ก.คลัง ขยายเวลาลงทะเบียนเราชนะ กลุ่มช่วยเหลือพิเศษถึง 26 มี.ค. ระบุรับสิทธิ์แล้วกว่า 30 ล้านคน ใช้จ่าย 7.7 หมื่นล้าน เตือนร้านอย่าขึ้นราคา-ทุจริต เตรียมเปิดโครงการใหม่กลาวงปีนี้ “SMEคนละครึ่ง”ช่วยลดภาระค่าบริการทางธุรกิจ
วานนี้ (7มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในหัวข้อ"เราชนะไปด้วยกัน" โดยมีเนื้อหาว่า กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการลงทะเบียนรับสิทธิโครงการ“เราชนะ”สำหรับประชาชนกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการ คนป่วยติดเตียง และคนชรา จากวันที่ 5 มี.ค. ออกไปจนถึง 26 มี.ค. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ขอให้ติดต่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น เพื่อประสานงานกับหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ ของธนาคารกรุงไทย ธ.ก.ส. และ ออมสินได้เลย
สำหรับข้อมูลล่าสุด ถึงวันที่ 5 มี.ค. มีผู้รับสิทธิ์โครงการ“เราชนะ”ไปแล้ว 30.7 ล้านคน ใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการ แอปฯเป๋าตัง และบัตรประชาชน รวมกัน 77,579 ล้านบาท เม็ดเงินจำนวนมากนี้กระจายไปสู่ร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 1.2 ล้านราย
โอกาสนี้ นายกฯ ได้เตือนร้านค้าบางราย ที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ว่าได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ ไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วนแล้ว และขอร้องว่า อย่าทำกันเลย เพราะโครงการนี้สร้างโอกาสให้ท่านได้ขายสินค้าได้มากขึ้น จึงไม่อยากให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือเอารัดเอาเปรียบพี่น้องประชาชน รวมทั้งผู้ที่ทุจริต รับซื้อสิทธิ จากคนที่อยากได้เงินสด แล้วไปใช้สิทธิผ่านร้านค้าที่จัดตั้งกันขึ้นมา โดยไม่มีการซื้อขายจริง เพื่อเอาเงินที่รัฐบาลจ่ายให้ออกมาจากกระเป๋าถุงเงินของร้าน ขอเตือนว่า อย่าทำ เพราะมันคือการโกงเงินหลวง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้
ไอเดียใหม่"SMEคนละครึ่ง"
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มเติม ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME(Co-payment) มีสัดส่วนตั้งแต่ ร้อยละ 50-80 สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียน หรือขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหาร (อย.) ซึ่งที่ผ่านมา การขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้นทุนการประกอบการ และกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการของ เอสเอ็มอี ไทย
โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการ SMEs’Co-payment ในกลางปีนี้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทย ที่มีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพ และขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละราย สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย
ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ริเริ่มแนวทางเพื่อสร้างทางเลือกให้กับ SMEในการพัฒนาธุรกิจให้ได้ตรงตามความต้องการได้มากขึ้น โดย สสว.จะให้การเงินสนับสนุนแบบร่วมจ่าย (co-payment)โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถขอรับการสนับสนุน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการอบรมพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ การทดสอบและรับรองมาตรฐาน การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดลองผลิตระดับอุตสาหกรรมและการออกแบบ การขยายโอกาสทางการตลาด การรับถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งค่าตอบแทน เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าผู้เชี่ยวชาญ ค่าวินิจฉัย เป็นต้น โดยคุณสมบัติของเอสเอ็มอี ต้องเป็นธุรกิจที่มีการยื่นชำระภาษีและขึ้นทะเบียนสมาชิก กับสสว.
วานนี้ (7มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในหัวข้อ"เราชนะไปด้วยกัน" โดยมีเนื้อหาว่า กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการลงทะเบียนรับสิทธิโครงการ“เราชนะ”สำหรับประชาชนกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการ คนป่วยติดเตียง และคนชรา จากวันที่ 5 มี.ค. ออกไปจนถึง 26 มี.ค. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ขอให้ติดต่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่น เพื่อประสานงานกับหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ ของธนาคารกรุงไทย ธ.ก.ส. และ ออมสินได้เลย
สำหรับข้อมูลล่าสุด ถึงวันที่ 5 มี.ค. มีผู้รับสิทธิ์โครงการ“เราชนะ”ไปแล้ว 30.7 ล้านคน ใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการ แอปฯเป๋าตัง และบัตรประชาชน รวมกัน 77,579 ล้านบาท เม็ดเงินจำนวนมากนี้กระจายไปสู่ร้านค้า ที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 1.2 ล้านราย
โอกาสนี้ นายกฯ ได้เตือนร้านค้าบางราย ที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ว่าได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ ไปตรวจสอบอย่างเร่งด่วนแล้ว และขอร้องว่า อย่าทำกันเลย เพราะโครงการนี้สร้างโอกาสให้ท่านได้ขายสินค้าได้มากขึ้น จึงไม่อยากให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือเอารัดเอาเปรียบพี่น้องประชาชน รวมทั้งผู้ที่ทุจริต รับซื้อสิทธิ จากคนที่อยากได้เงินสด แล้วไปใช้สิทธิผ่านร้านค้าที่จัดตั้งกันขึ้นมา โดยไม่มีการซื้อขายจริง เพื่อเอาเงินที่รัฐบาลจ่ายให้ออกมาจากกระเป๋าถุงเงินของร้าน ขอเตือนว่า อย่าทำ เพราะมันคือการโกงเงินหลวง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้
ไอเดียใหม่"SMEคนละครึ่ง"
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มเติม ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME(Co-payment) มีสัดส่วนตั้งแต่ ร้อยละ 50-80 สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียน หรือขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหาร (อย.) ซึ่งที่ผ่านมา การขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้นทุนการประกอบการ และกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการของ เอสเอ็มอี ไทย
โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการ SMEs’Co-payment ในกลางปีนี้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทย ที่มีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพ และขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละราย สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย
ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ริเริ่มแนวทางเพื่อสร้างทางเลือกให้กับ SMEในการพัฒนาธุรกิจให้ได้ตรงตามความต้องการได้มากขึ้น โดย สสว.จะให้การเงินสนับสนุนแบบร่วมจ่าย (co-payment)โดยมีค่าใช้จ่ายที่สามารถขอรับการสนับสนุน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการอบรมพัฒนาความรู้ด้านธุรกิจ การทดสอบและรับรองมาตรฐาน การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดลองผลิตระดับอุตสาหกรรมและการออกแบบ การขยายโอกาสทางการตลาด การรับถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งค่าตอบแทน เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าผู้เชี่ยวชาญ ค่าวินิจฉัย เป็นต้น โดยคุณสมบัติของเอสเอ็มอี ต้องเป็นธุรกิจที่มีการยื่นชำระภาษีและขึ้นทะเบียนสมาชิก กับสสว.