ผู้จัดการรายวัน360 - ก.ล.ต. ดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งกับคนในตระกูล “วานิช” พร้อมพวกรวม 3 ราย ใช้ข้อมูลอินไชต์ซื้อขายหุ้นบมจ.ยูนิวานิช น้ำมันปาล์มฯ หรือ UVAN พร้อมให้แก๊ง "จันทร์ทิพย์ วานิช” ส่งคืนผลประโยชน์ ชดใช้ค่ายใช้จ่าย รวมจำนวน 5.13 ล้านบาท และห้ามบุคคลทั้ง 3 รายเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 นางจันทร์ทิพย์ วานิช กรรมการของ UVAN รู้ข้อมูลภาย (insider) ในเกี่ยวกับผลการดำเนินงานปี 2560 ของ UVAN ที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มีกำไรรายไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี และได้ซื้อหุ้น UVAN ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 โดยใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์ เกษมศักดากร และนางสาววลัยลักษณ์ ปฐมรังษิยังกุล จำนวนรวม 1,286,700 หุ้น ก่อนมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ทำให้ นางจันทร์ทิพย์ ได้ประโยชน์จากการซื้อหุ้นดังกล่าว
และพบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2561 นางจันทร์ทิพย์ รู้ข้อมูลภายในเกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ปี 2561 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิลดลงจำนวนมาก และนางจันทร์ทิพย์ได้ขายหุ้น UVAN ระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2561 โดยใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์ จำนวน 314,500 หุ้น ทำให้ได้ประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงผลขาดทุน ก่อนมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561
การกระทำของนางจันทร์ทิพย์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยทางคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้ ก.ล.ต. นำมาตรการลงโทษทางแพ่ง มาใช้บังคับกับนางจันทร์ทิพย์ นางสาวอมรรัตน์ และนางสาววลัยลักษณ์ โดยให้ชำระเงินค่าปรับทางแพ่ง ส่งคืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิด และชดใช้ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด โดยในส่วนของ นางจันทร์ทิพย์ คิดเป็นเงินรวม 3,388,672.50 บาท นางสาวอมรรัตน์ คิดเป็นเงินรวม 1,121,980 บาท และนางสาววลัยลักษณ์ คิดเป็นเงินรวม 621,980 บาท และกำหนดระยะเวลาห้ามผู้กระทำผิดทั้ง 3 รายเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยในส่วนของนางจันทร์ทิพย์ เป็นเวลา 14 เดือน นางสาวอมรรัตน์ และนางสาววลัยลักษณ์ เป็นเวลารายละ 9 เดือน
การกำหนดระยะเวลา ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวข้างต้น จะมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิด ลงนามในบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด หากผู้กระทำความผิดทั้ง 3 รายไม่ยินยอม ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการ ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ทั้งนี้ ค.ม.พ. วางแนวทางให้ ก.ล.ต. ร้องขอต่อศาลเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าที่ ค.ม.พ. กำหนดจนถึงอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561 นางจันทร์ทิพย์ วานิช กรรมการของ UVAN รู้ข้อมูลภาย (insider) ในเกี่ยวกับผลการดำเนินงานปี 2560 ของ UVAN ที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ปี 2560 ที่มีกำไรรายไตรมาสสูงสุดในรอบ 3 ปี และได้ซื้อหุ้น UVAN ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 โดยใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์ เกษมศักดากร และนางสาววลัยลักษณ์ ปฐมรังษิยังกุล จำนวนรวม 1,286,700 หุ้น ก่อนมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ทำให้ นางจันทร์ทิพย์ ได้ประโยชน์จากการซื้อหุ้นดังกล่าว
และพบว่าในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2561 นางจันทร์ทิพย์ รู้ข้อมูลภายในเกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ปี 2561 ซึ่งมีผลกำไรสุทธิลดลงจำนวนมาก และนางจันทร์ทิพย์ได้ขายหุ้น UVAN ระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2561 โดยใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของนางสาวอมรรัตน์ จำนวน 314,500 หุ้น ทำให้ได้ประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงผลขาดทุน ก่อนมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561
การกระทำของนางจันทร์ทิพย์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยทางคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้ ก.ล.ต. นำมาตรการลงโทษทางแพ่ง มาใช้บังคับกับนางจันทร์ทิพย์ นางสาวอมรรัตน์ และนางสาววลัยลักษณ์ โดยให้ชำระเงินค่าปรับทางแพ่ง ส่งคืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิด และชดใช้ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด โดยในส่วนของ นางจันทร์ทิพย์ คิดเป็นเงินรวม 3,388,672.50 บาท นางสาวอมรรัตน์ คิดเป็นเงินรวม 1,121,980 บาท และนางสาววลัยลักษณ์ คิดเป็นเงินรวม 621,980 บาท และกำหนดระยะเวลาห้ามผู้กระทำผิดทั้ง 3 รายเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ โดยในส่วนของนางจันทร์ทิพย์ เป็นเวลา 14 เดือน นางสาวอมรรัตน์ และนางสาววลัยลักษณ์ เป็นเวลารายละ 9 เดือน
การกำหนดระยะเวลา ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวข้างต้น จะมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิด ลงนามในบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด หากผู้กระทำความผิดทั้ง 3 รายไม่ยินยอม ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการ ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ทั้งนี้ ค.ม.พ. วางแนวทางให้ ก.ล.ต. ร้องขอต่อศาลเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าที่ ค.ม.พ. กำหนดจนถึงอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ