ผู้จัดการรายวัน 360 - กระทรวงสาธารณสุข เผยข่าวดีคนไทย วัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ที่รัฐบาลไทยร่วมมือพัฒนาและเตรียมจัดซื้อวัคซีน ประสบผลสำเร็จเกินข้อกำหนด WHO ประสิทธิผลสูงสุดถึง 90% เตรียมขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง คาดคนไทยได้ใช้กลางปีหน้า
วานนี้ (24 พ.ย.) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าว ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ว่า ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอของบประมาณและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 3,700 ล้านบาท เพื่อการจัดหาวัคซีนด้วยวิธีการจองล่วงหน้ากับบริษัทแอสตร้าเซเนก้า สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน
ผลทดลองเบื้องต้นพบว่า วัคซีนวิจัย AZD1222 ที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าร่วมกันพัฒนา มีประสิทธิผลเกินข้อกำหนดของ WHO โดยการให้วัคซีนแบบแรก คือ ฉีดครึ่งโดสแล้วฉีดตามด้วยอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่าป้องกันโรคโควิด-19 สูงถึง 90% และการให้วัคซีนแบบที่สอง คือ การฉีดวัคซีน 1 โดสแล้วฉีดตามอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่าป้องกันโรคโควิด 19 ที่ 62% จากการให้วัคซีนทั้ง 2 แบบค่าเฉลี่ยของประสิทธิผลโดยรวมอยู่ที่ 70.4%
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด 19 ต้องมีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 50%
นอกจากนี้ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน AZD1222 ไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงหรือต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และมีความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ จากนี้บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า จะนำเสนอผลการทดลองเบื้องต้นที่สมบูรณ์ (full interim) เพื่อการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องต่อไป
“วัคซีนวิจัย AZD1222 มีความพร้อมในเรื่องการเตรียมกำลังการผลิตที่มีฐานการผลิตทั่วโลก วัคซีนจัดเก็บได้ที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดเก็บและขนส่งวัคซีนในระบบปกติของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนชนิดนี้มากกว่าประเทศอื่น คาดว่าจะได้รับวัคซีนกลางปีหน้า ส่วนกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนโควิด-19 อยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ จะแล้วเสร็จธันวาคม 2563” นพ.โอภาสกล่าว
ทั้งนี้ ความร่วมมือผลิตวัคซีน AZD1222 จำนวนมากโดยไม่หวังผลกำไร เพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา นับเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรด้านสาธารณสุขชั้นนำของโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) และผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลก ผนึกกำลังเพื่อช่วยกันกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมโดยเร็ว
ด้านนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้จัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนไทยโดยการจองล่วงหน้ากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติจัดทำสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า และมอบให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้ดำเนินการจัดทำสัญญาซื้อวัคซีนจากการจองดังกล่าวโดยให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับงบประมาณแล้ว โดยครั้งนี้ จะเป็นการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 13 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการป่วย การเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลผู้ป่วยจากโรคโควิด 19 ลดการสูญเสียเชิงเศรษฐกิจได้เป็นมูลค่ากว่าสี่แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าและสัญญาซื้อวัคซีนจากการจอง ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ไทยพบติด"โควิด"อีก 2 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ล่าสุดพบผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย จึงทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมีจำนวน 3,922 ราย ส่วนผู้ที่รักษาหายแล้วเพิ่ม 6 ราย จึงมียอดสะสมผู้ที่ได้รับการรักษาหายแล้ว 3,772 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตยังมียอดสะสมอยู่ที่ 60 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 90 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย ได้แก่ 1.ผู้ที่มาจากประเทศอินเดีย 1 ราย เป็นหญิงสัญชาติอินเดีย อายุ 5 เดือน เดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พ.ย. เข้าพักในสถานกักกันแบบทางเลือกที่รัฐกำหนดในกรุงเทพฯ ตรวจหาเชื้อเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ผลพบเชื้อ มีไข้ และอาเจียน ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 2.ผู้ที่มาจากประเทศปากีสถาน 1 ราย เป็นชายสัญชาติปากีสถาน อายุ 31 ปี อาชีพค้าขาย เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 พ.ย. เข้าพักในสถานกักกันแบบทางเลือกที่รัฐกำหนดใน จ.สมุทรปราการ ตรวจหาเชื้อเมื่อวันที่ 21 พ.ย. พบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชน
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม รวม 59,509,905 ราย ผู้ที่มีอาการรุนแรง 103,565 ราย รักษาหายแล้ว 41,152,394 ราย เสียชีวิต 1,401,827 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนสะสมผู้ติดเชื้อสูงสุด คือ สหรัฐอเมริกา มีจำนวน 12,777,174 ราย ตามด้วย อินเดีย 9,177,722 ราย บราซิล 6,088,004 ราย ฝรั่งเศส 2,144,660 ราย รัสเซีย 2,114,502 ราย
วานนี้ (24 พ.ย.) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าว ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ว่า ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอของบประมาณและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 3,700 ล้านบาท เพื่อการจัดหาวัคซีนด้วยวิธีการจองล่วงหน้ากับบริษัทแอสตร้าเซเนก้า สัญชาติอังกฤษ-สวีเดน
ผลทดลองเบื้องต้นพบว่า วัคซีนวิจัย AZD1222 ที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าร่วมกันพัฒนา มีประสิทธิผลเกินข้อกำหนดของ WHO โดยการให้วัคซีนแบบแรก คือ ฉีดครึ่งโดสแล้วฉีดตามด้วยอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่าป้องกันโรคโควิด-19 สูงถึง 90% และการให้วัคซีนแบบที่สอง คือ การฉีดวัคซีน 1 โดสแล้วฉีดตามอีก 1 โดสหลังจากฉีดครั้งแรก 1 เดือน พบว่าป้องกันโรคโควิด 19 ที่ 62% จากการให้วัคซีนทั้ง 2 แบบค่าเฉลี่ยของประสิทธิผลโดยรวมอยู่ที่ 70.4%
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรฐานการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด 19 ต้องมีประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า 50%
นอกจากนี้ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน AZD1222 ไม่มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงหรือต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และมีความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ จากนี้บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า จะนำเสนอผลการทดลองเบื้องต้นที่สมบูรณ์ (full interim) เพื่อการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องต่อไป
“วัคซีนวิจัย AZD1222 มีความพร้อมในเรื่องการเตรียมกำลังการผลิตที่มีฐานการผลิตทั่วโลก วัคซีนจัดเก็บได้ที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดเก็บและขนส่งวัคซีนในระบบปกติของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนชนิดนี้มากกว่าประเทศอื่น คาดว่าจะได้รับวัคซีนกลางปีหน้า ส่วนกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนโควิด-19 อยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ จะแล้วเสร็จธันวาคม 2563” นพ.โอภาสกล่าว
ทั้งนี้ ความร่วมมือผลิตวัคซีน AZD1222 จำนวนมากโดยไม่หวังผลกำไร เพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา นับเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรด้านสาธารณสุขชั้นนำของโลก อาทิ องค์การอนามัยโลก กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (CEPI) องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (GAVI) และผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลก ผนึกกำลังเพื่อช่วยกันกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงและเท่าเทียมโดยเร็ว
ด้านนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้จัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประชาชนไทยโดยการจองล่วงหน้ากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติจัดทำสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า และมอบให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้ดำเนินการจัดทำสัญญาซื้อวัคซีนจากการจองดังกล่าวโดยให้มีผลผูกพันเมื่อได้รับงบประมาณแล้ว โดยครั้งนี้ จะเป็นการจัดหาวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 13 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการป่วย การเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลผู้ป่วยจากโรคโควิด 19 ลดการสูญเสียเชิงเศรษฐกิจได้เป็นมูลค่ากว่าสี่แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้าและสัญญาซื้อวัคซีนจากการจอง ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ไทยพบติด"โควิด"อีก 2 ราย
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ล่าสุดพบผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย จึงทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมีจำนวน 3,922 ราย ส่วนผู้ที่รักษาหายแล้วเพิ่ม 6 ราย จึงมียอดสะสมผู้ที่ได้รับการรักษาหายแล้ว 3,772 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตยังมียอดสะสมอยู่ที่ 60 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 90 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย ได้แก่ 1.ผู้ที่มาจากประเทศอินเดีย 1 ราย เป็นหญิงสัญชาติอินเดีย อายุ 5 เดือน เดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พ.ย. เข้าพักในสถานกักกันแบบทางเลือกที่รัฐกำหนดในกรุงเทพฯ ตรวจหาเชื้อเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ผลพบเชื้อ มีไข้ และอาเจียน ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 2.ผู้ที่มาจากประเทศปากีสถาน 1 ราย เป็นชายสัญชาติปากีสถาน อายุ 31 ปี อาชีพค้าขาย เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 16 พ.ย. เข้าพักในสถานกักกันแบบทางเลือกที่รัฐกำหนดใน จ.สมุทรปราการ ตรวจหาเชื้อเมื่อวันที่ 21 พ.ย. พบเชื้อ แต่ไม่มีอาการ ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชน
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม รวม 59,509,905 ราย ผู้ที่มีอาการรุนแรง 103,565 ราย รักษาหายแล้ว 41,152,394 ราย เสียชีวิต 1,401,827 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนสะสมผู้ติดเชื้อสูงสุด คือ สหรัฐอเมริกา มีจำนวน 12,777,174 ราย ตามด้วย อินเดีย 9,177,722 ราย บราซิล 6,088,004 ราย ฝรั่งเศส 2,144,660 ราย รัสเซีย 2,114,502 ราย