"บิ๊กป้อม"ประชุมขับเคลื่อนแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี สั่งเดินหน้าต่อเนื่อง พอใจผลงานปี 61-63 เห็นชอบแผน ปก.น้ำท่วมพัทยา/ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ดึงน้ำโขงใช้ประโยชน์ ย้ำน้ำอุปโภค บริโภค ต้องมีทุกครัวเรือน บริหารน้ำพื้นที่ EECให้ได้ผล
วานนี้ (24ธ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมน้ำปิง อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 ช่วงปี พ.ศ.2561- 2563 ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย
1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 5. การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ 6.การบริหารจัดการ ซึ่งในภาพรวมการดำเนินงาน มีความคืบหน้า อย่างน่าพอใจ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขการรายงาน และการเร่งรัดการดำเนินงานบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับทราบผล การรายงานการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC)ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสูงโดยให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรพิเศษ เพื่อเพิ่มความมั่นคง และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาเรื่องที่สำคัญได้แก่ เห็นชอบให้กองทับบกและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เร่งรัดการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 , เห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้งบประมาณ ซึ่งเป็นรายได้ของตนเองดำเนินโครงการ เพื่อการพัฒนาปี 64 ของการประปาส่วนภูมิภาคในเบื้องต้นก่อน จำนวน19 โครงการ รวมทั้งเห็นชอบแผนหลัก การแก้ปัญหาน้ำท่วม และการระบายน้ำพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา และการใช้ประโยชน์จากน้ำโขงและลำน้ำสาขา อีกทั้งให้ความเห็นชอบแผนงานบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนแม่บท 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน พร้อมทั้ง สั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ จะต้องเร่งรัดขับเคลื่อนงานให้มีความคืบหน้า และครบถ้วน ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว
สำหรับแผนงานต่อไป จะต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน อย่างจริงจัง และต้องไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนโดยต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อพี่น้องประชาชน มุ่งแก้ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้ง ทุกครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอ ตลอดปี รวมทั้งบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับ EECให้ได้ผล และ ต้องสร้างการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบด้วย
วานนี้ (24ธ.ค.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุมน้ำปิง อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 ช่วงปี พ.ศ.2561- 2563 ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย
1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 5. การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ 6.การบริหารจัดการ ซึ่งในภาพรวมการดำเนินงาน มีความคืบหน้า อย่างน่าพอใจ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขการรายงาน และการเร่งรัดการดำเนินงานบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับทราบผล การรายงานการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก (EEC)ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสูงโดยให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรพิเศษ เพื่อเพิ่มความมั่นคง และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาเรื่องที่สำคัญได้แก่ เห็นชอบให้กองทับบกและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เร่งรัดการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 , เห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้งบประมาณ ซึ่งเป็นรายได้ของตนเองดำเนินโครงการ เพื่อการพัฒนาปี 64 ของการประปาส่วนภูมิภาคในเบื้องต้นก่อน จำนวน19 โครงการ รวมทั้งเห็นชอบแผนหลัก การแก้ปัญหาน้ำท่วม และการระบายน้ำพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา และการใช้ประโยชน์จากน้ำโขงและลำน้ำสาขา อีกทั้งให้ความเห็นชอบแผนงานบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ สทนช.ในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนแม่บท 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน พร้อมทั้ง สั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ จะต้องเร่งรัดขับเคลื่อนงานให้มีความคืบหน้า และครบถ้วน ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว
สำหรับแผนงานต่อไป จะต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน อย่างจริงจัง และต้องไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนโดยต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อพี่น้องประชาชน มุ่งแก้ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้ง ทุกครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอ ตลอดปี รวมทั้งบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับ EECให้ได้ผล และ ต้องสร้างการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบด้วย