ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. ปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน หลังคนห่วงเศรษฐกิจ-ม็อบ-ผลกระทบโควิด ส่วนเทศกาลกินเจปีนี้ คาดสุดกร่อยเงินสะพัดแค่ 4.6 หมื่นล้าน โตต่ำสุดในรอบ 13 ปี
วานนี้ (8 ต.ค.) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนก.ย.63 ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 51.0 เป็น 50.2 นับตั้งแต่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองไทย หลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนก.ย.63 และการลาออกของรมว.คลัง ขณะเดียวกัน ยังกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการว่างงานที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 42.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 48.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 59.4 ปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต
สำหรับผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 17-25 ต.ค.63 พบว่า เทศกาลกินเจปีนี้ บรรยากาศจะไม่คึกคักมากนัก เพราะมีคนกินเจเพียงแค่ 39% น้อยกว่าคนไม่กินเจที่มีมากถึง 61% ทำให้เม็ดเงินใช้จ่ายตลอดเทศกาลอยู่ที่ 46,967 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านที่มียอดใช้จ่าย 46,549 ล้านบาท ถือเป็นอัตราเติบโตต่ำสุดรอบ13 ปี โดยประชาชนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 11,400 บาท
สาเหตุที่ทำให้เทศกาลกินเจปีนี้เงียบเหงา เนื่องจากคนส่วนใหญ่ประสบปัญหาหนี้สิน หลังเศรษฐกิจชะลอตัวจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของไทยตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ตกต่ำ และยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่มีการชุมนุม จนกระทบต่อการท่องเที่ยว กินเจ หรือจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งบางคนยังกลัวว่าจะตกงานตามภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาอาหารเจสูงขึ้น ทำให้คนไม่อยากกิน
สำหรับแนวโน้มราคาอาหารเจและวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีราคาแพงขึ้น 58% ราคาเท่าเดิม 41% และราคาลดลงเพียง 1% ซึ่งเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น พ่อค้าแม่ค้าปรับราคาขึ้น รองลงมาเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ค่าแรงที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ส่วนคนที่สนใจเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปีนี้จะมีเหลือเพียง 4.4% เท่านั้น เดินทางไปเฉลี่ย 1-3 วัน ส่วนคนที่ไม่เดินทางจะมีถึง 95.6%
วานนี้ (8 ต.ค.) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนก.ย.63 ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 51.0 เป็น 50.2 นับตั้งแต่รัฐบาลได้คลายล็อกดาวน์ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองไทย หลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนก.ย.63 และการลาออกของรมว.คลัง ขณะเดียวกัน ยังกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการว่างงานที่เกิดจากผลกระทบโควิด-19
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 42.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 48.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 59.4 ปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต
สำหรับผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจ ระหว่างวันที่ 17-25 ต.ค.63 พบว่า เทศกาลกินเจปีนี้ บรรยากาศจะไม่คึกคักมากนัก เพราะมีคนกินเจเพียงแค่ 39% น้อยกว่าคนไม่กินเจที่มีมากถึง 61% ทำให้เม็ดเงินใช้จ่ายตลอดเทศกาลอยู่ที่ 46,967 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านที่มียอดใช้จ่าย 46,549 ล้านบาท ถือเป็นอัตราเติบโตต่ำสุดรอบ13 ปี โดยประชาชนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 11,400 บาท
สาเหตุที่ทำให้เทศกาลกินเจปีนี้เงียบเหงา เนื่องจากคนส่วนใหญ่ประสบปัญหาหนี้สิน หลังเศรษฐกิจชะลอตัวจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของไทยตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา ตกต่ำ และยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่มีการชุมนุม จนกระทบต่อการท่องเที่ยว กินเจ หรือจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งบางคนยังกลัวว่าจะตกงานตามภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาอาหารเจสูงขึ้น ทำให้คนไม่อยากกิน
สำหรับแนวโน้มราคาอาหารเจและวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีราคาแพงขึ้น 58% ราคาเท่าเดิม 41% และราคาลดลงเพียง 1% ซึ่งเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น พ่อค้าแม่ค้าปรับราคาขึ้น รองลงมาเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ค่าแรงที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ส่วนคนที่สนใจเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปีนี้จะมีเหลือเพียง 4.4% เท่านั้น เดินทางไปเฉลี่ย 1-3 วัน ส่วนคนที่ไม่เดินทางจะมีถึง 95.6%