อย.ยันไม่ได้ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีน เชิญชวนเอกชนนำเข้ามาด้วยเพื่อเป็นทางเลือกด้วยซ้ำ อนุมัติวัคซีนแล้ว 3 อีก 10 ขอขึ้นทะเบียน แต่ยังไม่ยื่นเอกสาร
วานนี้ (8 เม.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่า รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และ อย.ไม่ได้ปิดกั้นเอกชนในการนำเข้าวัคซีนเข้ามา และยังอยากจะเชิญชวนเอกชนนำเข้ามาด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน รวมทั้งขั้นตอนการขออนุมัติการขึ้นทะเบียน ทาง อย.ก็พยายามทำให้เร็วที่สุด คือ ภายใน 30 วัน เพื่อให้ทันต่อความต้องการ ที่ผ่านมา อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญภาคเอกชน เข้ามารับทราบขั้นตอนแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ดังนั้น ภาคเอกชนทราบดีว่ามีขั้นตอนนำเข้าอย่างไร
ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระบุว่า หากเอกชนต้องการนำเข้าวัคซีนมาก็ต้องไปประสานกับบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้นำเอกสารมาขอขึ้นทะเบียน แต่ขณะนี้ หลายบริษัทผู้ผลิต มีนโยบายขายให้แก่ภาครัฐเท่านั้น เช่น ไฟเซอร์, แอสตร้าเซนเนก้า และจอนห์สันแอนด์จอนห์สัน เพราะเป็นวัคซีนใหม่ที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ผลิตทุกรายมีเงื่อนไขให้รัฐที่จัดซื้อวัคซีนห้ามไม่ให้ผู้รับวัคซีนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ผลิตวัคซีน กรณีเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอีกด้วย.
วานนี้ (8 เม.ย.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่า รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และ อย.ไม่ได้ปิดกั้นเอกชนในการนำเข้าวัคซีนเข้ามา และยังอยากจะเชิญชวนเอกชนนำเข้ามาด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน รวมทั้งขั้นตอนการขออนุมัติการขึ้นทะเบียน ทาง อย.ก็พยายามทำให้เร็วที่สุด คือ ภายใน 30 วัน เพื่อให้ทันต่อความต้องการ ที่ผ่านมา อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญภาคเอกชน เข้ามารับทราบขั้นตอนแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ดังนั้น ภาคเอกชนทราบดีว่ามีขั้นตอนนำเข้าอย่างไร
ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระบุว่า หากเอกชนต้องการนำเข้าวัคซีนมาก็ต้องไปประสานกับบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้นำเอกสารมาขอขึ้นทะเบียน แต่ขณะนี้ หลายบริษัทผู้ผลิต มีนโยบายขายให้แก่ภาครัฐเท่านั้น เช่น ไฟเซอร์, แอสตร้าเซนเนก้า และจอนห์สันแอนด์จอนห์สัน เพราะเป็นวัคซีนใหม่ที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ผลิตทุกรายมีเงื่อนไขให้รัฐที่จัดซื้อวัคซีนห้ามไม่ให้ผู้รับวัคซีนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ผลิตวัคซีน กรณีเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอีกด้วย.