ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.อนุมัติช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคท่องเที่ยว ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง เพิ่มวงเงินกู้ซอฟต์โลนเที่ยวเป็น 100 ล้านบาท จากเดิม 20 ล้านบาท ขยายเวลาถึง มิ.ย.64 พร้อมลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบินเหลือลิตรละ 0.20 บาท 5 เดือน หวังสายการบินลดค่าตั๋ว ทำให้ประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทาง กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.สัญจร จังหวัดภูเก็ต เห็นชอบการแก้ไขปัญหาข้อติดขัดและขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึง 4 เรื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยที่ถูกผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
โดยมาตรการแรก การปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อซอฟต์โลนท่องเที่ยวต่อรายของธนาคารออมสิน จากเดิมไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย เป็นไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ซึ่งธนาคารออมสินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และสถาบันการเงินปล่อยต่อให้ผู้ประกอบการร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี พร้อมขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64
มาตรการที่ 2 ขยายขอบเขตคุณสมบัติของเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการพีจีเอส ซอฟต์โลน พลัส วงเงิน 57,000 ล้านบาท ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้ครอบคลุมถึงเอสเอ็มอีท่องเที่ยวคิดค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกัน 8 ปี โดยเริ่มค้ำประกันในต้นปีที่ 3
มาตรการที่ 3 ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงิน 5,000 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 โดยปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยว และธุรกิจเกี่ยวเนื่องวงเงินไม่เกินรายละ 5 แสนบาท ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี
มาตรการสุดท้าย ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อเอ๊กซ์ต้า แคช วงเงิน 10,000 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 โดยธนาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ยังเห็นชอบการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไอพ่นจาก 4,726 บาทต่อลิตร เหลือลิตรละ 0.20 บาท จากเดิมลิตรละ 4.725 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 30 เม.ย.64 เพื่อลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการสายการบิน และส่งผลให้สายการบินสามารถปรับลดค่าโดยสารลงจากเดิม ทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลงและตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.สัญจร จังหวัดภูเก็ต เห็นชอบการแก้ไขปัญหาข้อติดขัดและขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึง 4 เรื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยที่ถูกผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
โดยมาตรการแรก การปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อซอฟต์โลนท่องเที่ยวต่อรายของธนาคารออมสิน จากเดิมไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย เป็นไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ซึ่งธนาคารออมสินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และสถาบันการเงินปล่อยต่อให้ผู้ประกอบการร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี พร้อมขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64
มาตรการที่ 2 ขยายขอบเขตคุณสมบัติของเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการพีจีเอส ซอฟต์โลน พลัส วงเงิน 57,000 ล้านบาท ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้ครอบคลุมถึงเอสเอ็มอีท่องเที่ยวคิดค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกัน 8 ปี โดยเริ่มค้ำประกันในต้นปีที่ 3
มาตรการที่ 3 ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อซอฟต์โลนออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงิน 5,000 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 โดยปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยว และธุรกิจเกี่ยวเนื่องวงเงินไม่เกินรายละ 5 แสนบาท ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี
มาตรการสุดท้าย ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อเอ๊กซ์ต้า แคช วงเงิน 10,000 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 โดยธนาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ยังเห็นชอบการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไอพ่นจาก 4,726 บาทต่อลิตร เหลือลิตรละ 0.20 บาท จากเดิมลิตรละ 4.725 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 30 เม.ย.64 เพื่อลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการสายการบิน และส่งผลให้สายการบินสามารถปรับลดค่าโดยสารลงจากเดิม ทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลงและตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น