิงกับคะแนนรวมที่มาจากบัตรเลือกตั้งพรรค) และ มีจำนวน ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
ไม่ว่าจะมีการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด สิ่งที่ยังมีอิทธิพลต่อการกำหนดชัยชนะก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก สำหรับปัจจัยแห่งชัยชนะของ ส.ส. เขตในสังคมไทย คือ 1) จำนวนเงินและประสิทธิภาพของการซื้อเสียงของ ส.ส. แต่ละคน แหล่งเงินอาจมาเงินส่วนตัว และ/หรือได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น ส่วนประสิทธิภาพการซื้อเสียงมาจากความเข้มแข็ง ครอบคลุม ระดับอิทธิพลของเครือข่ายหัวคะแนน และวิธีการควบคุมเสียงในระดับพื้นที่ 2) ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียงของผู้สมัคร ที่ต้องมีอานุภาพเหนือยุทธศาสตร์ของคู่แข่ง ทั้งในการโน้มน้าวให้เกิดความนิยมต่อตนเอง เช่น การสร้างภาพลักษณ์ “ใจถึงพึ่งได้” และยุทธวิธีการสกัดกั้นคู่แข่ง เช่น การใช้อำนาจรัฐ หรืออิทธิพลนอกกฎหมาย 3) ความนิยมของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ที่มีต่อหัวหน้าพรรค (หรือเจ้าของพรรค) และพรรคการเมืองที่ผู้สมัครผู้นั้น ที่ส่งผลเชิงบวกต่อความนิยมของผู้สมัคร และ 4) นโยบายของพรรค ที่ตอบสนองผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อประชาชนในพื้นที่

สำหรับปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกพรรคการเมืองมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างจาก ส.ส. เขต ปัจจัยเหล่านั้นประกอบด้วย 1) อุดมการณ์ และความผูกพันต่อพรรค เช่น อุดมการณ์เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การหาเสียงของพรรค เช่น นโยบายประชานิยม ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่าง 3) ภาพลักษณ์และความนิยมของหัวหน้าพรรค เช่น ภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ การมีวิสัยทัศน์ การมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ และการเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย 4) การทำงานในภาพรวมของ ส.ส.ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร เช่น การอภิปราย การเสนอและลงมติเกี่ยวกับการออกกฎหมาย และ 5) ทรัพยากรที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียง
หากมีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบการเลือกตั้งตามการแก้ใหม่นั่นคือ การมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ การคิดจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อแยกขาดจาก ส.ส. เขต และการมีจำนวนส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน เราสามารถประเมินจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่คาดว่าพรรคการเมืองจะได้ โดยดูข้อมูลจากการสำรวจความนิยมของพรรคการเมืองของนิด้าโพลสามครั้งในช่วงหลายเดือนธันวาคม 2563 มีนาคม และมิถุนายน 2564 ดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมากที่สุด ประมาณ 20 – 25 คน (คะแนนนิยมของพรรคอยู่ระหว่างร้อยละ 19.48 – 23.61) คะแนนนิยมของพรรคมีแหล่งที่มาจาก ความชื่นชมและนิยมในตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของพรรคเพื่อไทย นโยบายประชานิยม และผลงานการบริหารประเทศในอดีต อย่างไรก็ตามคะแนนนิยมของพรรคอาจมีโอกาสเพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง หากพรรคมีการเสนอบุคคลที่มีภาพลักษณ์ดีเป็นตัวเลือกในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสามารถคิดค้นนโยบายประชานิยมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เลือกตั้ง
2) ลำดับสองคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งแปลงสภาพจากพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกยุบไป มีโอกาสได้ ส.ส. ประมาณ 14-15 ที่นั่ง (คะแนนนิยมในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างคงที่ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 14) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคมาจากอุดมการณ์เสรีนิยมของพรรคที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว การมีจุดยืนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเสรีอย่างเข้มข้น และการทำงานของ ส.ส.ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงบทบาทได้ค่อนข้างโดดเด่นทั้งในการอภิปรายและการเสนอกฎหมายที่ทันสมัยต่าง ๆ (แม้ว่าไม่ผ่านสภาฯ ก็ตาม)
3) ลำดับสามคือ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มีโอกาสได้ 10 -17 ที่นั่ง หรือ อาจได้เพียง 3-5 ที่นั่ง (คะแนนนิยมตกลงอย่างมากจากร้อยละ 17.80 ในเดือนธันวาคม 2563 เหลือเพียงร้อยละ 10.70 ในเดือนมิถุนายน 2564) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคพลังประชารัฐผูกติดกับความนิยมต่อตัวพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หากคะแนนนิยมพลเอกประยุทธ์ตก คะแนนนิยมของพรรคก็ตกลงตามไปได้วย และหากพลเอกประยุทธ์ วางมือทางการเมืองไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใดก็ตาม หรือ ยังเล่นการเมืองแต่ไปสังกัดพรรคอื่น คะแนนนิยมของ พปชร. ก็มีโอกาสลดลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2 – 3 ได้สูง ซึ่งจะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เพียง 2-3 คน
4) ส่วนลำดับสี่คือ พรรคประชาธิปัตย์ อาจได้ประมาณ 7 – 10 ที่นั่ง (คะแนนนิยมอยู่ในช่วงร้อยละ 7 ถึง 9) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคมาจากความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคในฐานะที่เป็นพรรคเก่าแก่ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ดูไม่มีผลมากนัก พรรคประชาธิปัตย์อาจได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นหากพลเอกประยุทธ์ไม่เล่นการเมือง เพราะจะมีผู้เลือกตั้งชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมบางส่วนที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ จะหันไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์แทน ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งเพิ่มเป็น 10-15 ที่นั่ง
ส่วนลำดับ 5 คือ พรรคเสรีรวมไทย และภูมิใจไทยจะได้พรรคละประมาณ 2-3 ที่นั่ง (คะแนนนิยมประมาณร้อยละ 2- 3) กรณีเสรีรวมไทยแหล่งคะแนนนิยมมาจาก ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรค ที่มีลักษณะเป็นคนกล้าพูด กล้าวิพากษ์วิจารณ์ผู้บริหารประเทศ ส่วนพรรคภูมิใจไทนมาจากการเสนอนโยบายที่หวือหวาในการหาเสียง ส่วนพรรคเล็กอื่น ๆ บางพรรค อาจได้พรรคละ 1-2 ที่นั่ง
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนอีกประมาณร้อยละ 26 – 32 ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าสนับสนุนพรรคการเมืองใด ซึ่งหมายความว่า ยังมีที่นั่ง ส.ส. ประมาณหนึ่งในสี่ ที่พรรคการเมืองต่าง ๆ สามารถช่วงชิงกันในระหว่างการรณรงค์เลือกตั้ง สำหรับผู้เลือกตั้งกลุ่มนี้ การตัดสินใจเลือกตั้งมีแนวโน้มใช้เหตุผลเชิงอรรถประโยชน์นิยมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ อันได้แก่ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากนโยบายของพรรค หรือประโยชน์เฉพาะหน้าที่เป็นรูปธรรมระหว่างการหาเสียง
"พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมามีสองประเด็นหลักคือ การจัดสรรจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ใหม่ระหว่าง ส.ส. แบบเขตเลือกตั้งและ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ กับการกำหนดบัตรเลือกตั้งใหม่จากเดิมใช้บัตรใบเดียวมาเป็นบัตรสองใบ อย่างไรก็ตามผลสืบเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีประเด็นที่อาจก่อให้เกิดการถกเถียงตามมา และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ประเด็นที่อาจก่อให้เกิดการถกเถียงคือ การคิดจำนวน ส.ส. ว่าจะคำนวณอย่างไร ในรัฐธรรมนูญปี 2560 การคิดจำนวน ส.ส. คิดจากคะแนนเสียงที่ ส.ส.แต่ละคนได้รับมารวมกันเป็นคะแนนรวมของพรรค จากนั้นนำมาคำนวณเป็นจำนวน “ส.ส.พึงมี” ของแต่ละพรรค ขณะที่ระบบการเลือกตั้งแบบบัตรสองใบที่แก้ครั้งนี้ หากดูจากเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข คือ ต้องการคิดคะแนนแบบ “แยกขาด” ระหว่าง ส.ส. เขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ แต่การที่ผู้เสนอแก้มิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ ทำให้ไม่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ครบทุกมาตราที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ระบบการคำนวณ ส.ส.แบบเดิมยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตราที่ว่าด้วยการคำนวณ “จำนวน ส.ส. พึงมี”
ความเห็นเรื่องนี้แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกมองว่า ให้ยึดหลักการตามเจตนารมณ์ที่แก้ไข และมีการให้เหตุผลในทำนองว่า มาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามหลักการใหม่ สำหรับที่มาตราอื่น ๆ ที่อนุวัตรของมาตราหลักเดิม ซึ่งขัดแย้งกับมาตราหลักที่แก้ไขให้ถือว่าหมดสภาพไปโดยปริยาย นัยคือ “การคิด ส.ส. พึงมีของพรรคการเมืองหมดสภาพไปนั่นเอง” และหากเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่า เจตนารมณ์เดิมของรัฐธรรมนูญที่เคยใช้อยู่ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ซึ่งคือ “คะแนนไม่ตกน้ำ” ก็ต้องยกเลิกไปด้วย
กลุ่มที่สองมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมครั้งนี้ไม่ได้ลบล้างระบบการคิด “ส.ส. พึงมี” แต่อย่างใด เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราใดก็เกี่ยวข้องเฉพาะมาตรานั้น จะไปเปลี่ยนแปลงหลักการของมาตราอื่นไม่ได้ ดังนั้น มาตราที่เกี่ยวข้องกับ ส.ส. พึงมีที่ยังดำรงอยู่ในรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงเป็นแบบเดิม ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการแก้ไขในครั้งนี้ และในการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงยังต้องใช้ระบบการคิด ส.ส. พึงมี อยู่เช่นเดิม และหลักการคะแนนไม่ตกน้ำก็ยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน
มีความเป็นไปได้สูงว่า ภายหลังที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รับการลงพระปรมาธิไธยแล้ว และมีการเริ่มแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง โดยยกเลิกหลักการคำนวณ “ส.ส. พึงมี” และใช้หลักการคำนวณใหม่แทน อาจมีผู้นำเห็นว่า หลักการใหม่ที่แก้ไขใน พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง “ขัดรัฐธรรมนูญ” และนำประเด็นนี้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ในอนาคตอันใกล้มีความน่าจะเป็นสามประการที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งครั้งต่อไป
1)นายกรัฐมนตรียุบสภาก่อนการลงพระปรมาธิไธย ระบบการเลือกตั้งก็ต้องใช้แบบเดิมเหมือนในการเลือกตั้งปี 2562 นั่นคือ การใช้บัตรใบเดียว การคิด ส.ส. พึงมี และมีจำนวน ส.ส.เขต 350 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน
2)นายกฯ ไม่ยุบสภา ปล่อยให้กระบวนการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งดำเนินไปจนเสร็จ และไม่มีอุปสรรคอื่นใดที่ขัดขวางเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข จะส่งผลให้มีการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ที่มีการคิดจำนวน ส.ส. แบบแยกขาดระหว่าง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค (เป็นระบบเลือกตั้งที่เคยใช้ในการเลือกตั้งปี 2544) มีการใช้บัตร 2 ใบ ไม่มีการคิดจำนวน ส.ส.พึงมี และ มีจำนวน ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน
3)นายกฯ ไม่ยุบสภา ปล่อยให้กระบวนการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งดำเนินไปจนเสร็จ แต่มีอุปสรรคที่ขัดขวางให้ไม่เป็นไปเจตนารมณ์ของผู้เสนอแก้ไข เช่น มีผู้ยื่นศาลธรรมนูญให้ตีความ และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ป.เลือกตั้ง ที่แก้ไขขัดรัฐธรรมนูญ ลักษณะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นคือ มีการใช้บัตร 2 ใบ มีการคิด ส.ส.พึงมีของพรรคการเมือง (อิงกับคะแนนรวมที่มาจากบัตรเลือกตั้งพรรค) และ มีจำนวน ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
ไม่ว่าจะมีการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด สิ่งที่ยังมีอิทธิพลต่อการกำหนดชัยชนะก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก สำหรับปัจจัยแห่งชัยชนะของ ส.ส. เขตในสังคมไทย คือ 1) จำนวนเงินและประสิทธิภาพของการซื้อเสียงของ ส.ส. แต่ละคน แหล่งเงินอาจมาเงินส่วนตัว และ/หรือได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น ส่วนประสิทธิภาพการซื้อเสียงมาจากความเข้มแข็ง ครอบคลุม ระดับอิทธิพลของเครือข่ายหัวคะแนน และวิธีการควบคุมเสียงในระดับพื้นที่ 2) ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียงของผู้สมัคร ที่ต้องมีอานุภาพเหนือยุทธศาสตร์ของคู่แข่ง ทั้งในการโน้มน้าวให้เกิดความนิยมต่อตนเอง เช่น การสร้างภาพลักษณ์ “ใจถึงพึ่งได้” และยุทธวิธีการสกัดกั้นคู่แข่ง เช่น การใช้อำนาจรัฐ หรืออิทธิพลนอกกฎหมาย 3) ความนิยมของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ที่มีต่อหัวหน้าพรรค (หรือเจ้าของพรรค) และพรรคการเมืองที่ผู้สมัครผู้นั้น ที่ส่งผลเชิงบวกต่อความนิยมของผู้สมัคร และ 4) นโยบายของพรรค ที่ตอบสนองผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อประชาชนในพื้นที่
สำหรับปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกพรรคการเมืองมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างจาก ส.ส. เขต ปัจจัยเหล่านั้นประกอบด้วย 1) อุดมการณ์ และความผูกพันต่อพรรค เช่น อุดมการณ์เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การหาเสียงของพรรค เช่น นโยบายประชานิยม ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่าง 3) ภาพลักษณ์และความนิยมของหัวหน้าพรรค เช่น ภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์ การมีวิสัยทัศน์ การมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ และการเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย 4) การทำงานในภาพรวมของ ส.ส.ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร เช่น การอภิปราย การเสนอและลงมติเกี่ยวกับการออกกฎหมาย และ 5) ทรัพยากรที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียง
หากมีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบการเลือกตั้งตามการแก้ใหม่นั่นคือ การมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ การคิดจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อแยกขาดจาก ส.ส. เขต และการมีจำนวนส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน เราสามารถประเมินจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่คาดว่าพรรคการเมืองจะได้ โดยดูข้อมูลจากการสำรวจความนิยมของพรรคการเมืองของนิด้าโพลสามครั้งในช่วงหลายเดือนธันวาคม 2563 มีนาคม และมิถุนายน 2564 ดังนี้
1. พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมากที่สุด ประมาณ 20 – 25 คน (คะแนนนิยมของพรรคอยู่ระหว่างร้อยละ 19.48 – 23.61) คะแนนนิยมของพรรคมีแหล่งที่มาจาก ความชื่นชมและนิยมในตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของพรรคเพื่อไทย นโยบายประชานิยม และผลงานการบริหารประเทศในอดีต อย่างไรก็ตามคะแนนนิยมของพรรคอาจมีโอกาสเพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง หากพรรคมีการเสนอบุคคลที่มีภาพลักษณ์ดีเป็นตัวเลือกในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสามารถคิดค้นนโยบายประชานิยมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เลือกตั้ง
2) ลำดับสองคือ พรรคก้าวไกล ซึ่งแปลงสภาพจากพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกยุบไป มีโอกาสได้ ส.ส. ประมาณ 14-15 ที่นั่ง (คะแนนนิยมในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างคงที่ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 14) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคมาจากอุดมการณ์เสรีนิยมของพรรคที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว การมีจุดยืนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเสรีอย่างเข้มข้น และการทำงานของ ส.ส.ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงบทบาทได้ค่อนข้างโดดเด่นทั้งในการอภิปรายและการเสนอกฎหมายที่ทันสมัยต่าง ๆ (แม้ว่าไม่ผ่านสภาฯ ก็ตาม)
3) ลำดับสามคือ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มีโอกาสได้ 10 -17 ที่นั่ง หรือ อาจได้เพียง 3-5 ที่นั่ง (คะแนนนิยมตกลงอย่างมากจากร้อยละ 17.80 ในเดือนธันวาคม 2563 เหลือเพียงร้อยละ 10.70 ในเดือนมิถุนายน 2564) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคพลังประชารัฐผูกติดกับความนิยมต่อตัวพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หากคะแนนนิยมพลเอกประยุทธ์ตก คะแนนนิยมของพรรคก็ตกลงตามไปได้วย และหากพลเอกประยุทธ์ วางมือทางการเมืองไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใดก็ตาม หรือ ยังเล่นการเมืองแต่ไปสังกัดพรรคอื่น คะแนนนิยมของ พปชร. ก็มีโอกาสลดลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2 – 3 ได้สูง ซึ่งจะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เพียง 2-3 คน
4) ส่วนลำดับสี่คือ พรรคประชาธิปัตย์ อาจได้ประมาณ 7 – 10 ที่นั่ง (คะแนนนิยมอยู่ในช่วงร้อยละ 7 ถึง 9) แหล่งคะแนนนิยมของพรรคมาจากความผูกพันของประชาชนที่มีต่อพรรคในฐานะที่เป็นพรรคเก่าแก่ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ดูไม่มีผลมากนัก พรรคประชาธิปัตย์อาจได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นหากพลเอกประยุทธ์ไม่เล่นการเมือง เพราะจะมีผู้เลือกตั้งชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมบางส่วนที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ จะหันไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์แทน ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งเพิ่มเป็น 10-15 ที่นั่ง
ส่วนลำดับ 5 คือ พรรคเสรีรวมไทย และภูมิใจไทยจะได้พรรคละประมาณ 2-3 ที่นั่ง (คะแนนนิยมประมาณร้อยละ 2- 3) กรณีเสรีรวมไทยแหล่งคะแนนนิยมมาจาก ภาพลักษณ์ของหัวหน้าพรรค ที่มีลักษณะเป็นคนกล้าพูด กล้าวิพากษ์วิจารณ์ผู้บริหารประเทศ ส่วนพรรคภูมิใจไทนมาจากการเสนอนโยบายที่หวือหวาในการหาเสียง ส่วนพรรคเล็กอื่น ๆ บางพรรค อาจได้พรรคละ 1-2 ที่นั่ง
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนอีกประมาณร้อยละ 26 – 32 ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าสนับสนุนพรรคการเมืองใด ซึ่งหมายความว่า ยังมีที่นั่ง ส.ส. ประมาณหนึ่งในสี่ ที่พรรคการเมืองต่าง ๆ สามารถช่วงชิงกันในระหว่างการรณรงค์เลือกตั้ง สำหรับผู้เลือกตั้งกลุ่มนี้ การตัดสินใจเลือกตั้งมีแนวโน้มใช้เหตุผลเชิงอรรถประโยชน์นิยมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ อันได้แก่ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากนโยบายของพรรค หรือประโยชน์เฉพาะหน้าที่เป็นรูปธรรมระหว่างการหาเสียง