ผู้จัดการรายวัน360- รอลุ้นมาตรการจากรัฐเคาะต่ออายุมาตรการลดค่าไฟที่จะสิ้นสุด 30 มิ.ย.นี้ ก.พลังงานรับหากต่อต้องใช้เงินงบประมาณฯอุดหนุน ขณะที่ราคาแอลพีจีที่กบง.เคาะตรึงไว้ 318 บาทต่อถัง 15 กก. หมดสิ้นเดือนนี้เช่นกัน โดยมุ่งดูฐานะกองทุนน้ำมันฯมาเป็นกลไกอุดหนุนฯต่อได้หรือไม่
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและกิจการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 5 พ.ค. 64 โดยกำหนดให้ลดค่าไฟฟ้าตามมาตรการเดิมที่เคยดำเนินการในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.64 ให้มีผลรอบบิลเดือนพ.ค.-มิ.ย.64 โดยใช้เดือนเม.ย.64 เป็นเดือนฐานในการคิดคำนวณลดค่าไฟฟ้า รวมไปถึงมาตรการการตรึงราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิ.ย. กระทรวงฯต้องรอนโยบายจากภาครัฐว่าจะมีการพิจารณาขยายต่อหรือไม่เพราะจะต้องพิจารณาวงเงินในการดูแลโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้วงเงินจากภาครัฐ
“การลดค่าไฟ 2 เดือนได้คาดการใช้เงินดูแลไว้ 8,000 บาทซึ่งยอมรับว่าหากจะช่วยเหลือต่อไป ก็ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาล เช่น วงเงิน ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน เป็นต้น เรื่องนี้ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ก็กำลังพิจารณาอยู่ ขณะที่ราคาแอลพีจีกบง.ได้พิจารณาตรึงราคาไว้ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม(กก.) ออกไป 3 เดือนหรือมีผล 1 เม.ย.-30 มิ.ย.64 ทางกระทรวงฯเองคงจะต้องมีการพิจารณาวงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอที่จะเข้ามาดูแลต่อมากน้อยเพียงใดจากก่อนหน้าได้กำหนดกรอบวงเงินดูแลไว้ไม่เกิน 1.5 หมื่นล้านบาทล่าสุดมีการใช้เงินไปแล้วกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท และฐานะกองทุนน้ำมันฯสุทธิอยู่ที่ 20,498 ล้านบาท”นายกุลิศกล่าว
นายกุลิศ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่แหล่งผลิตปิโตรเลียมเอราวัณ จากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้รับสัมปทานรายเดิม ให้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ผู้ชนะประมูลดำเนินการรายใหม่ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อให้ ปตท.สผ. สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการผลิตก๊าซฯให้ได้อย่างต่อเนื่อง (สัญญาสัมปทานแหล่งเอวัณของ บริษัท เชฟรอนฯจะหมดอายุใน 23 เม.ย. 2565 )โดยยืนยันว่าจะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซฯและราคาค่าไฟฟ้าจะไม่แพงเพราะหากไม่เป็นไปตามแผนได้มีการเตรียมแผนสำรองในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) มาใช้ทดแทนชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันราคาก๊าซ LNG มีแนวโน้มถูกกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทย
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและกิจการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 5 พ.ค. 64 โดยกำหนดให้ลดค่าไฟฟ้าตามมาตรการเดิมที่เคยดำเนินการในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.64 ให้มีผลรอบบิลเดือนพ.ค.-มิ.ย.64 โดยใช้เดือนเม.ย.64 เป็นเดือนฐานในการคิดคำนวณลดค่าไฟฟ้า รวมไปถึงมาตรการการตรึงราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิ.ย. กระทรวงฯต้องรอนโยบายจากภาครัฐว่าจะมีการพิจารณาขยายต่อหรือไม่เพราะจะต้องพิจารณาวงเงินในการดูแลโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้วงเงินจากภาครัฐ
“การลดค่าไฟ 2 เดือนได้คาดการใช้เงินดูแลไว้ 8,000 บาทซึ่งยอมรับว่าหากจะช่วยเหลือต่อไป ก็ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาล เช่น วงเงิน ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน เป็นต้น เรื่องนี้ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ก็กำลังพิจารณาอยู่ ขณะที่ราคาแอลพีจีกบง.ได้พิจารณาตรึงราคาไว้ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม(กก.) ออกไป 3 เดือนหรือมีผล 1 เม.ย.-30 มิ.ย.64 ทางกระทรวงฯเองคงจะต้องมีการพิจารณาวงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอที่จะเข้ามาดูแลต่อมากน้อยเพียงใดจากก่อนหน้าได้กำหนดกรอบวงเงินดูแลไว้ไม่เกิน 1.5 หมื่นล้านบาทล่าสุดมีการใช้เงินไปแล้วกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท และฐานะกองทุนน้ำมันฯสุทธิอยู่ที่ 20,498 ล้านบาท”นายกุลิศกล่าว
นายกุลิศ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่แหล่งผลิตปิโตรเลียมเอราวัณ จากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้รับสัมปทานรายเดิม ให้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ผู้ชนะประมูลดำเนินการรายใหม่ว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อให้ ปตท.สผ. สามารถเข้าพื้นที่ดำเนินการผลิตก๊าซฯให้ได้อย่างต่อเนื่อง (สัญญาสัมปทานแหล่งเอวัณของ บริษัท เชฟรอนฯจะหมดอายุใน 23 เม.ย. 2565 )โดยยืนยันว่าจะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนก๊าซฯและราคาค่าไฟฟ้าจะไม่แพงเพราะหากไม่เป็นไปตามแผนได้มีการเตรียมแผนสำรองในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) มาใช้ทดแทนชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันราคาก๊าซ LNG มีแนวโน้มถูกกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทย