ผู้จัดการรายวัน 360 - "อาคม" มอบนโยบายสบน.กู้เงินต่างประเทศ เพื่อกระจายแหล่งระดมทุน เปิดทางเอกชนใช้สภาพคล่องในประเทศคลี่คลายสถานการณ์โควิด-19 ยันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีระยะ 5 ปีไม่เกินกรอบยั่งยืนการคลังที่ 60% ภายใต้จีดีพีเติบโต 3-5%
วานนี้ (24 พ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ว่า ได้มอบนโยบายให้สบน.ศึกษาแนวทางการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อกระจายแหล่งเงินกู้ เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลทำให้ความต้องการเงินกู้ในประเทศของภาคเอกชนอาจสูงขึ้น
โดยการกู้เงินจากต่างประเทศนั้น ให้สบน.พิจารณาเน้นการกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ไม่ใช่เป็นการกู้จากตลาดเงินในต่างประเทศ ซึ่งต้นทุนการกู้ระหว่างในประเทศกับต่างประเทศความแตกต่างกันไม่มากนัก
สำหรับการกู้เงินจากต่างประเทศจะใช้ใน 4 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการที่มีการถ่ายทอดเทคโนดลยีชั้นสูง 2.โครงการในสาขาที่ประเทศต้องการ คือ ด้านเทคโนโลยี และดิจิทัล หรือด้านระบบขนส่งมวลชน 3. โครงการที่มีลักษณะ Green Economy และ 4. โครงการลงทุนเชิงสังคม ที่เน้นด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งมีโอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต"
นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของรัฐบาลอยู่ที่ 49.34% ยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ที่ไม่เกิน 60% และแม้รัฐบาลได้ออกพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้ว และในระยะต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะยังไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ได้ประเมินการขยายตัวของจีดีพีปี 64 ไว้ที่ 4% และในช่วง 5 ปีจะขยายตัวที่ระดับ 3-5%
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการ สบน. กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวระบุรัฐบาลเตรียมกู้เงินในปี 64 เพิ่ม 3 ล้านล้านบาทมากสุดในประวัติศาสตร์ จนทำให้หนี้สาธารณะทะลุ 9 ล้านล้านบาท ว่า ไม่เป็นความจริง โดยในปี 64 สบน.มีแผนการก่อหนี้ใหม่ 1.47 ล้าน ล้านบาทเท่านั้น ประกอบด้วย การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 623,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อกระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ตามพ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 550,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 133,657 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 158,782 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันการกู้เงินเพื่อการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ผ่านวิกฤติการณ์ไปได้ ส่วนแผนการบริหารหนี้เดิม 1.28 ล้านล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้เก่าที่ครบอายุ เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มยอดหนี้ใหม่แต่อย่างใด และขอเตือนว่าการนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
วานนี้ (24 พ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ว่า ได้มอบนโยบายให้สบน.ศึกษาแนวทางการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อกระจายแหล่งเงินกู้ เนื่องจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลทำให้ความต้องการเงินกู้ในประเทศของภาคเอกชนอาจสูงขึ้น
โดยการกู้เงินจากต่างประเทศนั้น ให้สบน.พิจารณาเน้นการกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ไม่ใช่เป็นการกู้จากตลาดเงินในต่างประเทศ ซึ่งต้นทุนการกู้ระหว่างในประเทศกับต่างประเทศความแตกต่างกันไม่มากนัก
สำหรับการกู้เงินจากต่างประเทศจะใช้ใน 4 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการที่มีการถ่ายทอดเทคโนดลยีชั้นสูง 2.โครงการในสาขาที่ประเทศต้องการ คือ ด้านเทคโนโลยี และดิจิทัล หรือด้านระบบขนส่งมวลชน 3. โครงการที่มีลักษณะ Green Economy และ 4. โครงการลงทุนเชิงสังคม ที่เน้นด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งมีโอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต"
นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของรัฐบาลอยู่ที่ 49.34% ยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ที่ไม่เกิน 60% และแม้รัฐบาลได้ออกพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้ว และในระยะต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะยังไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ได้ประเมินการขยายตัวของจีดีพีปี 64 ไว้ที่ 4% และในช่วง 5 ปีจะขยายตัวที่ระดับ 3-5%
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการ สบน. กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวระบุรัฐบาลเตรียมกู้เงินในปี 64 เพิ่ม 3 ล้านล้านบาทมากสุดในประวัติศาสตร์ จนทำให้หนี้สาธารณะทะลุ 9 ล้านล้านบาท ว่า ไม่เป็นความจริง โดยในปี 64 สบน.มีแผนการก่อหนี้ใหม่ 1.47 ล้าน ล้านบาทเท่านั้น ประกอบด้วย การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 623,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อกระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ตามพ.ร.ก.กู้เงิน จำนวน 550,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 133,657 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐบาล และรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 158,782 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันการกู้เงินเพื่อการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ผ่านวิกฤติการณ์ไปได้ ส่วนแผนการบริหารหนี้เดิม 1.28 ล้านล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้เก่าที่ครบอายุ เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยไม่ได้เป็นการเพิ่มยอดหนี้ใหม่แต่อย่างใด และขอเตือนว่าการนำเข้า เผยแพร่ หรือส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์