ผู้จัดการรายวัน 360 - "ดีอีเอส" ตั้งทีมจับตากลุ่มย้ายประเทศฯ หลังมีร้องเรียนสร้างความแตกแยก-หมิ่นสถาบันฯ ชี้แนะแนวศึกษา-อาชีพ ตปท.เป็นเรื่องดี แต่ควรศึกษาข้อมูลรอบด้าน เตือนอาจมีมิจฉาชีพ แฝงหาประโยชน์ ผิดกม.ดำเนินคดีขั้นเด็ดขาด ขณะที่นายกฯ กำชับลุยปราบข่าวปลอมโจมตีรัฐบาล "ดร.บุญส่ง" อาจารย์ม.รังสิต โพสต์ดับ ฝันเข้าสวีเดน ไม่ง่าย การโฆษณาให้ความจริงครึ่งเดียว อาจเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรุ๊ปเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” ที่กำลังเป็นกระแสในสังคมออนไลน์ขณะนี้ว่า กระทรวงดีอีเอส ได้รับการร้องเรียนถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมาเช่นกัน โดยผู้ร้องเรียนระบุว่า มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกสร้างความเกลียดชัง และยังมีการแสดงความคิดเห็นเข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ติดตามเบื้องต้นพบว่า เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงแนะแนวการศึกษา และแนะนำแนวทางประกอบอาชีพในต่างประเทศ ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี และหน่วยงานภาครัฐเองก็มีการให้ข้อมูล และให้การสนับสนุนผู้ที่มีความพร้อมมาโดยตลอดอยู่แล้ว ทั้งในแง่การไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ เช่นเดียวกับการประกอบอาชีพที่มี กระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับดูแล
"หลายๆโพสต์มีแฝงด้วยประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มบางคนที่หลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ก็มีพฤติกรรมชังชาติอยู่แล้ว ก็มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อสร้างความแตกแยก และหมิ่นสถาบันเบื้องสูง กระทรวงดีอีเอส มีคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำความผิดในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว หากพบมีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด" นายชัยวุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษา หรืออาชีพในต่างประเทศ รัฐบาลคงไม่ปิดกั้น เพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นห่วงว่า กลุ่มดังกล่าวอาจเป็นช่องทางของขบวนการมิจฉาชีพ ที่ใช้สังคมออนไลน์หลอกลวงให้มีการไปทำงานต่างประเทศที่ระบาดอย่างหนักในระยะหลัง โดยทราบจากสถิติของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ว่าช่วงปี 2561-2563 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศแล้วมากกว่า 1,500 เรื่อง ดังนั้น ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ไม่หลงเชื่อขบวนการเหล่านี้
"นายกฯ"สั่งปราบข่าวปลอมระบาดช่วงสถานการณ์โควิด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กำชับให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ตรวจสอบข่าวสารอันเป็นเท็จ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หากพบกรณีจงใจสร้างความสับสนแก่ประชาชน ให้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ ทุกๆหน่วยงาน ยังมีหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตนเอง และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย
นักการเมืองท้องถิ่นปูดข่าวเชื้ออินเดีย
กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งศูนย์สืบสวนต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หรือ เฟกนิวส์ ล่าสุด มีข้อสรุป เรื่องการแพร่ระบาดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย บริเวณห้างดิโอลด์สยาม จากนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาในประเทศอินเดีย เป็นเท็จ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เปิดเผยผู้เผยแพร่ข้อมูล โควิดสายพันธุ์อินเดีย ที่เป็นเท็จ จนสังคมเข้าใจผิดจนมีการแชร์ต่อๆ กันไปในโลกโซเชียลฯ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดหนึ่ง เป็นคนเผยแพร่ จากนี้ ดีเอสไอ จะรวบรวมหลักฐาน และส่งข้อมูลความเชื่อมโยงของกลุ่มที่บิดเบือนข้อมูลความเป็นจริง ให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หรือ ประสานข้อมูลต่อไปยัง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อให้ไปดำเนินการต่อ
ฝันเข้าสวีเดน ไม่ง่าย อาจเจอเคราะห์ร้าย
ดร.บุญส่ง ชเลธร อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เผยแพร่ความคิดเห็นเรื่อง "ฝันเข้าสวีเดน :การโฆษณาที่ให้ความจริงครึ่งเดียว" โดยมีเนื้อหาดังนี้ Fb: Embassy of Sweden in Bangkok ทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงในวันสองวันมานี้ ขณะที่การโหมกระแสว่าด้วยการย้ายหนีรัฐบาลคุณประยุทธ์ไปอยู่ต่างประเทศกำลังมาแรง ซึ่งในฐานะที่อยู่ในสวีเดนมาแล้ว 30 ปี ยอมรับว่า เป็นสังคมที่น่าอยู่มาก ระบบรัฐสวัสดิการที่ดูแลคนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และดีเป็นลำดับต้นๆของโลก ที่สำคัญคือเป็นประเทศประชาธิปไตยสุด ๆ เท่าที่จะมีได้ประเทศหนึ่งในโลก
แต่เฟซบุ๊ค ที่สวีเดนออกมานั้น พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว การเข้าประเทศยากมาก ยกเว้นถ้าซื้อทัวร์ไปท่องเที่ยวอันนี้ง่ายที่สุด แต่ห้ามอยู่เกินกำหนด หรือเข้าไปแบบนักเรียน จบหรือเลิกเรียนเมื่อไหร่ ต้องกลับไทย ยกเว้นระหว่างเรียนมีแฟนหรือคู่สมรสที่อยู่ที่นั่น ก็สามารถขอทำเรื่องเปลี่ยนวีซ่าจากนักเรียนไปเป็นผู้อยู่อาศัยและทำงานได้
การจะขอตามพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าไป (แต่อายุต้องไม่เกิน 21 ปี) หรือเป็นคนที่อยู่อาศัยอยู่แล้วในประเทศยุโรปเหนือ (มี 5 ประเทศ) หรืออยู่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (มี 27 ประเทศ) จึงย้ายไปได้ หรือมีองค์กร บริษัท ห้างร้านในสวีเดนรับรอง ทำเรื่องขอเราเข้าไปเป็นคนงาน
"วันนี้ สวีเดนมีคนในวัยทำงาน ตกงานถึง 549,300 คน สัปดาห์ที่ผ่านมา คนว่างงานเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนถึง 3% ยิ่งยุคโควิด ยิ่งแย่ รัฐบาลโดนโจมตีมาก เรื่องหางานให้คนทำไม่ได้ ทางการเมือง พรรคขวาจัด Sverigedemokraterna ที่ต่อต้านคนต่างชาติแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ แล้วเขาจะให้คนแห่กันเข้าไปทำไม ถ้าแค่รังเกียจ รัฐบาลคุณประยุทธ์ แล้วย้ายไปที่นั่น จะหนีเสือปะจระเข้ ครับ คนที่เข้าไปขอลี้ภัยจำนวนมาก อยู่แบบไม่มีอนาคตและไม่เห็น “ความฝัน” ในชีวิต "
ที่เขียนมาทั้งหมด ก็พูดเรื่องสวีเดนประเทศเดียว ที่ผมเห็นว่าเด็ก ๆ ที่ทำ fb สวีเดน ไม่ได้ให้ภาพที่รอบด้านกับผู้สนใจ ถ้าไม่เตือนกันแล้ว “ความฝัน” ที่วาดหวังไว้จะเป็น “ฝันร้าย” ที่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเชียวละครับ
แคมเปญไล่ 'ประยุทธ์' มีผู้ร่วมลงชื่อแค่ 9 พัน
ขณะที่แคมเปญของกลุ่มประชาชนไทย ได้ประกาศล่ารายชื่อผ่าานาเว็บไซต์ Change.org เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เวลาประมาณ 15.40 น. (4 พ.ค.) มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนประมาณ 9,000 คน จากระยะเวลา 3 วันที่ได้จัดตั้งแคมเปญดังกล่าวขึ้นมา
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรุ๊ปเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” ที่กำลังเป็นกระแสในสังคมออนไลน์ขณะนี้ว่า กระทรวงดีอีเอส ได้รับการร้องเรียนถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมาเช่นกัน โดยผู้ร้องเรียนระบุว่า มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกสร้างความเกลียดชัง และยังมีการแสดงความคิดเห็นเข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ติดตามเบื้องต้นพบว่า เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงแนะแนวการศึกษา และแนะนำแนวทางประกอบอาชีพในต่างประเทศ ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี และหน่วยงานภาครัฐเองก็มีการให้ข้อมูล และให้การสนับสนุนผู้ที่มีความพร้อมมาโดยตลอดอยู่แล้ว ทั้งในแง่การไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ เช่นเดียวกับการประกอบอาชีพที่มี กระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับดูแล
"หลายๆโพสต์มีแฝงด้วยประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มบางคนที่หลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ก็มีพฤติกรรมชังชาติอยู่แล้ว ก็มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อสร้างความแตกแยก และหมิ่นสถาบันเบื้องสูง กระทรวงดีอีเอส มีคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำความผิดในสังคมออนไลน์อยู่แล้ว หากพบมีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด" นายชัยวุฒิ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษา หรืออาชีพในต่างประเทศ รัฐบาลคงไม่ปิดกั้น เพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ แต่ยังเป็นห่วงว่า กลุ่มดังกล่าวอาจเป็นช่องทางของขบวนการมิจฉาชีพ ที่ใช้สังคมออนไลน์หลอกลวงให้มีการไปทำงานต่างประเทศที่ระบาดอย่างหนักในระยะหลัง โดยทราบจากสถิติของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ว่าช่วงปี 2561-2563 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศแล้วมากกว่า 1,500 เรื่อง ดังนั้น ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ไม่หลงเชื่อขบวนการเหล่านี้
"นายกฯ"สั่งปราบข่าวปลอมระบาดช่วงสถานการณ์โควิด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กำชับให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ตรวจสอบข่าวสารอันเป็นเท็จ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หากพบกรณีจงใจสร้างความสับสนแก่ประชาชน ให้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ ทุกๆหน่วยงาน ยังมีหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตนเอง และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องด้วย
นักการเมืองท้องถิ่นปูดข่าวเชื้ออินเดีย
กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งศูนย์สืบสวนต่อต้านข่าวสารอันเป็นเท็จ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หรือ เฟกนิวส์ ล่าสุด มีข้อสรุป เรื่องการแพร่ระบาดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย บริเวณห้างดิโอลด์สยาม จากนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาในประเทศอินเดีย เป็นเท็จ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เปิดเผยผู้เผยแพร่ข้อมูล โควิดสายพันธุ์อินเดีย ที่เป็นเท็จ จนสังคมเข้าใจผิดจนมีการแชร์ต่อๆ กันไปในโลกโซเชียลฯ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดหนึ่ง เป็นคนเผยแพร่ จากนี้ ดีเอสไอ จะรวบรวมหลักฐาน และส่งข้อมูลความเชื่อมโยงของกลุ่มที่บิดเบือนข้อมูลความเป็นจริง ให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หรือ ประสานข้อมูลต่อไปยัง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อให้ไปดำเนินการต่อ
ฝันเข้าสวีเดน ไม่ง่าย อาจเจอเคราะห์ร้าย
ดร.บุญส่ง ชเลธร อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เผยแพร่ความคิดเห็นเรื่อง "ฝันเข้าสวีเดน :การโฆษณาที่ให้ความจริงครึ่งเดียว" โดยมีเนื้อหาดังนี้ Fb: Embassy of Sweden in Bangkok ทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงในวันสองวันมานี้ ขณะที่การโหมกระแสว่าด้วยการย้ายหนีรัฐบาลคุณประยุทธ์ไปอยู่ต่างประเทศกำลังมาแรง ซึ่งในฐานะที่อยู่ในสวีเดนมาแล้ว 30 ปี ยอมรับว่า เป็นสังคมที่น่าอยู่มาก ระบบรัฐสวัสดิการที่ดูแลคนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และดีเป็นลำดับต้นๆของโลก ที่สำคัญคือเป็นประเทศประชาธิปไตยสุด ๆ เท่าที่จะมีได้ประเทศหนึ่งในโลก
แต่เฟซบุ๊ค ที่สวีเดนออกมานั้น พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว การเข้าประเทศยากมาก ยกเว้นถ้าซื้อทัวร์ไปท่องเที่ยวอันนี้ง่ายที่สุด แต่ห้ามอยู่เกินกำหนด หรือเข้าไปแบบนักเรียน จบหรือเลิกเรียนเมื่อไหร่ ต้องกลับไทย ยกเว้นระหว่างเรียนมีแฟนหรือคู่สมรสที่อยู่ที่นั่น ก็สามารถขอทำเรื่องเปลี่ยนวีซ่าจากนักเรียนไปเป็นผู้อยู่อาศัยและทำงานได้
การจะขอตามพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าไป (แต่อายุต้องไม่เกิน 21 ปี) หรือเป็นคนที่อยู่อาศัยอยู่แล้วในประเทศยุโรปเหนือ (มี 5 ประเทศ) หรืออยู่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (มี 27 ประเทศ) จึงย้ายไปได้ หรือมีองค์กร บริษัท ห้างร้านในสวีเดนรับรอง ทำเรื่องขอเราเข้าไปเป็นคนงาน
"วันนี้ สวีเดนมีคนในวัยทำงาน ตกงานถึง 549,300 คน สัปดาห์ที่ผ่านมา คนว่างงานเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนถึง 3% ยิ่งยุคโควิด ยิ่งแย่ รัฐบาลโดนโจมตีมาก เรื่องหางานให้คนทำไม่ได้ ทางการเมือง พรรคขวาจัด Sverigedemokraterna ที่ต่อต้านคนต่างชาติแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ แล้วเขาจะให้คนแห่กันเข้าไปทำไม ถ้าแค่รังเกียจ รัฐบาลคุณประยุทธ์ แล้วย้ายไปที่นั่น จะหนีเสือปะจระเข้ ครับ คนที่เข้าไปขอลี้ภัยจำนวนมาก อยู่แบบไม่มีอนาคตและไม่เห็น “ความฝัน” ในชีวิต "
ที่เขียนมาทั้งหมด ก็พูดเรื่องสวีเดนประเทศเดียว ที่ผมเห็นว่าเด็ก ๆ ที่ทำ fb สวีเดน ไม่ได้ให้ภาพที่รอบด้านกับผู้สนใจ ถ้าไม่เตือนกันแล้ว “ความฝัน” ที่วาดหวังไว้จะเป็น “ฝันร้าย” ที่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเชียวละครับ
แคมเปญไล่ 'ประยุทธ์' มีผู้ร่วมลงชื่อแค่ 9 พัน
ขณะที่แคมเปญของกลุ่มประชาชนไทย ได้ประกาศล่ารายชื่อผ่าานาเว็บไซต์ Change.org เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เวลาประมาณ 15.40 น. (4 พ.ค.) มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนประมาณ 9,000 คน จากระยะเวลา 3 วันที่ได้จัดตั้งแคมเปญดังกล่าวขึ้นมา