ผู้จัดการรายวัน360- "ชวน"เผยยกหูเชิญอดีตนายกฯ "อานันท์- ชวลิต-อภิสิทธิ์-สมชาย" ร่วมตั้ง กก.สมานฉันท์ ปัดนั่งหัวโต๊ะ ขอเป็นแค่คนประสานให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน พร้อมสั่งบรรจุร่าง แก้รธน. 7 ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา 17 พ.ย.นี้ "วิรัช" เผยวาระแรก ต้องเสร็จ18 พ.ย. ส่วนวาระ 2-3 ต้องถกอีกรอบ นายกฯ ยันรับฟังความเห็นทุกฝ่าย ยึดแก้ปัญหาผ่านกลไกรัฐบาล-รัฐสภา กระบวนการยุติธรรม ย้ำต้องไม่มีการก้าวล่วง ชี้ทุกอย่างดีขึ้นได้เริ่มต้นด้วยความสงบเรียบร้อยก่อน
วานนี้ (3พ.ย.) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้เชิญ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา นายสุชาติ ตันเจริญ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมหารือถึงรูปแบบโครงสร้างกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ที่สถาบันพระปกเกล้า นำเสนอมา 2 รูปแบบ
ภายหลังการประชุม นายชวน กล่าวว่า ได้รับคำชี้แจงจากนายสุทิน ว่าฝ่ายค้านไม่ถึงขนาดที่จะไม่เข้าร่วมในโครงสร้างคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ขอรอดูแนวทาง รูปแบบคณะกรรมการก่อน ถือว่าไม่ปฏิเสธการเข้าร่วม ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้หารือว่าจะใช้รูปแบบคณะกรรมการสมานฉันท์ในรูปแบบใด
หลังจากนี้ จะนำความเห็นที่ได้หารือกัน ส่งให้เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า รับทราบอีกครั้ง ส่วนที่มีข้อเสนอให้ตนเป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ นั้น คงไม่เหมาะ ตนควรรับภาระการประสานเพื่อให้ทุกฝ่ายมาทำงานร่วมกัน แต่กรณีใดที่ตนเป็นประโยชน์ ก็ยินดีทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าได้เชิญอดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมวงสมานฉันท์ นายชวน ตอบว่า ยอมรับว่าได้ติดต่อทางโทรศัพท์ไปยังอดีตนายกรัฐมนตรี 4 คน ประกอบด้วย นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งนายอานันท์ พล.อ.ชวลิต และนายอภิสิทธิ์ ยินดีและพร้อมจะสนับสนุนให้ความร่วมมือ แต่ตนจะขอไปพบเป็นการส่วนตัวอีกครั้ง ส่วนนายสมชาย ยังติดต่อไม่ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสุขภาพ ขอให้รอสักระยะ ขอเรียนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวในอนาคต แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นอีกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการชุมนุมเป็นอีกประเด็น ต้องดูพิเศษต่างหาก
บรรจุร่างแก้รธน.7ฉบับ ถก17 พ.ย.
นายชวน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างแก้ไขรธน.6 ฉบับ และร่างแก้ไขรธน.ฉบับไอลอว์ ว่า หลังจากหารือทุกฝ่ายแล้วจะประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อแก้ไขรธน. ได้ข้อยุติว่า ร่างไอลอว์ มีผู้แจ้งว่าไม่ได้มีการลงชื่อแก้ไข 400 กว่าคน แต่เนื่องจากมีผู้ลงชื่อในร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นแสนคน จึงไม่มีปัญหาอะไร จึงจะนำเรี่องเข้าบรรจุในระเบียบวาระได้ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. เป็นต้นไป แต่ตามข้อบังคับการประชุมต้องแจ้งวาระให้ที่ประชุมทราบล่วงหน้า 3 วัน ดังนั้น จึงเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 14-16 พ.ย. ทำให้จะเริ่มประชุมได้ในวันที่ 17 พ.ย. จึงนัดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้รธนงฉบับไอลอว์ เข้าบรรจุวาระเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนอีก 6 ฉบับ ที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ก็ส่งมาให้ตนแล้ว จะบรรจุเข้าสู่ในระเบียบวาระ เรื่องที่ กมธ.เสร็จแล้ว และจะพิจารณาในวันที่ 17 พ.ย.เช่นกัน โดยเมื่อพิจารณา ร่างแก้ไข 6 ฉบับเสร็จแล้ว จึงจะนำร่างไอลอว์ เข้าพิจารณาต่อ มีการหารือว่า การพิจารณาวันที่ 17 พ.ย. วันเดียวจะพอหรือไม่ เพราะการลงมติต้องใช้เวลา 4 ชม. ถ้าไม่ทันจะพิจารณาต่อในวันที่18 พ.ย.
นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การประชุมรัฐสภา พิจารณาในวาระ 2-3 จะใช้เวลากี่วัน 30 วัน หรือ 45 วัน ซึ่งจะต้องไปคุยในรายละเอียด ส่วนการโหวต ตอนนี้ มี 7 ฉบับ เวลาอาจจะต้องเพิ่มขึ้น ฉะนั้นทุกอย่างน่าจะจบใน วันที่ 17 พ.ย. แต่ถ้าไม่จบ ก็ต้องต่อในวันที่ 18 พ.ย.
ฝ่ายค้านตั้งแง่ ร่วมวง กก.สมานฉันท์
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า ฝ่ายค้านจะเข้าร่วม กก.สมานฉันท์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการหารือในสเตปแรก ที่เชิญทุกฝ่ายมาหารือกัน ถ้าทุกฝ่ายยอมรับการมีกก.สมานฉันท์ ก็จะไปสู่สเตปที่สอง คือ โครงสร้างคณะกก. ดังนั้น ถ้าในสเตปแรกทุกฝ่ายยอมรับกัน พร้อมให้มีคณะกรรมการชุดนี้ ฝ่ายค้านก็พร้อมเข้าร่วมด้วย แต่ถ้าทุกฝ่ายไม่ยอมรับ โดยเฉพาะความเห็นจากฝ่ายผู้ชุมนุม ถ้าไม่ยอมรับคณะกก.สมานฉันท์ ฝ่ายค้านก็คงจะไม่เข้าร่วมด้วย เพราะการแก้ปัญหาครั้งนี้ ต้องเอาผู้ชุมนุมและประชาชนเป็นตัวตั้ง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การหารือสเตปแรก น่าจะเกิดขึ้นไม่น่าจะเกินสัปดาห์หน้า คงเป็นการหารือไม่กี่คน น่าจะมีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. ผู้ชุมนุม นักวิชาการ และสถาบันพระปกเกล้า ส่วนรูปแบบคณะกรรมการสมานฉันท์นั้น ยังไม่ได้คิด ต้องดูในสเตปแรกที่จะประชุมโต๊ะกลม เพื่อนำตุ๊กตาของสถาบันพระปกเกล้า มาพิจารณาในรูปแบบที่1 และ 2 หรืออาจสร้างรูปแบบที่สามขึ้นมาเอง ก็รอฟังก่อน
นายกฯยันรับฟังความเห็นทุกฝ่าย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมครม.สัญจรและการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันว่า รัฐบาลมีแผนในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปแล้ว ซึ่งวันนี้ก็มีผลงานปรากฎเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังสร้างการรับรู้ได้ไม่มากนัก แต่ตนได้ปรับวิธีการนำเสนอใหม่ว่า ในแต่ละยุทธศาสตร์ชาตินั้นได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง มีอะไรที่ปรากฎเป็นผลสำเร็จบ้าง อะไรที่ทำอยู่และมีแผนที่จะดำเนินการต่อไป และขอพวกเราช่วยกันทำบ้านเมืองให้สงบ เพื่อบริหารงานต่างๆได้
เราต้องฟังความเห็นของทุกคน ทุกพวก ทุกฝ่าย แต่รัฐบาลก็จำเป็นต้องใช้กลไกในการบริหารปกติของรัฐบาล กลไกของรัฐสภาในการแก้ปัญหา นั่นคือสิ่งที่ทุกรัฐบาลจำเป็นต้องยึดมั่น และอาศัยกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก้าวล่วงซึ่งกันและกันมิได้ ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนในประเทศนี้ด้วย
"ขอขอบคุณในการต้อนรับของประชาชนภาคใต้ โดยเฉพาะสมุยและภูเก็ต ที่ถือเป็นตัวแทนของประชาชนในภาคใต้ ซึ่งผมเห็นถึงความรัก ความสามัคคี ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ได้แสดงออกมา ผมก็ตื้นตันกับประชาชนของเรา แม้กระทั่งในกรุงเทพฯ ทุกคนก็ได้แสดงถึงเจตนา ปรารถนาอันบริสุทธิ์ ที่จะทำให้ประเทศชาตินั้นมีความปลอดภัย แล้วทุกอย่างมันก็จะดีขึ้นเองนั่นแหล่ะ ทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นด้วยความสงบเรียบร้อย เริ่มต้นด้วยสิ่งที่มันถูกต้อง มีวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์ มีประเพณี สิ่งเหล่านี้มันจะทำให้ประเทศชาติเราเข้มแข็ง ต่อไปในอนาคต ก็ขอฝากทุกคนไว้ด้วย" นายกฯกล่าว
วานนี้ (3พ.ย.) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้เชิญ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา นายสุชาติ ตันเจริญ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมหารือถึงรูปแบบโครงสร้างกรรมการปรองดองสมานฉันท์ ที่สถาบันพระปกเกล้า นำเสนอมา 2 รูปแบบ
ภายหลังการประชุม นายชวน กล่าวว่า ได้รับคำชี้แจงจากนายสุทิน ว่าฝ่ายค้านไม่ถึงขนาดที่จะไม่เข้าร่วมในโครงสร้างคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ขอรอดูแนวทาง รูปแบบคณะกรรมการก่อน ถือว่าไม่ปฏิเสธการเข้าร่วม ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้หารือว่าจะใช้รูปแบบคณะกรรมการสมานฉันท์ในรูปแบบใด
หลังจากนี้ จะนำความเห็นที่ได้หารือกัน ส่งให้เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า รับทราบอีกครั้ง ส่วนที่มีข้อเสนอให้ตนเป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ นั้น คงไม่เหมาะ ตนควรรับภาระการประสานเพื่อให้ทุกฝ่ายมาทำงานร่วมกัน แต่กรณีใดที่ตนเป็นประโยชน์ ก็ยินดีทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าได้เชิญอดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมวงสมานฉันท์ นายชวน ตอบว่า ยอมรับว่าได้ติดต่อทางโทรศัพท์ไปยังอดีตนายกรัฐมนตรี 4 คน ประกอบด้วย นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งนายอานันท์ พล.อ.ชวลิต และนายอภิสิทธิ์ ยินดีและพร้อมจะสนับสนุนให้ความร่วมมือ แต่ตนจะขอไปพบเป็นการส่วนตัวอีกครั้ง ส่วนนายสมชาย ยังติดต่อไม่ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสุขภาพ ขอให้รอสักระยะ ขอเรียนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวในอนาคต แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นอีกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการชุมนุมเป็นอีกประเด็น ต้องดูพิเศษต่างหาก
บรรจุร่างแก้รธน.7ฉบับ ถก17 พ.ย.
นายชวน ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างแก้ไขรธน.6 ฉบับ และร่างแก้ไขรธน.ฉบับไอลอว์ ว่า หลังจากหารือทุกฝ่ายแล้วจะประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อแก้ไขรธน. ได้ข้อยุติว่า ร่างไอลอว์ มีผู้แจ้งว่าไม่ได้มีการลงชื่อแก้ไข 400 กว่าคน แต่เนื่องจากมีผู้ลงชื่อในร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นแสนคน จึงไม่มีปัญหาอะไร จึงจะนำเรี่องเข้าบรรจุในระเบียบวาระได้ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. เป็นต้นไป แต่ตามข้อบังคับการประชุมต้องแจ้งวาระให้ที่ประชุมทราบล่วงหน้า 3 วัน ดังนั้น จึงเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 14-16 พ.ย. ทำให้จะเริ่มประชุมได้ในวันที่ 17 พ.ย. จึงนัดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้รธนงฉบับไอลอว์ เข้าบรรจุวาระเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนอีก 6 ฉบับ ที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ก็ส่งมาให้ตนแล้ว จะบรรจุเข้าสู่ในระเบียบวาระ เรื่องที่ กมธ.เสร็จแล้ว และจะพิจารณาในวันที่ 17 พ.ย.เช่นกัน โดยเมื่อพิจารณา ร่างแก้ไข 6 ฉบับเสร็จแล้ว จึงจะนำร่างไอลอว์ เข้าพิจารณาต่อ มีการหารือว่า การพิจารณาวันที่ 17 พ.ย. วันเดียวจะพอหรือไม่ เพราะการลงมติต้องใช้เวลา 4 ชม. ถ้าไม่ทันจะพิจารณาต่อในวันที่18 พ.ย.
นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การประชุมรัฐสภา พิจารณาในวาระ 2-3 จะใช้เวลากี่วัน 30 วัน หรือ 45 วัน ซึ่งจะต้องไปคุยในรายละเอียด ส่วนการโหวต ตอนนี้ มี 7 ฉบับ เวลาอาจจะต้องเพิ่มขึ้น ฉะนั้นทุกอย่างน่าจะจบใน วันที่ 17 พ.ย. แต่ถ้าไม่จบ ก็ต้องต่อในวันที่ 18 พ.ย.
ฝ่ายค้านตั้งแง่ ร่วมวง กก.สมานฉันท์
นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า ฝ่ายค้านจะเข้าร่วม กก.สมานฉันท์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการหารือในสเตปแรก ที่เชิญทุกฝ่ายมาหารือกัน ถ้าทุกฝ่ายยอมรับการมีกก.สมานฉันท์ ก็จะไปสู่สเตปที่สอง คือ โครงสร้างคณะกก. ดังนั้น ถ้าในสเตปแรกทุกฝ่ายยอมรับกัน พร้อมให้มีคณะกรรมการชุดนี้ ฝ่ายค้านก็พร้อมเข้าร่วมด้วย แต่ถ้าทุกฝ่ายไม่ยอมรับ โดยเฉพาะความเห็นจากฝ่ายผู้ชุมนุม ถ้าไม่ยอมรับคณะกก.สมานฉันท์ ฝ่ายค้านก็คงจะไม่เข้าร่วมด้วย เพราะการแก้ปัญหาครั้งนี้ ต้องเอาผู้ชุมนุมและประชาชนเป็นตัวตั้ง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การหารือสเตปแรก น่าจะเกิดขึ้นไม่น่าจะเกินสัปดาห์หน้า คงเป็นการหารือไม่กี่คน น่าจะมีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. ผู้ชุมนุม นักวิชาการ และสถาบันพระปกเกล้า ส่วนรูปแบบคณะกรรมการสมานฉันท์นั้น ยังไม่ได้คิด ต้องดูในสเตปแรกที่จะประชุมโต๊ะกลม เพื่อนำตุ๊กตาของสถาบันพระปกเกล้า มาพิจารณาในรูปแบบที่1 และ 2 หรืออาจสร้างรูปแบบที่สามขึ้นมาเอง ก็รอฟังก่อน
นายกฯยันรับฟังความเห็นทุกฝ่าย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงภายหลังประชุมครม.สัญจรและการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันว่า รัฐบาลมีแผนในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปแล้ว ซึ่งวันนี้ก็มีผลงานปรากฎเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังสร้างการรับรู้ได้ไม่มากนัก แต่ตนได้ปรับวิธีการนำเสนอใหม่ว่า ในแต่ละยุทธศาสตร์ชาตินั้นได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง มีอะไรที่ปรากฎเป็นผลสำเร็จบ้าง อะไรที่ทำอยู่และมีแผนที่จะดำเนินการต่อไป และขอพวกเราช่วยกันทำบ้านเมืองให้สงบ เพื่อบริหารงานต่างๆได้
เราต้องฟังความเห็นของทุกคน ทุกพวก ทุกฝ่าย แต่รัฐบาลก็จำเป็นต้องใช้กลไกในการบริหารปกติของรัฐบาล กลไกของรัฐสภาในการแก้ปัญหา นั่นคือสิ่งที่ทุกรัฐบาลจำเป็นต้องยึดมั่น และอาศัยกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก้าวล่วงซึ่งกันและกันมิได้ ก็ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนในประเทศนี้ด้วย
"ขอขอบคุณในการต้อนรับของประชาชนภาคใต้ โดยเฉพาะสมุยและภูเก็ต ที่ถือเป็นตัวแทนของประชาชนในภาคใต้ ซึ่งผมเห็นถึงความรัก ความสามัคคี ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ได้แสดงออกมา ผมก็ตื้นตันกับประชาชนของเรา แม้กระทั่งในกรุงเทพฯ ทุกคนก็ได้แสดงถึงเจตนา ปรารถนาอันบริสุทธิ์ ที่จะทำให้ประเทศชาตินั้นมีความปลอดภัย แล้วทุกอย่างมันก็จะดีขึ้นเองนั่นแหล่ะ ทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นด้วยความสงบเรียบร้อย เริ่มต้นด้วยสิ่งที่มันถูกต้อง มีวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์ มีประเพณี สิ่งเหล่านี้มันจะทำให้ประเทศชาติเราเข้มแข็ง ต่อไปในอนาคต ก็ขอฝากทุกคนไว้ด้วย" นายกฯกล่าว