รัฐบาลเร่งฟื้นฟูสภาพคล่อง ออกพ.ร.ก.ลดดอกเบี้ยผิดนัด และพ.ร.ก.ซอฟต์โลน ช่วยผู้ประกอบการ 3.5 แสนล้าน มีผลบังคับใช้แล้ว
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้เข้าถึงสภาพคล่อง และฟื้นฟูกิจการ รวมถึงไม่ให้ลูกหนี้ถูกเอาเปรียบจากเจ้าหนี้ จากการคิดดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลจึงได้ออก พ.ร.ก. 2 ฉบับ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้ว
ฉบับแรก คือ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2564 เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ในอัตรา หรือวิธีการที่ก่อให้เกิดภาระแก่ลูกหนี้สูงเกินสมควร ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ 2468 จึงไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ
1) ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยที่สูงเกินควร 2) เจ้าหนี้บางรายอาศัยความไม่ชัดเจน กำหนดให้ลูกหนี้เมื่อผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ต้องจ่ายดอกเบี้ยบนเงินต้นทั้งหมด 3) สร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ สาระของ พ.ร.ก.เป็นการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย ประกอบด้วย 1) อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้ก่อน หรือไม่ได้มีกฎหมายกำหนด (แก้ไข ม. 7) ปรับลดจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็น ร้อยละ 3 ต่อปี 2) อัตราดอกเบี้ยผิดนัด (แก้ไข ม.224) ปรับลดจากร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี 3) กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น จากเดิมที่ มาตรา 224/1 ไม่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างอยู่ทั้งหมด
ฉบับที่สอง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นการตัดวงเงินที่เหลือจาก พ.ร.ก.ฉบับพ.ศ. 2563 โดยฉบับล่าสุดประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ 1) สนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ทั้งที่เป็นลูกหนี้เดิม และลูกหนี้ใหม่ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่อง ขยายเวลา ขยายวงเงิน ขยายการชดเชยรองรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และกำหนดดอกเบี้ยให้เหมาะสม
2) สนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง และต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวแต่ยังมีศักยภาพและมีหลักประกัน เป็นการลดความเสี่ยงในการขายทรัพย์สินในราคาต่ำเกินไป และช่วยให้ธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ต่อไป
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้เข้าถึงสภาพคล่อง และฟื้นฟูกิจการ รวมถึงไม่ให้ลูกหนี้ถูกเอาเปรียบจากเจ้าหนี้ จากการคิดดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลจึงได้ออก พ.ร.ก. 2 ฉบับ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้ว
ฉบับแรก คือ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2564 เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ในอัตรา หรือวิธีการที่ก่อให้เกิดภาระแก่ลูกหนี้สูงเกินสมควร ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ 2468 จึงไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ
1) ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยที่สูงเกินควร 2) เจ้าหนี้บางรายอาศัยความไม่ชัดเจน กำหนดให้ลูกหนี้เมื่อผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ต้องจ่ายดอกเบี้ยบนเงินต้นทั้งหมด 3) สร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ สาระของ พ.ร.ก.เป็นการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย ประกอบด้วย 1) อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้ก่อน หรือไม่ได้มีกฎหมายกำหนด (แก้ไข ม. 7) ปรับลดจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็น ร้อยละ 3 ต่อปี 2) อัตราดอกเบี้ยผิดนัด (แก้ไข ม.224) ปรับลดจากร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี 3) กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น จากเดิมที่ มาตรา 224/1 ไม่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างอยู่ทั้งหมด
ฉบับที่สอง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เป็นการตัดวงเงินที่เหลือจาก พ.ร.ก.ฉบับพ.ศ. 2563 โดยฉบับล่าสุดประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ 1) สนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ทั้งที่เป็นลูกหนี้เดิม และลูกหนี้ใหม่ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่อง ขยายเวลา ขยายวงเงิน ขยายการชดเชยรองรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และกำหนดดอกเบี้ยให้เหมาะสม
2) สนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง และต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวแต่ยังมีศักยภาพและมีหลักประกัน เป็นการลดความเสี่ยงในการขายทรัพย์สินในราคาต่ำเกินไป และช่วยให้ธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ต่อไป