ผู้จัดการรายวัน360-“พลังงาน”เร่งสรุปโรงไฟฟ้าชุมชน สั่งการ กกพ. เคลียร์ทาง เปิดช่องให้ SPP Hybrid Firm ที่ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไม่ทันกำหนด 100 เมกะวัตต์ โยกมาเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนแทน ด้าน พพ. วางเกณฑ์ใหม่ กำหนดเป้าหมายเบื้องต้น 150 เมกะวัตต์ เปิดแข่งขันราคาขายไฟ ชง กพช.เคาะเดือนต.ค.นี้ รับซื้อภายในสิ้นปี ด้านวิสาหกิจชุมชนแนะเปิดแข่งขันรายประเภท
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา ได้เร่งรัดให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปพิจารณายกเลิกสัญญากับผู้ประกอบการโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm ปี 2560 ที่ไม่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าได้ทันวันที่ 13 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา โดยคาดว่ามีประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งโควตาดังกล่าวจะสามารถนำมาจัดทำโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแทน เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้ทันที โดย กกพ. จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค.2563 และนำกลับมารายงาน กบง. อีกครั้ง
“SPP Hybrid Firm เดิม มี 17 ราย กำลังผลิตติดตั้งรวม 434 เมกะวัตต์ แต่มีปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 300 เมกะวัตต์ ซึ่งมีการลงนาม PPA ตามกรอบเวลาแค่ 3 ราย ส่วน 14 ราย ยังไม่มีการลงนามประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้อยู่ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2018) เมื่อเอามาทำโรงไฟฟ้าชุมชน ก็จะทำให้เดินหน้าได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้พีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงที่มีการบรรจุโรงไฟฟ้าชุมชนไว้ และขณะนี้ยังไม่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่ง กกพ. เอง ก็ต้องไปดูกฎหมายว่ากรณียกเลิกสัญญากับผู้ประกอบการที่ลงนาม PPA ไม่ทันตามกรอบเวลา 13 ธ.ค.2562 จะถูกฟ้องร้องหรือไม่ด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์โรงไฟฟ้าชุมชนใหม่ ได้กำหนดให้เปิดการแข่งขันราคาในการขายไฟ (Competitive Bidding) ซึ่งจะแตกต่างไปจากร่างประกาศรับซื้อไฟฟ้าเดิม ที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นรูปแบบประมูล ดังนั้น ต้องจัดทำประกาศใหม่
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์และรูปแบบการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดเป้าหมายการรับซื้อไว้ที่ 150 เมกะวัตต์ (MW) แยกเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) 75 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน(Biogas) 75 เมกะวัตต์ โดยให้มีปริมาณการขายไฟฟ้าไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ต่อโรง ใช้วิธีคัดเลือกด้วยการเปิดให้แข่งขันราคาในการขายไฟ (Competitive Bidding) คาดว่าจะนำเสนอเกณฑ์ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในเดือนต.ค.นี้ และเปิดรับซื้อในสิ้นปี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องทำเกษตรพันธสัญญา (Contract farming) กับเกษตรกร โดยไม่กำหนดว่าต้องร่วมกับวิสาหกิจชุมชน 200 ครัวเรือนขึ้นไป โดยต้องรับซื้อเชื้อเพลิงจากสัญญา Contract farming ในสัดส่วน 80% และอีก 20% ให้โรงไฟฟ้าจัดหาได้เอง ส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะแบ่งผลกำไร 10% ให้ชุมชนหรือไม่ สำหรับโครงการที่ยื่นเสนอขายไฟฟ้า จะต้องเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เชื้อเพลิงจากการปลูกใหม่เท่านั้น เช่น ไม้โตเร็ว ไผ่ ห้ามนำวัสดุเหลือใช้จาการเกษตรมาใช้ พร้อมกันนี้ ได้ยกเลิกหลักเกณฑ์เดิมที่กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอขายไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ ต้องไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาผูกพันกับภาครัฐ , ไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าครบอายุไปแล้ว , ไม่เป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกในรูปแบบ SPP Hybrid Firm และไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างฟ้องร้อง เป็นต้น
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) กล่าวว่า แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าควรจะแยกประการแข่งขันตามประเภทของโรงไฟฟ้า Biomass , Biogas และเชื้อเพลิง เช่น ไม้โตเร็ว , หญ้าเนเปียร์ และอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้การแข่งขันอยู่บนพื้นฐานที่เป็นธรรม
“พพ. ควรศึกษาสำหรับตัวเลขค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท เพื่อกำหนดราคาที่จะใช้ในการเริ่มต้นที่ชัดเจนสำหรับ Biomass และ Biogas ไว้ เพื่อที่จะสามารถคัดเลือกจากราคาเสนอต่ำสุด และเป็นโครงการที่จะเกิดได้จริง เพราะหากกรณีเสนอต่ำเกินจริง ก็จะได้รู้ว่าเป็นไปได้ยาก และหากเสนอราคาเท่ากัน ก็ให้ใช้วิธีจับฉลากคัดเลือก”ม.ร.ว.วรากรกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา ได้เร่งรัดให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปพิจารณายกเลิกสัญญากับผู้ประกอบการโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm ปี 2560 ที่ไม่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าได้ทันวันที่ 13 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา โดยคาดว่ามีประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งโควตาดังกล่าวจะสามารถนำมาจัดทำโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแทน เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้ทันที โดย กกพ. จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในสิ้นเดือนต.ค.2563 และนำกลับมารายงาน กบง. อีกครั้ง
“SPP Hybrid Firm เดิม มี 17 ราย กำลังผลิตติดตั้งรวม 434 เมกะวัตต์ แต่มีปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 300 เมกะวัตต์ ซึ่งมีการลงนาม PPA ตามกรอบเวลาแค่ 3 ราย ส่วน 14 ราย ยังไม่มีการลงนามประมาณ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการนี้อยู่ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2018) เมื่อเอามาทำโรงไฟฟ้าชุมชน ก็จะทำให้เดินหน้าได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้พีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงที่มีการบรรจุโรงไฟฟ้าชุมชนไว้ และขณะนี้ยังไม่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่ง กกพ. เอง ก็ต้องไปดูกฎหมายว่ากรณียกเลิกสัญญากับผู้ประกอบการที่ลงนาม PPA ไม่ทันตามกรอบเวลา 13 ธ.ค.2562 จะถูกฟ้องร้องหรือไม่ด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์โรงไฟฟ้าชุมชนใหม่ ได้กำหนดให้เปิดการแข่งขันราคาในการขายไฟ (Competitive Bidding) ซึ่งจะแตกต่างไปจากร่างประกาศรับซื้อไฟฟ้าเดิม ที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นรูปแบบประมูล ดังนั้น ต้องจัดทำประกาศใหม่
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์และรูปแบบการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดเป้าหมายการรับซื้อไว้ที่ 150 เมกะวัตต์ (MW) แยกเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) 75 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน(Biogas) 75 เมกะวัตต์ โดยให้มีปริมาณการขายไฟฟ้าไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ต่อโรง ใช้วิธีคัดเลือกด้วยการเปิดให้แข่งขันราคาในการขายไฟ (Competitive Bidding) คาดว่าจะนำเสนอเกณฑ์ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในเดือนต.ค.นี้ และเปิดรับซื้อในสิ้นปี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องทำเกษตรพันธสัญญา (Contract farming) กับเกษตรกร โดยไม่กำหนดว่าต้องร่วมกับวิสาหกิจชุมชน 200 ครัวเรือนขึ้นไป โดยต้องรับซื้อเชื้อเพลิงจากสัญญา Contract farming ในสัดส่วน 80% และอีก 20% ให้โรงไฟฟ้าจัดหาได้เอง ส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะแบ่งผลกำไร 10% ให้ชุมชนหรือไม่ สำหรับโครงการที่ยื่นเสนอขายไฟฟ้า จะต้องเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เชื้อเพลิงจากการปลูกใหม่เท่านั้น เช่น ไม้โตเร็ว ไผ่ ห้ามนำวัสดุเหลือใช้จาการเกษตรมาใช้ พร้อมกันนี้ ได้ยกเลิกหลักเกณฑ์เดิมที่กำหนดคุณสมบัติผู้เสนอขายไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ ต้องไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาผูกพันกับภาครัฐ , ไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าครบอายุไปแล้ว , ไม่เป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกในรูปแบบ SPP Hybrid Firm และไม่เป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างฟ้องร้อง เป็นต้น
ม.ร.ว.วรากร วรวรรณ ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มรักษ์ช้างรักษาป่าตะวันออก (ปม.) กล่าวว่า แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าควรจะแยกประการแข่งขันตามประเภทของโรงไฟฟ้า Biomass , Biogas และเชื้อเพลิง เช่น ไม้โตเร็ว , หญ้าเนเปียร์ และอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้การแข่งขันอยู่บนพื้นฐานที่เป็นธรรม
“พพ. ควรศึกษาสำหรับตัวเลขค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท เพื่อกำหนดราคาที่จะใช้ในการเริ่มต้นที่ชัดเจนสำหรับ Biomass และ Biogas ไว้ เพื่อที่จะสามารถคัดเลือกจากราคาเสนอต่ำสุด และเป็นโครงการที่จะเกิดได้จริง เพราะหากกรณีเสนอต่ำเกินจริง ก็จะได้รู้ว่าเป็นไปได้ยาก และหากเสนอราคาเท่ากัน ก็ให้ใช้วิธีจับฉลากคัดเลือก”ม.ร.ว.วรากรกล่าว