ผู้จัดการรายวัน360-"บิ๊กตู่" ขอสื่ออย่ากระพือข่าวรับมือเมียนมาอพยพหนีเข้าไทย ชี้เป็นเรื่องความมั่นคง "ดอน"เผยต้นเดือนเม.ย.มีการประชุมอาเซียน และจะถกเรื่องนี้ รับดูแลผู้ลี้ภัยแค่ชั่วคราว ไม่ตั้งศูนย์ มท.1 ประสานฝ่ายมั่นคงเตรียมรับสถานการณ์ ยันดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา จนมีกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาหลบภัยในเขตไทยว่า มีการเจรจา หลายคนเข้ามาในหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ นำร่องเข้ามาก่อน เมื่อมาเจอเราก็มีการชี้แจง ก็ถามว่ามีปัญหาอะไรในประเทศของเขา ในส่วนที่เขาอยู่ เมื่อเขาบอกว่าไม่มี ก็ขอให้กลับไปก่อนได้หรือไม่ หากสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น ก็ค่อยแก้กัน
เรามีประสบการณ์พวกนี้มาหลายปี มีศูนย์อพยพ 9 ศูนย์ 4 แสนกว่าคน 10-20 ปี วันนี้เหลือเพียงแสนกว่าคน เดิมเคยสัญญาว่าจะเอากลับ แต่เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ก็ต้องหยุดไว้อีก ขณะเดียวกันของใหม่เราก็ต้องเตรียมการให้พร้อม เราต้องดูแล มันเป็นมนุษยธรรม
เมื่อถามว่ามีการแจ้งว่าในพื้นที่ รับนโยบายให้บล็อกผู้ลี้ภัย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราจำเป็น เพราะเป็นเขตแดนไทย อันดับแรกที่จะเข้ามาจะต้องเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย แต่สถานการณ์สู้รบ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเกิดภัยพิบัติ หรือเกิดบาดเจ็บล้มตายทางโน้นเขาอาจจะเข้ามา เราก็ต้องหามาตรการของเรา ตนได้เตรียมเรื่องนี้ไว้แล้ว สื่อก็อย่าเพิ่งไปกระพือข่าวนักเลย
เมื่อถามว่าหากมีจำนวนผู้อพยพเข้ามามากขึ้นเราจะประสานสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องประสาน เขามาอยู่แล้วไม่ การจะไปอยู่ประเทศโน้น ประเทศนี้ แล้วไปได้กี่คน มันก็ค้างอยู่ในนี้ เมื่อถามว่าห่วงเชื้อโควิดที่จะเข้ามาด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เราได้เตรียมมาตรการไว้แล้ว ทั้งโรงพยาบาลสนามต่างๆ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ต้นเดือนเม.ย. จะมีการประชุมอาเซียน และจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนในเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ได้มีการพูดคุยกับผู้ใหญ่ในเมียนมา หลังจากวันที่มีผู้ลี้ภัยเข้ามา เพื่อหาทางให้เหตุการณ์ในบ้านเมืองของเขาเรียบร้อยโดยเร็ว เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ มีหลายปัจจัยทำให้รุนแรง แต่เราก็พยายามพูดคุยบอกเขาไปว่าต้องลดความรุนแรง เพื่อลดปัญหาทั้งหมด ซึ่งทางเมียนมา ก็รับทราบ แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ รวมถึงเราได้ประสานไปยังประธานอาเซียน คือประเทศบรูไน ในหลายเรื่องรวมถึงการจัดการประชุมอาเซียนด้วย ต้องหาทางทำให้เกิดสันติสุขในเมียนมาสู่ประชาชนเมียนมา และให้อาเซียนกลับมาเป็นภูมิภาคที่สงบ นี่
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึง การดูแลพื้นที่แนวชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมา ว่า ได้ประสานกับฝ่ายความมั่นคงที่เตรียมรับสถานการณ์ในขณะนี้อยู่แล้ว โดยต้องช่วยเหลือตามความเหมาะสม แต่ถ้าอยู่บริเวณชายแดนได้ ก็ให้อยู่ตรงนั้นก่อน หากมีเหตุอะไรเกิดขึ้น ก็ต้องดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนไปก่อน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุทยานได้มีการควบคุมพื้นที่ไว้ก่อน ด้วยการคัดกรองเรื่องของโควิด-19 และกันพื้นที่ไม่ให้กระจายตัวออกไป ซึ่งจะต้องหารือกับหน่วยงานความมั่นคง ว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา จนมีกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาหลบภัยในเขตไทยว่า มีการเจรจา หลายคนเข้ามาในหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ นำร่องเข้ามาก่อน เมื่อมาเจอเราก็มีการชี้แจง ก็ถามว่ามีปัญหาอะไรในประเทศของเขา ในส่วนที่เขาอยู่ เมื่อเขาบอกว่าไม่มี ก็ขอให้กลับไปก่อนได้หรือไม่ หากสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้น ก็ค่อยแก้กัน
เรามีประสบการณ์พวกนี้มาหลายปี มีศูนย์อพยพ 9 ศูนย์ 4 แสนกว่าคน 10-20 ปี วันนี้เหลือเพียงแสนกว่าคน เดิมเคยสัญญาว่าจะเอากลับ แต่เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ก็ต้องหยุดไว้อีก ขณะเดียวกันของใหม่เราก็ต้องเตรียมการให้พร้อม เราต้องดูแล มันเป็นมนุษยธรรม
เมื่อถามว่ามีการแจ้งว่าในพื้นที่ รับนโยบายให้บล็อกผู้ลี้ภัย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เราจำเป็น เพราะเป็นเขตแดนไทย อันดับแรกที่จะเข้ามาจะต้องเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย แต่สถานการณ์สู้รบ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเกิดภัยพิบัติ หรือเกิดบาดเจ็บล้มตายทางโน้นเขาอาจจะเข้ามา เราก็ต้องหามาตรการของเรา ตนได้เตรียมเรื่องนี้ไว้แล้ว สื่อก็อย่าเพิ่งไปกระพือข่าวนักเลย
เมื่อถามว่าหากมีจำนวนผู้อพยพเข้ามามากขึ้นเราจะประสานสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องประสาน เขามาอยู่แล้วไม่ การจะไปอยู่ประเทศโน้น ประเทศนี้ แล้วไปได้กี่คน มันก็ค้างอยู่ในนี้ เมื่อถามว่าห่วงเชื้อโควิดที่จะเข้ามาด้วยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เราได้เตรียมมาตรการไว้แล้ว ทั้งโรงพยาบาลสนามต่างๆ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ต้นเดือนเม.ย. จะมีการประชุมอาเซียน และจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียนในเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ได้มีการพูดคุยกับผู้ใหญ่ในเมียนมา หลังจากวันที่มีผู้ลี้ภัยเข้ามา เพื่อหาทางให้เหตุการณ์ในบ้านเมืองของเขาเรียบร้อยโดยเร็ว เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ มีหลายปัจจัยทำให้รุนแรง แต่เราก็พยายามพูดคุยบอกเขาไปว่าต้องลดความรุนแรง เพื่อลดปัญหาทั้งหมด ซึ่งทางเมียนมา ก็รับทราบ แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ รวมถึงเราได้ประสานไปยังประธานอาเซียน คือประเทศบรูไน ในหลายเรื่องรวมถึงการจัดการประชุมอาเซียนด้วย ต้องหาทางทำให้เกิดสันติสุขในเมียนมาสู่ประชาชนเมียนมา และให้อาเซียนกลับมาเป็นภูมิภาคที่สงบ นี่
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึง การดูแลพื้นที่แนวชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมา ว่า ได้ประสานกับฝ่ายความมั่นคงที่เตรียมรับสถานการณ์ในขณะนี้อยู่แล้ว โดยต้องช่วยเหลือตามความเหมาะสม แต่ถ้าอยู่บริเวณชายแดนได้ ก็ให้อยู่ตรงนั้นก่อน หากมีเหตุอะไรเกิดขึ้น ก็ต้องดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนไปก่อน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุทยานได้มีการควบคุมพื้นที่ไว้ก่อน ด้วยการคัดกรองเรื่องของโควิด-19 และกันพื้นที่ไม่ให้กระจายตัวออกไป ซึ่งจะต้องหารือกับหน่วยงานความมั่นคง ว่าจะมีมาตรการอย่างไรต่อไป