มหาดไทย เผยตัวเลขอุบัติเหตุวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กทม.-ชลบุรี-เชียงใหม่ ยอดเสียชีวิตสูงสุด รถจยย.เกิดเหตุมากสุด เน้นย้ำ ตามจุดตรวจจุดสกัดปฏิบัติการเข้มข้น ควบคู่เฝ้าระวังโควิด
วานนี้ (11เม.ย.) เป็นวันแรกของการรณรงค์ "สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด" นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า เกิดอุบัติเหตุ 348 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บ 356 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือขับรถเร็ว ร้อยละ 31.61 ดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับ ร้อยละ 22.99 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.91 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 63.22 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 39.94 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 33.91 มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.81
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ จ.พัทลุง 20 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี และเชียงใหม่ จังหวัดละ 2 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ จ.พัทลุง 22 คน ทั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจหลัก1,913 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 60,201 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 342,028 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 58,372 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย14,852 ราย ไม่มีใบขับขี่ 16,125 ราย ถนนหลายสายยังคงมีปริมาณรถหนาแน่น ต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อคืน วันที่10 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ และเส้นทางเลี่ยงเมือง ซึ่งตนได้สั่งการเน้นย้ำหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่เพิ่มความเข้มข้นของด่านชุมชน จุดตรวจ และจุดสกัดในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เฝ้าระวังผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และเข้มงวดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามกฎหมายกำหนด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ควบคู่กับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย
วานนี้ (11เม.ย.) เป็นวันแรกของการรณรงค์ "สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด" นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า เกิดอุบัติเหตุ 348 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บ 356 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือขับรถเร็ว ร้อยละ 31.61 ดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับ ร้อยละ 22.99 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.91 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 63.22 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 39.94 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 33.91 มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 32.81
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ จ.พัทลุง 20 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี และเชียงใหม่ จังหวัดละ 2 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ จ.พัทลุง 22 คน ทั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจหลัก1,913 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 60,201 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 342,028 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 58,372 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย14,852 ราย ไม่มีใบขับขี่ 16,125 ราย ถนนหลายสายยังคงมีปริมาณรถหนาแน่น ต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อคืน วันที่10 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ และเส้นทางเลี่ยงเมือง ซึ่งตนได้สั่งการเน้นย้ำหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่เพิ่มความเข้มข้นของด่านชุมชน จุดตรวจ และจุดสกัดในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เฝ้าระวังผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และเข้มงวดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามกฎหมายกำหนด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ควบคู่กับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย