ศบค.เผยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 18 ราย ติดเชื้อในประเทศ กทม. 17 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 1 ราย เป็นพยาบาลหญิงวัย 26 ปี ตรวจพบติดเชื้อในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ย้อนดูไทม์ไลน์พยาบาลสาวรายแรกติดโควิดใน กทม.ขึ้นรถไฟฟ้า
วานนี้ (10 ธ.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศประจำวันว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 18 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และพบในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ทุกรายเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ 4 ราย, สวีเดน 2 ราย, ฟิลิปปินส์ 2 ราย, อิตาลี 2 ราย, สหราชอาณาจักร 2 ราย, เนปาล 1 ราย, เคนยา 1 ราย, รัสเซีย 1 ราย, ลิเบีย 1 ราย และสหรัฐอเมริกา 1 ราย ส่วนอีก 1 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศจาก กทม.
ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 4,169 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายแล้วเพิ่มอีก 8 ราย รวมเป็น 3,888 ราย ยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 221 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 60 ราย สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อรวม 69,227,000 ราย อาการรุนแรง 106,792 ราย รักษาหายแล้ว 47,982,019 ราย เสียชีวิต 1,575,612 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดยังเป็นสหรัฐอเมริกา จำนวน 15,820,042 ราย ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 151
วันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยไทม์ไลน์ของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์รายแรกที่ติดเชื้อใน กทม. เป็นเพศหญิง อาชีพพยาบาล อายุ 26 ปี ซึ่งทำงานใน Alternative State Quarantine (ASQ) ใน กทม. มีประวัติใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และบีทีเอส ก่อนเข้าการตรวจเชื้อ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. โดยมีประวัติวันที่ 24-26 พ.ย. ทำงานที่ ASQ โรงแรมเลอเมอริเดียน ถ.สีลม วัดไข้เคสใหม่ โดยใส่ชุด PPE (หมวก goggle, mask, ถุงมือ) ผลตรวจไม่พบเชื้อทั้งหมด
วันที่ 26 พ.ย. ทำงานที่ ASQ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี ถ.สีลม วัดไข้รอบ 09.30-20.00 น. รับใหม่ 3 เคส ผลตรวจไม่พบเชื้อทั้งหมด หลังจากนั้นพักพร้อมกับเพื่อนที่ต่อมาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 รายที่ 2 และ 4 อยู่ในห้องไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ห้องน้ำร่วมกัน, วันที่ 30 พ.ย. ทำงาน ICU แวะซื้ออาหารหน้าหอพัก
วันที่ 1 ธ.ค. ทำงานที่ ASQ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี ถ.สีลม รับเวรจากผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์รายที่ 3 และ 5 ต่อมาวันที่ 2 ธ.ค. ไปสัมภาษณ์ที่ รพ.ฝั่งธนบุรี โดยรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และเดินทางกลับด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยใส่หน้ากากาอนามัยตลอดการเดินทาง โดยใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ช่วงเวลา 10.00-10.15 น. และรถไฟฟ้าบีทีเอส สาทรมาสีลม เวลา 14.00-14.10 น., วันที่ 3 ธ.ค. ทำงานที่ รพ.บีเอ็นเอช เวลา 12.00 น. เริ่มมีไข้เวลา 19.00 น. มา รพ.เพื่อเก็บตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ และวันที่ 4 ธ.ค. ช่วงเช้า เริ่มมีไข้ เจ็บคอ และไอ เข้ารับการรักษา ณ รพ.เอกชน เวลา 19.00 น. ผลการตรวจพบเชื้อโควิด-19
สำหรับความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ในต่างประเทศล่าสุด สำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ตัดสินใจอนุมัติใช้วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค บางทีพวกเขาอาจขอให้คนติดเชื้อที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้งดรับวัคซีน จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงของรัฐบาลอเมริกาในวันที่ 9 ธ.ค. หลังมีรายงานจากสหราชอาณาจักร เกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้รุนแรง หลังพบเจ้าหน้าที่สาธารณาสุข 2 คน มีอาการแพ้ต่างๆ นานาและจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ทั้งสหราชอาณาจักร และแคนาดา ได้อนุมัติใช้วัคซีนตัวดังกล่าวซึ่งใช้ในปริมาณ 2 โดส บนพื้นฐานในกรณีฉุกเฉินเป็นเรียบร้อยแล้ว และคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะดำเนินการอย่างเดียวกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หลังจากคณะที่ปรึกษาของสำนักงานอาหารและยามีกำหนดประชุมกันในประเด็นดังกล่าวในวันพฤหัสบดี (10 ธ.ค.)
ทั้งนี้ อังกฤษได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของไฟเซอร์ และไบโอเอ็นเทค ครั้งใหญ่ให้แก่ประชาชนเมื่อวันอังคาร (8 ธ.ค.) โดยเริ่มจากกลุ่มผู้สูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์ แต่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ 2 รายของหน่วยงานสาธารณสุขมีอาการแพ้หลังจากได้รับวัคซีนดังกล่าว
“เจ้าหน้าที่ขอแนะนำให้ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนดังกล่าว หลังจากเกิดกรณีผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ 2 รายเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน” นายสตีเฟ่น โพวิส ผู้อำนวยการสาธารณสุขแห่งชาติ สถาบันบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service : NHS) ในสหราชอาณาจักร ระบุ
วานนี้ (10 ธ.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศประจำวันว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 18 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และพบในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ ทุกรายเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ 4 ราย, สวีเดน 2 ราย, ฟิลิปปินส์ 2 ราย, อิตาลี 2 ราย, สหราชอาณาจักร 2 ราย, เนปาล 1 ราย, เคนยา 1 ราย, รัสเซีย 1 ราย, ลิเบีย 1 ราย และสหรัฐอเมริกา 1 ราย ส่วนอีก 1 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศจาก กทม.
ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 4,169 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายแล้วเพิ่มอีก 8 ราย รวมเป็น 3,888 ราย ยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 221 ราย ขณะที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 60 ราย สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อรวม 69,227,000 ราย อาการรุนแรง 106,792 ราย รักษาหายแล้ว 47,982,019 ราย เสียชีวิต 1,575,612 ราย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดยังเป็นสหรัฐอเมริกา จำนวน 15,820,042 ราย ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 151
วันเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยไทม์ไลน์ของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์รายแรกที่ติดเชื้อใน กทม. เป็นเพศหญิง อาชีพพยาบาล อายุ 26 ปี ซึ่งทำงานใน Alternative State Quarantine (ASQ) ใน กทม. มีประวัติใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และบีทีเอส ก่อนเข้าการตรวจเชื้อ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. โดยมีประวัติวันที่ 24-26 พ.ย. ทำงานที่ ASQ โรงแรมเลอเมอริเดียน ถ.สีลม วัดไข้เคสใหม่ โดยใส่ชุด PPE (หมวก goggle, mask, ถุงมือ) ผลตรวจไม่พบเชื้อทั้งหมด
วันที่ 26 พ.ย. ทำงานที่ ASQ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี ถ.สีลม วัดไข้รอบ 09.30-20.00 น. รับใหม่ 3 เคส ผลตรวจไม่พบเชื้อทั้งหมด หลังจากนั้นพักพร้อมกับเพื่อนที่ต่อมาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 รายที่ 2 และ 4 อยู่ในห้องไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ห้องน้ำร่วมกัน, วันที่ 30 พ.ย. ทำงาน ICU แวะซื้ออาหารหน้าหอพัก
วันที่ 1 ธ.ค. ทำงานที่ ASQ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี ถ.สีลม รับเวรจากผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์รายที่ 3 และ 5 ต่อมาวันที่ 2 ธ.ค. ไปสัมภาษณ์ที่ รพ.ฝั่งธนบุรี โดยรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และเดินทางกลับด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยใส่หน้ากากาอนามัยตลอดการเดินทาง โดยใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ช่วงเวลา 10.00-10.15 น. และรถไฟฟ้าบีทีเอส สาทรมาสีลม เวลา 14.00-14.10 น., วันที่ 3 ธ.ค. ทำงานที่ รพ.บีเอ็นเอช เวลา 12.00 น. เริ่มมีไข้เวลา 19.00 น. มา รพ.เพื่อเก็บตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ และวันที่ 4 ธ.ค. ช่วงเช้า เริ่มมีไข้ เจ็บคอ และไอ เข้ารับการรักษา ณ รพ.เอกชน เวลา 19.00 น. ผลการตรวจพบเชื้อโควิด-19
สำหรับความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ในต่างประเทศล่าสุด สำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ตัดสินใจอนุมัติใช้วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค บางทีพวกเขาอาจขอให้คนติดเชื้อที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้งดรับวัคซีน จากการเปิดเผยของนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงของรัฐบาลอเมริกาในวันที่ 9 ธ.ค. หลังมีรายงานจากสหราชอาณาจักร เกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้รุนแรง หลังพบเจ้าหน้าที่สาธารณาสุข 2 คน มีอาการแพ้ต่างๆ นานาและจำเป็นต้องได้รับการรักษา
ทั้งสหราชอาณาจักร และแคนาดา ได้อนุมัติใช้วัคซีนตัวดังกล่าวซึ่งใช้ในปริมาณ 2 โดส บนพื้นฐานในกรณีฉุกเฉินเป็นเรียบร้อยแล้ว และคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะดำเนินการอย่างเดียวกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หลังจากคณะที่ปรึกษาของสำนักงานอาหารและยามีกำหนดประชุมกันในประเด็นดังกล่าวในวันพฤหัสบดี (10 ธ.ค.)
ทั้งนี้ อังกฤษได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของไฟเซอร์ และไบโอเอ็นเทค ครั้งใหญ่ให้แก่ประชาชนเมื่อวันอังคาร (8 ธ.ค.) โดยเริ่มจากกลุ่มผู้สูงอายุ และบุคลากรทางการแพทย์ แต่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ 2 รายของหน่วยงานสาธารณสุขมีอาการแพ้หลังจากได้รับวัคซีนดังกล่าว
“เจ้าหน้าที่ขอแนะนำให้ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนดังกล่าว หลังจากเกิดกรณีผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ 2 รายเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน” นายสตีเฟ่น โพวิส ผู้อำนวยการสาธารณสุขแห่งชาติ สถาบันบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service : NHS) ในสหราชอาณาจักร ระบุ