ไทยติดเชื้อโควิดเพิ่ม 2,101 ราย ตายเพิ่ม 17 ราย บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อแล้ว 512 ราย "แอสตร้าฯ" เผยวัคซีนผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ ผ่านเกณฑ์ตรวจสอบทั้งจากยุโรป-อเมริกาแล้ว เตรียมส่งล็อตแรกเร็วๆนี้ แนะไทยปูพรมฉีด "แอสตร้าเซเนก้า"
วานนี้ (9พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ เพิ่ม 2,101 ราย สะสม 83,375 ราย หายป่วยเพิ่ม 2,186 ราย สะสม 53,605 ราย อาการหนัก 1,442 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 394 ราย เสียชีวิต 17 ราย เสียชีวิตสะสม 399 ราย
ทั้งนี้ เป็นผู้ป่วยใน กทม. 980 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 193 ราย) ปริมณฑล 477 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 347 ราย) และในจังหวัดอื่นๆ 629 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 362 ราย)
สำหรับผู้เสียชีวิต 17 ราย เป็นเพศชาย 8 ราย เพศหญิง 9 ราย อายุระหว่าง 50-86 ปี พบ 1 ราย เป็นทันตแพทย์ มีโรคประจำตัว
บุคลากรการแพทย์ติดเชื้อ 512 คน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ศบค. มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ป่วยปิดบังข้อมูล ไม่ได้แจ้งว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับเชื้อ และบางส่วนต้องกักตัว 14 วัน ทำให้โรงพยาบาลต้องขาดบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลขนาดเล็กบางแห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว
"ข้อมูลตั้งแต่การระบาดรอบใหม่ (1 เม.ย.- 7 พ.ค.64) พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด แล้ว 512 ราย จากท้งหมด 57 จังหวัด สูงสุดอยู่ในกรุงเทพฯ 137 ราย รองลงมา ตรัง 47 ราย ชลบุรี 34 ราย และนครปฐม 25 ราย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัส/การรักษาผู้ป่วย ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ในภายใน รพ. รวมทั้งการสัมผัสกับเพื่อนร่วมงานที่ป่วย โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล 34% แพทย์ 10% ทันตแพทย์ 5%"
แอสตร้าฯไทยผ่านเกณฑ์ตรวจสอบ
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในประเทศไทย โดยโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์ ว่า ขณะนี้ ตัวอย่างวัคซีน ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะส่งมอบวัคซีนชุดแรกให้แก่รัฐบาลไทยเร็วๆ นี้
"เป้าหมายของแอสตร้าเซนเนก้าคือ การส่งมอบวัคซีนที่มีมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยให้กับรัฐบาลไทยโดยเร็วที่สุด เรากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อทยอยส่งมอบวัคซีนให้แก่ประเทศไทย บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความกังวลใจและคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความพร้อมในการจัดหาวัคซีน เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทย และประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถต่อสู้กับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เลวร้ายนี้ เรามีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามปณิธานของบริษัทในการนำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ทำประโยชน์เพื่อสังคม โดยแอสตร้าเซนเนก้า จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการผลิตและกระจายวัคซีน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงในช่วงเวลาที่กำลังเผชิญวิกฤตการแพร่ระบาดนี้ โดยไม่หวังผลกำไร" นายเจมส์ ทีก กล่าว
แนะฉีด"แอสตร้าฯ" ให้ทุกคน1เข็มก่อน
เพจ "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" หรือ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ รพ.วิชัยยุทธ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับวัคซีนแบบฉีดเข็มเดียวตัวที่ 2 ของโลก ชื่อสปุตนิกไลท์ หลังได้รับการอนุมัติจากประเทศรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด ได้ 79.4 % วัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ฉีดเข็มเดียว มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิดได้ 66%
วัคซีนสปุตนิกไลท์ ของรัสเซีย บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ของสหรัฐอเมริกา และบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ของอังกฤษ ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน โดยอาศัย อะดีโนไวรัส เป็นพาหะนำสารพันธุกรรมที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนามของไวรัสโควิดเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 76% หลังให้ 2 โดส ป้องกันได้ 81% เมื่อเทียบดูประสิทธิภาพแล้ว วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าสามารถนำมาใช้เป็นวัคซีนที่ให้เข็มเดียวจบ เหมือนกับวัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และสปุตนิกไลท์ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ ประเทศสหราชอาณาจักรใช้วัคซีนบริษัทแอสตร้าเซเนก้าเป็นหลัก หลังจากให้วัคซีนนี้ทุกคนเข็มแรกจำนวนคนอังกฤษติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เราควรทำตามประเทศอังกฤษ ปูพรมฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าทุกคนเข็มเดียวก่อน (คนไทยอายุ 18 ปี ขึ้นไป 57 ล้านคน แรงงานต่างด้าว และคนต่างชาติอาศัยในประเทศไทยอีก 4 ล้านคน) คนที่ได้วัคซีนบริษัทแอสตร้าเซเนก้าเข็มเดียวไม่ต้องกังวล เพราะปีหน้าจะต้องได้วัคซีนรุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิภาพครอบคลุมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนปัจจุบัน การให้วัคซีนต้องแข่งกับเวลา ถ้าประเทศไทยใช้นโยบายฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าทุกคนเข็มเดียว นอกจากประหยัดทั้งงบประมาณในการสั่งซื้อวัคซีนแล้ว ยังช่วยทำให้คนในประเทศเกิดภูมิคุ้มกันหมู่เร็วขึ้น
เช็กข้อมูลก่อนไปฉีดวัคซีนตปท.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่บางประเทศกำหนดให้การฉีดวัคซีนมาเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการเดินทางเข้าประเทศว่า ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จำเป็นต้องตรวจสอบกฎระเบียบ เกี่ยวกับการเข้าเมืองและมาตรการทางด้านสาธารณสุขของประเทศปลายทางให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาเชื้อตามระยะเวลาที่กำหนด ก่อนเดินทาง การเตรียมเอกสารรับรองผลตรวจเชื้อ และเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน เป็นต้น
กรณีการเดินทางเข้าประเทศในสหภาพยุโรป หรือ EU มีประเทศที่สามารถเดินทางจากประเทศไทยได้ โดยไม่มีเงื่อนไข มี 13 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน อิตาลี เยอรมนี โครเอเชีย โปแลนด์ เอสโตเนีย สวีเดน ฟินแลนด์ บัลแกเรีย กรีซ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัด ตามที่ประเทศปลายทางกำหนด 14 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เช็ก ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ลัตเวีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย ฮังการี ลิทัวเนีย โรมาเนีย ออสเตรีย ลักเซมเบิร์ก และไซปรัส ผู้ที่จะเดินทางจึงจำเป็นต้องตรวจสอบมาตรการสาธารณสุขของประเทศปลายทาง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ส่วนการเดินทางไปท่องเที่ยว และฉีดวัคซีนโควิด ที่สหรัฐอเมริกานั้น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะเรียกดูข้อมูลหลักฐานถิ่นที่อยู่ หลักฐานการทำงานหรือการศึกษาในรัฐ รวมถึงจะพิจารณาหลักฐานการเข้าเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาต และอาจปฏิเสธการให้บริการ หากไม่สามารถแสดงหลักฐานตามที่ร้องขอได้
ทั้งนี้ ในแต่ละมลรัฐ มีนโยบายการฉีดและแจกจ่ายวัคซีนที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมจะมีการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีถิ่นพำนัก ทำงาน หรือศึกษาในมลรัฐนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในบางมลรัฐ ได้จัดสรรวัคซีนให้กับผู้ไม่มีถิ่นพำนักและไม่ได้ทำงานหรือศึกษาในมลรัฐนั้น ๆ แต่ก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าอนุญาตให้นักท่องเที่ยว ยกเว้น มลรัฐอแลสกา ที่มีนโยบายชัดเจนว่า ตั้งแต่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไป จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาฉีดวัคซีนได้ จึงขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสหรัฐฯ เพื่อฉีดวัคซีน โปรดศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานทางการของสหรัฐฯ อาทิ เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย รวมถึงนโยบายการจัดสรรวัคซีนของมลรัฐต่าง ๆ ข้อมูลการตรวจคนเข้าเมือง มาตรการด้านสาธารณสุข และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนมาตรการที่ต้องปฏิบัติเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยด้วย
ดูแลพิเศษ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้ดูแลประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง ครอบคลุม เด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นผู้ป่วยโควิด19 แต่ก็อาจได้รับผลกระทบ เพราะเป็นผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เมื่อผู้ดูแล หรือคนในครอบครัวติดเชื้อ คนกลุ่มนี้จึงอยู่ในสถานะขาดที่พึ่ง ภาครัฐจึงต้องวางแผนเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาของคนกลุ่มนี้ด้วย
ทั้งนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้สั่งเปิดสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชม.เพื่อดูแลกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ ในกรณี 1.ไม่มีผู้ดูแลเนื่องจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 2. รักษาหายแล้วและกลับมาอยู่ในครอบครัว แต่มีความเครียดวิตกกังวล 3. ถูกทิ้งไว้ลำพัง และ 4 . ผู้ป่วยติดเชื้อเป็นผู้ส่งเสีย เลี้ยงดู
ทั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้เตรียมสถานที่พักพิงสำหรับคนกลุ่มนี้ไว้ต่างหาก อาทิ กรณีเด็ก ใช้สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี (เฉพาะเด็กหญิง) สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด (เฉพาะเด็กชาย) สถาบันประชาบดี ปทุมธานี กรณีผู้สูงอายุ ใช้ที่พักคนเดินทางดินแดงบ้านสร้างโอกาส ศูนย์ฝึกอบรมผู้สูงอายุ บางละมุง กรณีคนพิการ ใช้ศูนย์พัฒนาและฝึกอาชีพคนพิการ พระประแดง
"30ตร.ปากน้ำ"เมินฉีดวัคซีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.อ.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย รองผู้บังคับการ ปฏิบัติราชการแทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ (รอง ผบก.ฯ ปรท.ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ) มีหนังสือถึง รอง ผบก. , ผกก.สส. , ผกก.สอบสวน , ผกก.ฝอ. , ผกก.สภ.ในสังกัด ภ.จว.สมุทรปราการ และ ศอ.ปส.ภ.จว.สมุทรปราการ สืบเนื่องจาก ภ.จว.สมุทรปราการ ได้ทำการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ข้าราชการตำรวจในวันที่ 6 พ.ค.64 ที่รพ.สมุทรปราการ แต่จากการตรวจสอบพบว่า ข้าราชการตำรวจที่ต้นสังกัดส่งรายชื่อมา จำนวน 30 นาย ระดับชั้นยศตั้งแต่ พ.ต.ท. จนถึง ส.ต.ต. ไม่มาทำการรับวัคซีน
แยกเป็น สภ.พระประแดง 18 นาย สภ.สำโรงใต้ 3 นาย สภ.คลองด่าน 2 นาย สภ.พระสมุทรเจดีย์ 2 นาย ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด 2 นาย สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 นาย สภ.บางบ่อ 1 นาย กองกำกับการสืบสวน 1 นาย โดยให้ทั้งหมดทำรายงานชี้แจงเสนอ ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ ด้วยตนเอง ผ่าน ฝอ.1 ทราบภายในวันที่ 7 พ.ค.64
โอน"เราชนะ"งวดแรก20พ.ค."ม33"24พ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กำหนดการจ่ายเงินเยียวยาตามกรอบใหม่ของกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ให้กับผู้เข้าร่วมเราชนะ และโครงการ ม.33 ซึ่งกำหนดว่าจะแบ่งการจ่ายเงินเป็น 2 งวดๆ ละ 1,000 บาท โดยจะเสนอครม.อนุมัติ ในวันที่ 11 พ.ค.นี้
โครงการเราชนะ จะโอนเงินให้ผู้ได้สิทธิ สำหรับกลุ่มที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรประชาชนรอบแรก 1,000 บาท วันที่ 21 พ.ค.นี้ ส่วนอีก1,000 บาท วันที่ 28 พ.ค. สำหรับกลุ่มที่ใช้สิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง จะได้รับเงินรอบแรกวันที่ 20 พ.ค. และงวดต่อไป 27 พ.ค.นี้
ส่วนโครงการ ม.33 เรารักกัน จะโอนเงินงวดแรก วันที่ 24 พ.ค. และงวดที่สอง 31 พ.ค.นี้ ครอบคลุมในส่วนโครงการ เราชนะ 33.5 ล้านคน และมาตรการ ม.33 เรารักกัน 9.27 ล้านคน โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ ระบบจะโอนเงินเข้าอัตโนมัติ โดยใช้จ่ายได้ถึง 30 มิ.ย.นี้
ส่วนโครงการ “คนละครึ่ง เฟส3”ยังคงเกณฑ์ใช้จ่ายเหมือนเดิม คนละ3,000 บาท แต่จะแบ่งวงเงินใช้สิทธิเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ไตรมาส 2 คนละ 1,500 บาท และช่วง 2 ไตรมาส 4 อีก 1,500 บาท เนื่องจาก หากเร่งดำเนินมาตรการในช่วงนี้ ทันทีอาจซ้ำเติมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งรัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน งดเชื้อ ก่อนเปิดลงทะเบียนใหม่เพิ่มเติมอีก 16 ล้านสิทธิ์ ครอบคลุมประชากร 31 ล้านคน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยกรอบเวลาลงทะเบียน จนกว่าครม.จะเห็นชอบแผนดำเนินมาตรการทั้งหมด
ลูกจ้างถูกสั่งหยุดงานรับค่าแรง50%
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง พนักงานหน้าร้าน กรณีรัฐสั่งปิดสถานประกอบการชั่วคราว ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านค้า ส่งผลให้พนักงานที่บริการหน้าร้านต้องหยุดงานชั่วคราว กระทรวงแรงงานได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคม เร่งช่วยเหลือเยียวยาคนกลุ่มนี้ โดยกระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่อ อันตราย ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวแล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องดำเนินการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนโดยกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วนำส่งให้นายจ้างรวบรวมแบบฯ เพื่อบันทึกข้อมูลลูกจ้าง และหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้น ให้นำส่งแบบฯ และหนังสือรับรองในระบบ e-Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บน www.sso.go.th
วานนี้ (9พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ เพิ่ม 2,101 ราย สะสม 83,375 ราย หายป่วยเพิ่ม 2,186 ราย สะสม 53,605 ราย อาการหนัก 1,442 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 394 ราย เสียชีวิต 17 ราย เสียชีวิตสะสม 399 ราย
ทั้งนี้ เป็นผู้ป่วยใน กทม. 980 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 193 ราย) ปริมณฑล 477 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 347 ราย) และในจังหวัดอื่นๆ 629 ราย (สัมผัสผู้ป่วย 362 ราย)
สำหรับผู้เสียชีวิต 17 ราย เป็นเพศชาย 8 ราย เพศหญิง 9 ราย อายุระหว่าง 50-86 ปี พบ 1 ราย เป็นทันตแพทย์ มีโรคประจำตัว
บุคลากรการแพทย์ติดเชื้อ 512 คน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม ศบค. มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผู้ป่วยปิดบังข้อมูล ไม่ได้แจ้งว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับเชื้อ และบางส่วนต้องกักตัว 14 วัน ทำให้โรงพยาบาลต้องขาดบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลขนาดเล็กบางแห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว
"ข้อมูลตั้งแต่การระบาดรอบใหม่ (1 เม.ย.- 7 พ.ค.64) พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด แล้ว 512 ราย จากท้งหมด 57 จังหวัด สูงสุดอยู่ในกรุงเทพฯ 137 ราย รองลงมา ตรัง 47 ราย ชลบุรี 34 ราย และนครปฐม 25 ราย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัส/การรักษาผู้ป่วย ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ในภายใน รพ. รวมทั้งการสัมผัสกับเพื่อนร่วมงานที่ป่วย โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล 34% แพทย์ 10% ทันตแพทย์ 5%"
แอสตร้าฯไทยผ่านเกณฑ์ตรวจสอบ
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในประเทศไทย โดยโรงงานสยามไบโอไซเอนซ์ ว่า ขณะนี้ ตัวอย่างวัคซีน ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของแอสตร้าเซนเนก้า ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะส่งมอบวัคซีนชุดแรกให้แก่รัฐบาลไทยเร็วๆ นี้
"เป้าหมายของแอสตร้าเซนเนก้าคือ การส่งมอบวัคซีนที่มีมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยให้กับรัฐบาลไทยโดยเร็วที่สุด เรากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อทยอยส่งมอบวัคซีนให้แก่ประเทศไทย บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความกังวลใจและคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและความพร้อมในการจัดหาวัคซีน เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทย และประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สามารถต่อสู้กับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เลวร้ายนี้ เรามีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามปณิธานของบริษัทในการนำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ทำประโยชน์เพื่อสังคม โดยแอสตร้าเซนเนก้า จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในการผลิตและกระจายวัคซีน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงในช่วงเวลาที่กำลังเผชิญวิกฤตการแพร่ระบาดนี้ โดยไม่หวังผลกำไร" นายเจมส์ ทีก กล่าว
แนะฉีด"แอสตร้าฯ" ให้ทุกคน1เข็มก่อน
เพจ "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" หรือ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ รพ.วิชัยยุทธ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับวัคซีนแบบฉีดเข็มเดียวตัวที่ 2 ของโลก ชื่อสปุตนิกไลท์ หลังได้รับการอนุมัติจากประเทศรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด ได้ 79.4 % วัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ฉีดเข็มเดียว มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิดได้ 66%
วัคซีนสปุตนิกไลท์ ของรัสเซีย บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ของสหรัฐอเมริกา และบริษัทแอสตร้าเซเนก้า ของอังกฤษ ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน โดยอาศัย อะดีโนไวรัส เป็นพาหะนำสารพันธุกรรมที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนามของไวรัสโควิดเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 76% หลังให้ 2 โดส ป้องกันได้ 81% เมื่อเทียบดูประสิทธิภาพแล้ว วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าสามารถนำมาใช้เป็นวัคซีนที่ให้เข็มเดียวจบ เหมือนกับวัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และสปุตนิกไลท์ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ ประเทศสหราชอาณาจักรใช้วัคซีนบริษัทแอสตร้าเซเนก้าเป็นหลัก หลังจากให้วัคซีนนี้ทุกคนเข็มแรกจำนวนคนอังกฤษติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เราควรทำตามประเทศอังกฤษ ปูพรมฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าทุกคนเข็มเดียวก่อน (คนไทยอายุ 18 ปี ขึ้นไป 57 ล้านคน แรงงานต่างด้าว และคนต่างชาติอาศัยในประเทศไทยอีก 4 ล้านคน) คนที่ได้วัคซีนบริษัทแอสตร้าเซเนก้าเข็มเดียวไม่ต้องกังวล เพราะปีหน้าจะต้องได้วัคซีนรุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีประสิทธิภาพครอบคลุมสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนปัจจุบัน การให้วัคซีนต้องแข่งกับเวลา ถ้าประเทศไทยใช้นโยบายฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าทุกคนเข็มเดียว นอกจากประหยัดทั้งงบประมาณในการสั่งซื้อวัคซีนแล้ว ยังช่วยทำให้คนในประเทศเกิดภูมิคุ้มกันหมู่เร็วขึ้น
เช็กข้อมูลก่อนไปฉีดวัคซีนตปท.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่บางประเทศกำหนดให้การฉีดวัคซีนมาเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการเดินทางเข้าประเทศว่า ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จำเป็นต้องตรวจสอบกฎระเบียบ เกี่ยวกับการเข้าเมืองและมาตรการทางด้านสาธารณสุขของประเทศปลายทางให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาเชื้อตามระยะเวลาที่กำหนด ก่อนเดินทาง การเตรียมเอกสารรับรองผลตรวจเชื้อ และเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน เป็นต้น
กรณีการเดินทางเข้าประเทศในสหภาพยุโรป หรือ EU มีประเทศที่สามารถเดินทางจากประเทศไทยได้ โดยไม่มีเงื่อนไข มี 13 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน อิตาลี เยอรมนี โครเอเชีย โปแลนด์ เอสโตเนีย สวีเดน ฟินแลนด์ บัลแกเรีย กรีซ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัด ตามที่ประเทศปลายทางกำหนด 14 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เช็ก ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ลัตเวีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย ฮังการี ลิทัวเนีย โรมาเนีย ออสเตรีย ลักเซมเบิร์ก และไซปรัส ผู้ที่จะเดินทางจึงจำเป็นต้องตรวจสอบมาตรการสาธารณสุขของประเทศปลายทาง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ส่วนการเดินทางไปท่องเที่ยว และฉีดวัคซีนโควิด ที่สหรัฐอเมริกานั้น เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะเรียกดูข้อมูลหลักฐานถิ่นที่อยู่ หลักฐานการทำงานหรือการศึกษาในรัฐ รวมถึงจะพิจารณาหลักฐานการเข้าเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาต และอาจปฏิเสธการให้บริการ หากไม่สามารถแสดงหลักฐานตามที่ร้องขอได้
ทั้งนี้ ในแต่ละมลรัฐ มีนโยบายการฉีดและแจกจ่ายวัคซีนที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมจะมีการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีถิ่นพำนัก ทำงาน หรือศึกษาในมลรัฐนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในบางมลรัฐ ได้จัดสรรวัคซีนให้กับผู้ไม่มีถิ่นพำนักและไม่ได้ทำงานหรือศึกษาในมลรัฐนั้น ๆ แต่ก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าอนุญาตให้นักท่องเที่ยว ยกเว้น มลรัฐอแลสกา ที่มีนโยบายชัดเจนว่า ตั้งแต่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไป จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาฉีดวัคซีนได้ จึงขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสหรัฐฯ เพื่อฉีดวัคซีน โปรดศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานทางการของสหรัฐฯ อาทิ เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย รวมถึงนโยบายการจัดสรรวัคซีนของมลรัฐต่าง ๆ ข้อมูลการตรวจคนเข้าเมือง มาตรการด้านสาธารณสุข และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนมาตรการที่ต้องปฏิบัติเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยด้วย
ดูแลพิเศษ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้ดูแลประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง ครอบคลุม เด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นผู้ป่วยโควิด19 แต่ก็อาจได้รับผลกระทบ เพราะเป็นผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เมื่อผู้ดูแล หรือคนในครอบครัวติดเชื้อ คนกลุ่มนี้จึงอยู่ในสถานะขาดที่พึ่ง ภาครัฐจึงต้องวางแผนเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาของคนกลุ่มนี้ด้วย
ทั้งนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้สั่งเปิดสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชม.เพื่อดูแลกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ ในกรณี 1.ไม่มีผู้ดูแลเนื่องจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 2. รักษาหายแล้วและกลับมาอยู่ในครอบครัว แต่มีความเครียดวิตกกังวล 3. ถูกทิ้งไว้ลำพัง และ 4 . ผู้ป่วยติดเชื้อเป็นผู้ส่งเสีย เลี้ยงดู
ทั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้เตรียมสถานที่พักพิงสำหรับคนกลุ่มนี้ไว้ต่างหาก อาทิ กรณีเด็ก ใช้สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี (เฉพาะเด็กหญิง) สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด (เฉพาะเด็กชาย) สถาบันประชาบดี ปทุมธานี กรณีผู้สูงอายุ ใช้ที่พักคนเดินทางดินแดงบ้านสร้างโอกาส ศูนย์ฝึกอบรมผู้สูงอายุ บางละมุง กรณีคนพิการ ใช้ศูนย์พัฒนาและฝึกอาชีพคนพิการ พระประแดง
"30ตร.ปากน้ำ"เมินฉีดวัคซีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.อ.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย รองผู้บังคับการ ปฏิบัติราชการแทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ (รอง ผบก.ฯ ปรท.ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ) มีหนังสือถึง รอง ผบก. , ผกก.สส. , ผกก.สอบสวน , ผกก.ฝอ. , ผกก.สภ.ในสังกัด ภ.จว.สมุทรปราการ และ ศอ.ปส.ภ.จว.สมุทรปราการ สืบเนื่องจาก ภ.จว.สมุทรปราการ ได้ทำการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ข้าราชการตำรวจในวันที่ 6 พ.ค.64 ที่รพ.สมุทรปราการ แต่จากการตรวจสอบพบว่า ข้าราชการตำรวจที่ต้นสังกัดส่งรายชื่อมา จำนวน 30 นาย ระดับชั้นยศตั้งแต่ พ.ต.ท. จนถึง ส.ต.ต. ไม่มาทำการรับวัคซีน
แยกเป็น สภ.พระประแดง 18 นาย สภ.สำโรงใต้ 3 นาย สภ.คลองด่าน 2 นาย สภ.พระสมุทรเจดีย์ 2 นาย ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด 2 นาย สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 นาย สภ.บางบ่อ 1 นาย กองกำกับการสืบสวน 1 นาย โดยให้ทั้งหมดทำรายงานชี้แจงเสนอ ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ ด้วยตนเอง ผ่าน ฝอ.1 ทราบภายในวันที่ 7 พ.ค.64
โอน"เราชนะ"งวดแรก20พ.ค."ม33"24พ.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กำหนดการจ่ายเงินเยียวยาตามกรอบใหม่ของกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ให้กับผู้เข้าร่วมเราชนะ และโครงการ ม.33 ซึ่งกำหนดว่าจะแบ่งการจ่ายเงินเป็น 2 งวดๆ ละ 1,000 บาท โดยจะเสนอครม.อนุมัติ ในวันที่ 11 พ.ค.นี้
โครงการเราชนะ จะโอนเงินให้ผู้ได้สิทธิ สำหรับกลุ่มที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรประชาชนรอบแรก 1,000 บาท วันที่ 21 พ.ค.นี้ ส่วนอีก1,000 บาท วันที่ 28 พ.ค. สำหรับกลุ่มที่ใช้สิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง จะได้รับเงินรอบแรกวันที่ 20 พ.ค. และงวดต่อไป 27 พ.ค.นี้
ส่วนโครงการ ม.33 เรารักกัน จะโอนเงินงวดแรก วันที่ 24 พ.ค. และงวดที่สอง 31 พ.ค.นี้ ครอบคลุมในส่วนโครงการ เราชนะ 33.5 ล้านคน และมาตรการ ม.33 เรารักกัน 9.27 ล้านคน โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ ระบบจะโอนเงินเข้าอัตโนมัติ โดยใช้จ่ายได้ถึง 30 มิ.ย.นี้
ส่วนโครงการ “คนละครึ่ง เฟส3”ยังคงเกณฑ์ใช้จ่ายเหมือนเดิม คนละ3,000 บาท แต่จะแบ่งวงเงินใช้สิทธิเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก ไตรมาส 2 คนละ 1,500 บาท และช่วง 2 ไตรมาส 4 อีก 1,500 บาท เนื่องจาก หากเร่งดำเนินมาตรการในช่วงนี้ ทันทีอาจซ้ำเติมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งรัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน งดเชื้อ ก่อนเปิดลงทะเบียนใหม่เพิ่มเติมอีก 16 ล้านสิทธิ์ ครอบคลุมประชากร 31 ล้านคน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยกรอบเวลาลงทะเบียน จนกว่าครม.จะเห็นชอบแผนดำเนินมาตรการทั้งหมด
ลูกจ้างถูกสั่งหยุดงานรับค่าแรง50%
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง พนักงานหน้าร้าน กรณีรัฐสั่งปิดสถานประกอบการชั่วคราว ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านค้า ส่งผลให้พนักงานที่บริการหน้าร้านต้องหยุดงานชั่วคราว กระทรวงแรงงานได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคม เร่งช่วยเหลือเยียวยาคนกลุ่มนี้ โดยกระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎกระทรวง การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่อ อันตราย ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวแล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องดำเนินการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนโดยกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แล้วนำส่งให้นายจ้างรวบรวมแบบฯ เพื่อบันทึกข้อมูลลูกจ้าง และหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลลูกจ้างเสร็จสิ้น ให้นำส่งแบบฯ และหนังสือรับรองในระบบ e-Service ส่งมายังสำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บน www.sso.go.th