ในหลวงทรงห่วงใยสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด พระราชทาน "รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ" แก่หน่วยงานทางการแพทย์ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจหาเชิงรุก แก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร และพื้นที่แออัด โดยใช้เวลาวิเคราะห์ผลแค่ 3 ชม.
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และทรงคำนึงถึงความยากลำบากของราษฎร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร และในพื้นที่แออัดให้สามารถเข้ารับการบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยสายวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทรงให้ความสำคัญการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่าเป็นขั้นตอนจำเป็น ที่ต้องดำเนินการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงทรงมีพระราชดำริให้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมผู้เชี่ยวชาญสร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ เพื่อออกไปตรวจวิเคราะห์ผลได้นอกรพ. หรือหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่าง และระยะเวลาในการรอผลการวิเคราะห์ และได้พระราชทาน“รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ”ต้นแบบ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด -19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริง ในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที กรณีพบผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 (NBT) ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 22 ม.ค.64 ที่ผ่านมา ตรวจจำนวน 222 ตัวอย่าง ได้ผลที่รวดเร็วตามที่คาดหมาย
รถพระราชทานนี้ จะช่วยเสริมการปฏิบัติงานของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด และที่โดดเด่นคือ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชม. และวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง
"นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้ โดยตั้งแต่ที่ได้พระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย จนถึงปัจจุบัน รถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนส่งต่อน้ำพระราชหฤทัย เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ด้วยปฏิบัติการตรวจบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุก รวมกว่า 80,000 รายแล้ว เข้าถึงชุมชน ควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ซึ่งกำลังจัดสร้างรถชีวนิรภัยเพิ่มเติมอีก จำนวน 7 คัน รวมเป็น 20 คัน เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้ประโยชน์ ณ สำนักงานเขตสุขภาพ ที่ 1-12 ทั่วประเทศ และในเขตพื้นที่กรุงเทพมหา
นคร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกอีกด้วย" นพ.โอภาส กล่าว
ไทยพบป่วยโควิดเพิ่ม198ราย
วานนี้ (24 ม.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 198 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 191 ราย แบ่งเป็นตรวจพบในระบบเฝ้าระวังและบริการ 118 ราย และผู้ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุก ในชุมชน 73 ราย กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค 6 ราย ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศถูกตรวจพบเชื้อ ณ จุดคัดกรอง 1 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นหญิงอายุ 73 ปี ใน จ.สมุทรสาคร มีโรคประจำตัวหลายโรค และสัมผัสผู้ติดเชื้อก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ได้พูดถึงการค้นหาเชิงรุกใน จ.สมุทรสาคร โดยตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. ถึงวันที่ 24 ม.ค. ผ่านไป 5 วัน มีการตรวจเชื้อไปแล้ว 60,000-70,000 ราย พบผู้ติดเชื้อ 5,532 ราย หรือคิดเป็นประมาณ 7% ถ้าเป็นไปตามตัวเลขที่ประมาณการณ์ อีก 5 วันถัดไปในสัปดาห์หน้า จะพบผู้ติดเชื้อ 2,000-3,000 ราย เราจะได้เตรียมพร้อมในการรักษา
สัปดาห์หน้าจะเข้มข้นมาตรการที่สุด ถ้าตัวเลขดีต่อเนื่อง ภายในต้นเดือนกพ. อาจมีสถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนได้ในบางพื้นที่ และถ้าตัวเลขดีเช่นนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าก็จะได้ยินข่าวดี มีมาตรการผ่อนคลายในหลายจุด
เคส"ดีเจมะตูม"พบติดเชื้อแล้ว19 คน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับดีเจมะตูม หรือ เตชินท์ พลอยเพชร พบว่าเริ่มต้นด้วยสถานบันเทิงที่ จ.เชียงใหม่ โดยมีชายคนหนึ่งไปเที่ยวสถานบันเทิงแห่งนี้ จากนั้นทราบว่าตอนจัดงานไม่ได้เว้นระยะห่าง ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย และมีผู้ที่ติดเชื้อที่สถานบันเทิงแห่งนั้นจำนวนมาก จากนั้นชายคนดังกล่าว ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ และมาร่วมงานวันเกิดของดีเจมะตูม มีผู้เกี่ยวข้องไปร่วมงานจำนวนมาก และเกิดการแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้น
ส่วนผู้ประกาศข่าว NBTจากการสอบสวนประวัติเบื้องต้น พบว่า ไปร่วมงานปาร์ตี้นี้เช่นกัน จากนั้นก็ไปงานเลี้ยงอีกงานหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม แต่เชื่อมโยงกันด้วยงานเลี้ยง มีผู้ติดเชื้อที่เกี่ยวโยงกัน 19 คน ซึ่งจะสังเกตว่าจุดที่มีความเสี่ยงคือ สถานที่แออัด คนที่มาร่วมกิจกรรมไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย เวลารับประทานอาหาร หรืออยู่ในงานเลี้ยง โดยเฉพาะงานเลี้ยงวันเกิด มีดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บางครั้งมีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และทรงคำนึงถึงความยากลำบากของราษฎร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร และในพื้นที่แออัดให้สามารถเข้ารับการบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยสายวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทรงให้ความสำคัญการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่าเป็นขั้นตอนจำเป็น ที่ต้องดำเนินการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงทรงมีพระราชดำริให้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมผู้เชี่ยวชาญสร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ เพื่อออกไปตรวจวิเคราะห์ผลได้นอกรพ. หรือหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่าง และระยะเวลาในการรอผลการวิเคราะห์ และได้พระราชทาน“รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ”ต้นแบบ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด -19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริง ในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที กรณีพบผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 (NBT) ที่ติดเชื้อโควิด-19 ในวันที่ 22 ม.ค.64 ที่ผ่านมา ตรวจจำนวน 222 ตัวอย่าง ได้ผลที่รวดเร็วตามที่คาดหมาย
รถพระราชทานนี้ จะช่วยเสริมการปฏิบัติงานของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด และที่โดดเด่นคือ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชม. และวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง
"นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้ โดยตั้งแต่ที่ได้พระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย จนถึงปัจจุบัน รถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนส่งต่อน้ำพระราชหฤทัย เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ด้วยปฏิบัติการตรวจบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุก รวมกว่า 80,000 รายแล้ว เข้าถึงชุมชน ควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ซึ่งกำลังจัดสร้างรถชีวนิรภัยเพิ่มเติมอีก จำนวน 7 คัน รวมเป็น 20 คัน เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้ประโยชน์ ณ สำนักงานเขตสุขภาพ ที่ 1-12 ทั่วประเทศ และในเขตพื้นที่กรุงเทพมหา
นคร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกอีกด้วย" นพ.โอภาส กล่าว
ไทยพบป่วยโควิดเพิ่ม198ราย
วานนี้ (24 ม.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 198 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 191 ราย แบ่งเป็นตรวจพบในระบบเฝ้าระวังและบริการ 118 ราย และผู้ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุก ในชุมชน 73 ราย กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค 6 ราย ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศถูกตรวจพบเชื้อ ณ จุดคัดกรอง 1 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นหญิงอายุ 73 ปี ใน จ.สมุทรสาคร มีโรคประจำตัวหลายโรค และสัมผัสผู้ติดเชื้อก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ได้พูดถึงการค้นหาเชิงรุกใน จ.สมุทรสาคร โดยตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. ถึงวันที่ 24 ม.ค. ผ่านไป 5 วัน มีการตรวจเชื้อไปแล้ว 60,000-70,000 ราย พบผู้ติดเชื้อ 5,532 ราย หรือคิดเป็นประมาณ 7% ถ้าเป็นไปตามตัวเลขที่ประมาณการณ์ อีก 5 วันถัดไปในสัปดาห์หน้า จะพบผู้ติดเชื้อ 2,000-3,000 ราย เราจะได้เตรียมพร้อมในการรักษา
สัปดาห์หน้าจะเข้มข้นมาตรการที่สุด ถ้าตัวเลขดีต่อเนื่อง ภายในต้นเดือนกพ. อาจมีสถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนได้ในบางพื้นที่ และถ้าตัวเลขดีเช่นนี้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าก็จะได้ยินข่าวดี มีมาตรการผ่อนคลายในหลายจุด
เคส"ดีเจมะตูม"พบติดเชื้อแล้ว19 คน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับดีเจมะตูม หรือ เตชินท์ พลอยเพชร พบว่าเริ่มต้นด้วยสถานบันเทิงที่ จ.เชียงใหม่ โดยมีชายคนหนึ่งไปเที่ยวสถานบันเทิงแห่งนี้ จากนั้นทราบว่าตอนจัดงานไม่ได้เว้นระยะห่าง ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย และมีผู้ที่ติดเชื้อที่สถานบันเทิงแห่งนั้นจำนวนมาก จากนั้นชายคนดังกล่าว ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ และมาร่วมงานวันเกิดของดีเจมะตูม มีผู้เกี่ยวข้องไปร่วมงานจำนวนมาก และเกิดการแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้น
ส่วนผู้ประกาศข่าว NBTจากการสอบสวนประวัติเบื้องต้น พบว่า ไปร่วมงานปาร์ตี้นี้เช่นกัน จากนั้นก็ไปงานเลี้ยงอีกงานหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม แต่เชื่อมโยงกันด้วยงานเลี้ยง มีผู้ติดเชื้อที่เกี่ยวโยงกัน 19 คน ซึ่งจะสังเกตว่าจุดที่มีความเสี่ยงคือ สถานที่แออัด คนที่มาร่วมกิจกรรมไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย เวลารับประทานอาหาร หรืออยู่ในงานเลี้ยง โดยเฉพาะงานเลี้ยงวันเกิด มีดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บางครั้งมีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้