"บิ๊กป้อม" โยนคลัง แจง ครม.ออกพ.ร.ก.กู้เงิน 7 แสนล้านสู้โควิด ยันทำทุกอย่างโปร่งใส ช่วยประชาชนเป็นหลัก “อาคม” เลี่ยงตอบ เผยเงินกู้เงินกู้ 1 ล้านล้านเดิมเหลือ 1.65 หมื่นล้าน ต้องกู้ระลอกใหม่ วางกรอบเยียวยา 4 แสนล้าน-ฟื้นฟู 2.7 แสนล้าน
วานนี้ (19 พ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ได้พิจารณาวาระลับ เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอขออนุมัติพระรากำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วงเงินประมาณ 7 แสนล้านบาท ว่า ยังไม่รู้ในรายละเอียด ให้รัฐบาลและกระทรวงการคลังเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียด
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธืจันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลมีเงินเพียงพอในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 แต่เหตุใดยังมีการกู้เพิ่ม พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ให้กระทรวงการคลังชี้แจง ยืนยันทุกอย่างรัฐบาลทำด้วยความโปร่งใส ช่วยเหลือประชาชนเป็นหลัก ให้ทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงการเตรียมการเรื่องวัคซีน เตรียมไว้แล้ว 150 ล้านโดส เพื่อให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนทุกคน ไม่ต้องห่วง ขออย่าห่วงเรื่องของการฉีดวัคซีน
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าว แต่กล่าวทักทายผู้สื่อข่าวแค่ว่า “คิดถึงนักข่าว เช่นเดียวกับ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ด้วย
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นภาพรวม เพราะงบฯปี 65 จะเป็นเงินลงทุนประมาณ 7 แสนล้าน ส่วนเงินกู้อีก 7 แสนล้าน จะเข้ามาช่วยเพิ่มเติมในวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3 ข้อ คือ 1. นำมาใช้จ่ายเรื่องการแก้ปัญหาโควิด ทั้งเรื่องจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม เครื่องมือแพทย์ และอื่นๆ ที่จำเป็น เข้าใจว่ามีวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้าน 2. นำมาใช้เพื่อชดเชยและเยียวยา ประมาณ 4 แสนล้าน และ 3.อีก 2.7 แสนล้าน จะนำมาใช้ในเรื่องการฟื้นฟู
“เพราะฉะนั้นก็มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และรัฐบาลก็ต้องเข้าไปกำกับดูแลให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งก็จะมีส่วนช่วยทั้งในการแก้ปัญหาโควิด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในเวลาเดียวกัน กับการใช้งบประมาณประจำปีไปเสริมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงการกู้เงินระลอกใหม่ของรัฐบาลว่า เบื้องต้นเห็นด้วยกับการที่เราต้องอัดเม็ดเงินเพิ่มเพื่อเยียวยาประชาชน ธุรกิจที่เดือดร้อน และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่สำคัญที่สุด คือการหยุดยั้งการระบาดโควิด-19 อย่างถาวร ด้วยการทุ่มงบฯ จัดซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพดีให้เพียงพอกับประชาชนอย่างรวดเร็ว แต่มี 3 สิ่งที่รัฐบาลควรทำก่อนกู้เงินแบบลับๆ ที่ทำเอกสารแค่ 4 แผ่น ในการอนุมัติสร้างหนี้ให้คนไทยเพิ่มอีก 7 แสนล้านบาท ดังนี้
1.ตัดงบประมาณปี 65 ที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน ที่ไม่ก่อให้เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้คนไทย ออกไปทั้งหมดก่อน เช่น งบฯกลาโหม 203,282 ล้าน เพราะขณะนี้ศัตรูของคนไทย คือเชื้อโรคที่ใช้อาวุธสงครามไปเข่นฆ่าไม่ได้ จึงเห็นว่างบฯ65 ยังสามารถตัดมาเพื่อทุ่มซื้อวัคซีนคุณภาพดี และใช้ในการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อีกอย่างน้อย 15% หรือเกือบ 500,000 ล้านบาท
2. เงินกู้ใหม่ต้องไม่เป็นการตีเช็คเปล่าเหมือนเงินกู้ 1 ล้านล้านรอบที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลนำไปใช้อย่างไร้ประสิทธิภาพ จนกระทั่งประชาชน และธุรกิจเดือดร้อนไม่ได้รับการช่วยเหลือ และมีข้อกังขาเรื่องความโปร่งใส ก่อนสภาจะอนุมัติเงินกู้ใหม่ รัฐบาลต้องชี้แจงรายละเอียดให้ทราบชัดเจนก่อนว่า จะใช้เงินกู้ ไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับประชาชนบ้าง ทั้งกรอบเงินกู้เยียวยาประชาชน อีก 400,000 ล้าน และฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก 270,000 ล้าน ต้องเป็นโครงการที่ลงไปถึงประชาชน และผู้ประกอบการที่เดือดร้อนได้อย่างแท้จริง ทั่วถึง เป็นธรรม และตรงเป้าหมายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งกรอบเงินกู้เพื่อแผนงานด้านสาธารณสุขอีก 30,000 ล้าน ต้องลงไปพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุข เพื่อรองรับการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อวัคซีนคุณภาพดี อย่างรวดเร็ว
และ 3.ต้องใช้เงินกู้ของประชาชนทุกบาทอย่างโปร่งใส ซึ่งแม้จะคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลนี้ เพราะแค่ขั้นตอนแรกในการอนุมัติงบนี้ก็แอบทำอย่างลับที่สุดแล้ว โดยรัฐบาลต้องคำนึงอยู่เสมอว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่รัฐบาลกู้มา คือภาระของลูกหลานไทยที่ต้องใช้หนี้กันอย่างยาวนาน หนี้ของประชาชนต้องใช้เพื่อประชาชนและต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความโปร่งใสไร้ทุจริต
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ในฐานะอดีต รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลนี้ออก พ.ร.ก.พิเศษกู้เงินแก้วิกฤตโควิด 2 รอบ รวม 1.7 ล้านล้านบาท เท่ากับ 10% ของ GDP รอบล่าสุดนี้ ก้อนแรก 7 แสนล้าน คือการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 65 ก้อนสองอีก 7 แสนล้าน โดยออกเป็น พ.ร.ก.พิเศษ รวม 1.4 ล้านล้าน รวม 2 ปี การกู้ทั้งหมดของปี 64และปี65 รวมเกือบ 3 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 20% ของ GDP สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำ และฟื้นช้า เพราะวัคซีนยังไม่เรียบร้อยดี คนไทยยังกลับไปทำมาหากินยังไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องกู้ และกู้โดยไม่มีทางเลือกอื่น
อย่างไรก็ตาม หากถามว่า การกู้ครั้งใหม่นี้มีผลต่อเสถียรภาพทางการคลังหรือไม่ คำตอบคือ ในสภาพเศรษฐกิจอย่างนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงิน คำตอบคือ ไม่กู้ไม่ได้อยู่ดี โดยที่ภาระต่องบประมาณ ยังรับได้อยู่ แต่นั่นเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยช่วงนี้ต่ำมาก และเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้นว่า ดอกเบี้ยนโยบายประเทศอื่นจะปรับขึ้น เพราะสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มกลับมาจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป ทั้งหมดจะไม่เป็นปัญหาหากเศรษฐกิจเราฟื้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้า GDPเราโตได้เฉลี่ยเพียงปีละ 2-3% ไปอีก 4-5 ปี เราอาจจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้นการใช้เงินจึงต้องเข้าเป้า และนี่คือโจทย์ที่สำคัญที่สุด ต้องกู้แต่ต้องใช้เงินกู้ให้คุ้มที่สุด
"รอบแรก 1 ล้านล้านบาท ผมให้แค่ 6/10 คะแนน จากส่วนเยียวยา ผมถือว่ารัฐบาลทำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเราไม่ทิ้งกัน หรือคนละครึ่ง ฯลฯ แต่ที่หัก 4 คะแนน ผมว่าผิดเป้า เพราะเอาไปฟื้นฟู ในเรื่องไม่เป็นเรื่องเสียเยอะ และเบิกจ่ายช้ามาก ไม่สมกับเป็นงบฉุกเฉิน ตามนิยามของ พ.ร.ก. รอบใหม่นี้ไม่ควรแจกแนวเดิม และไม่ควรมีเรื่องฟื้นฟูไม่เป็นเรื่องอีกเลย แต่ต้องยิงให้เข้าเป้า นั่นคือ เป้าหมายหล่อเลี้ยงผู้ประกอบการขนาดเล็ก SMEs ร้านอาหาร ธุรกิจภาคบริการทั้งระบบ ให้อยู่รอดจนถึงการฉีดวัคซีนครบตามเป้า" อดีต รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า พรรคกล้า เคยเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร แต่ก็ถูกกระทรวงการคลังปฏิเสธ ส่วนในเงินกู้ 7 แสนล้านใหม่ มีส่วนที่กันไว้เพื่อการฟื้นฟู สูงถึง 2.7 แสนล้านบาท ตรงนี้ก็จะนำไปสู่ความผิดพลาดซํ้ากับปีที่ผ่านมา ตรงนี้ต้องปรับ และสำคัญที่สุดที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องเร่งทำคือ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มิเช่นนั้นเงินกู้ทั้งหมดนี้ ก็จะถูกละลายหายไปโดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ทำให้คนไทยรู้สึกมีความหวังมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือเสียงสะท้อนจากเฮือกสุดท้ายของผู้ประกอบการ รวมไปถึงกรอบเงินกู้ที่ล้นชนเพดานแล้ว
วานนี้ (19 พ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ได้พิจารณาวาระลับ เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอขออนุมัติพระรากำหนด (พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วงเงินประมาณ 7 แสนล้านบาท ว่า ยังไม่รู้ในรายละเอียด ให้รัฐบาลและกระทรวงการคลังเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียด
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธืจันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลมีเงินเพียงพอในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 แต่เหตุใดยังมีการกู้เพิ่ม พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ให้กระทรวงการคลังชี้แจง ยืนยันทุกอย่างรัฐบาลทำด้วยความโปร่งใส ช่วยเหลือประชาชนเป็นหลัก ให้ทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงการเตรียมการเรื่องวัคซีน เตรียมไว้แล้ว 150 ล้านโดส เพื่อให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนทุกคน ไม่ต้องห่วง ขออย่าห่วงเรื่องของการฉีดวัคซีน
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ในประเด็นดังกล่าว แต่กล่าวทักทายผู้สื่อข่าวแค่ว่า “คิดถึงนักข่าว เช่นเดียวกับ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ด้วย
ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นภาพรวม เพราะงบฯปี 65 จะเป็นเงินลงทุนประมาณ 7 แสนล้าน ส่วนเงินกู้อีก 7 แสนล้าน จะเข้ามาช่วยเพิ่มเติมในวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 3 ข้อ คือ 1. นำมาใช้จ่ายเรื่องการแก้ปัญหาโควิด ทั้งเรื่องจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม เครื่องมือแพทย์ และอื่นๆ ที่จำเป็น เข้าใจว่ามีวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้าน 2. นำมาใช้เพื่อชดเชยและเยียวยา ประมาณ 4 แสนล้าน และ 3.อีก 2.7 แสนล้าน จะนำมาใช้ในเรื่องการฟื้นฟู
“เพราะฉะนั้นก็มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และรัฐบาลก็ต้องเข้าไปกำกับดูแลให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งก็จะมีส่วนช่วยทั้งในการแก้ปัญหาโควิด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในเวลาเดียวกัน กับการใช้งบประมาณประจำปีไปเสริมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงการกู้เงินระลอกใหม่ของรัฐบาลว่า เบื้องต้นเห็นด้วยกับการที่เราต้องอัดเม็ดเงินเพิ่มเพื่อเยียวยาประชาชน ธุรกิจที่เดือดร้อน และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่สำคัญที่สุด คือการหยุดยั้งการระบาดโควิด-19 อย่างถาวร ด้วยการทุ่มงบฯ จัดซื้อวัคซีนที่มีคุณภาพดีให้เพียงพอกับประชาชนอย่างรวดเร็ว แต่มี 3 สิ่งที่รัฐบาลควรทำก่อนกู้เงินแบบลับๆ ที่ทำเอกสารแค่ 4 แผ่น ในการอนุมัติสร้างหนี้ให้คนไทยเพิ่มอีก 7 แสนล้านบาท ดังนี้
1.ตัดงบประมาณปี 65 ที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน ที่ไม่ก่อให้เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้คนไทย ออกไปทั้งหมดก่อน เช่น งบฯกลาโหม 203,282 ล้าน เพราะขณะนี้ศัตรูของคนไทย คือเชื้อโรคที่ใช้อาวุธสงครามไปเข่นฆ่าไม่ได้ จึงเห็นว่างบฯ65 ยังสามารถตัดมาเพื่อทุ่มซื้อวัคซีนคุณภาพดี และใช้ในการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อีกอย่างน้อย 15% หรือเกือบ 500,000 ล้านบาท
2. เงินกู้ใหม่ต้องไม่เป็นการตีเช็คเปล่าเหมือนเงินกู้ 1 ล้านล้านรอบที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลนำไปใช้อย่างไร้ประสิทธิภาพ จนกระทั่งประชาชน และธุรกิจเดือดร้อนไม่ได้รับการช่วยเหลือ และมีข้อกังขาเรื่องความโปร่งใส ก่อนสภาจะอนุมัติเงินกู้ใหม่ รัฐบาลต้องชี้แจงรายละเอียดให้ทราบชัดเจนก่อนว่า จะใช้เงินกู้ ไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับประชาชนบ้าง ทั้งกรอบเงินกู้เยียวยาประชาชน อีก 400,000 ล้าน และฟื้นฟูเศรษฐกิจอีก 270,000 ล้าน ต้องเป็นโครงการที่ลงไปถึงประชาชน และผู้ประกอบการที่เดือดร้อนได้อย่างแท้จริง ทั่วถึง เป็นธรรม และตรงเป้าหมายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งกรอบเงินกู้เพื่อแผนงานด้านสาธารณสุขอีก 30,000 ล้าน ต้องลงไปพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุข เพื่อรองรับการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อวัคซีนคุณภาพดี อย่างรวดเร็ว
และ 3.ต้องใช้เงินกู้ของประชาชนทุกบาทอย่างโปร่งใส ซึ่งแม้จะคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลนี้ เพราะแค่ขั้นตอนแรกในการอนุมัติงบนี้ก็แอบทำอย่างลับที่สุดแล้ว โดยรัฐบาลต้องคำนึงอยู่เสมอว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่รัฐบาลกู้มา คือภาระของลูกหลานไทยที่ต้องใช้หนี้กันอย่างยาวนาน หนี้ของประชาชนต้องใช้เพื่อประชาชนและต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความโปร่งใสไร้ทุจริต
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ในฐานะอดีต รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลนี้ออก พ.ร.ก.พิเศษกู้เงินแก้วิกฤตโควิด 2 รอบ รวม 1.7 ล้านล้านบาท เท่ากับ 10% ของ GDP รอบล่าสุดนี้ ก้อนแรก 7 แสนล้าน คือการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 65 ก้อนสองอีก 7 แสนล้าน โดยออกเป็น พ.ร.ก.พิเศษ รวม 1.4 ล้านล้าน รวม 2 ปี การกู้ทั้งหมดของปี 64และปี65 รวมเกือบ 3 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 20% ของ GDP สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังตกต่ำ และฟื้นช้า เพราะวัคซีนยังไม่เรียบร้อยดี คนไทยยังกลับไปทำมาหากินยังไม่ได้ รัฐบาลจึงต้องกู้ และกู้โดยไม่มีทางเลือกอื่น
อย่างไรก็ตาม หากถามว่า การกู้ครั้งใหม่นี้มีผลต่อเสถียรภาพทางการคลังหรือไม่ คำตอบคือ ในสภาพเศรษฐกิจอย่างนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงิน คำตอบคือ ไม่กู้ไม่ได้อยู่ดี โดยที่ภาระต่องบประมาณ ยังรับได้อยู่ แต่นั่นเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยช่วงนี้ต่ำมาก และเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้นว่า ดอกเบี้ยนโยบายประเทศอื่นจะปรับขึ้น เพราะสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มกลับมาจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป ทั้งหมดจะไม่เป็นปัญหาหากเศรษฐกิจเราฟื้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้า GDPเราโตได้เฉลี่ยเพียงปีละ 2-3% ไปอีก 4-5 ปี เราอาจจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้นการใช้เงินจึงต้องเข้าเป้า และนี่คือโจทย์ที่สำคัญที่สุด ต้องกู้แต่ต้องใช้เงินกู้ให้คุ้มที่สุด
"รอบแรก 1 ล้านล้านบาท ผมให้แค่ 6/10 คะแนน จากส่วนเยียวยา ผมถือว่ารัฐบาลทำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเราไม่ทิ้งกัน หรือคนละครึ่ง ฯลฯ แต่ที่หัก 4 คะแนน ผมว่าผิดเป้า เพราะเอาไปฟื้นฟู ในเรื่องไม่เป็นเรื่องเสียเยอะ และเบิกจ่ายช้ามาก ไม่สมกับเป็นงบฉุกเฉิน ตามนิยามของ พ.ร.ก. รอบใหม่นี้ไม่ควรแจกแนวเดิม และไม่ควรมีเรื่องฟื้นฟูไม่เป็นเรื่องอีกเลย แต่ต้องยิงให้เข้าเป้า นั่นคือ เป้าหมายหล่อเลี้ยงผู้ประกอบการขนาดเล็ก SMEs ร้านอาหาร ธุรกิจภาคบริการทั้งระบบ ให้อยู่รอดจนถึงการฉีดวัคซีนครบตามเป้า" อดีต รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า พรรคกล้า เคยเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร แต่ก็ถูกกระทรวงการคลังปฏิเสธ ส่วนในเงินกู้ 7 แสนล้านใหม่ มีส่วนที่กันไว้เพื่อการฟื้นฟู สูงถึง 2.7 แสนล้านบาท ตรงนี้ก็จะนำไปสู่ความผิดพลาดซํ้ากับปีที่ผ่านมา ตรงนี้ต้องปรับ และสำคัญที่สุดที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องเร่งทำคือ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มิเช่นนั้นเงินกู้ทั้งหมดนี้ ก็จะถูกละลายหายไปโดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ทำให้คนไทยรู้สึกมีความหวังมากขึ้น ทั้งหมดนี้คือเสียงสะท้อนจากเฮือกสุดท้ายของผู้ประกอบการ รวมไปถึงกรอบเงินกู้ที่ล้นชนเพดานแล้ว