ผู้จัดการรายวัน 360 - ปฏิรูปครั้งใหญ่! ครม.เห็นชอบ สตช. แก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 'บิ๊กตู่' มั่นใจจะทำให้ประชาชนยอมรับมากขึ้น ขณะที่ตำรวจส่งสำนวนสอบเพิ่มคดี "บอส กระทิงแดง" ให้อัยการครบถ้วนแล้ว
วานนี้ (15 ก.ย.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และมีประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจและการพิจารณาบำเหน็จความชอบมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรมซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยมี สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ สรุปได้ดังนี้
ร่าง พ.ร.บ. ที่ ตช. เสนอ เป็นการปรับปรุง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยเป็นการดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของ รธน. และแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีการแก้ไขในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ 1. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ มีการแบ่งสายงานเพื่อให้ข้าราชการ ตำรวจในแต่ละสายงานให้สามารถเจริญเติบโตตามสายงาน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มสายงาน คือ กลุ่มสายงานบริหาร กลุ่มสายงานอำนวยการและสนับสนุน กลุ่มสายงานสอบสวน กลุ่มสายงานป้องกันและปราบปราม แล กลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะ (ซึ่งเดิมไม่มีการกำหนด)
ทั้งนี้ ให้กำหนดกระบวนการในการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งให้ชัดเจน โดยคำนึงถึง “อาวุโส” ความรู้ความสามารถ และความพึงพอใจในบริการที่ประชาชนได้รับ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการแต่งตั้ง และการเลื่อนตำแหน่งของสายงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะ (จากเดิมไม่มีการกำหนด)
2.ปรับปรุงระบบ คกก. ยกเลิก คกก. เดิม คือ คกก.นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) โดยให้มีเพียง “คกก. ข้าราชการตำรวจ” (ก.ตร.) ทำหน้าที่ทั้งกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแล ตช. กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจ ให้มี คกก.พิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ รวมทั้งการกำหนดระบบคุณธรรมเพื่อเป็นที่พึ่งของข้าราชการตำรวจในการปลดเปลื้องทุกข์ของข้าราชการต้ำรวจที่เกิดจากผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
3.การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใน ตช. ใหม่ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ระดับกองบังคับการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรจังหวัด และสถานีตำรวจ (จากเดิม แบ่งเป็น สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการ) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนและใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เป็นต้น จัดตั้ง “กองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางอาญา” เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
“ถือเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของวงการตำรวจ ส่วน การปฏิรูปกฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือการปฏิรูปการสอบสวนคดีอาญานั้นยังไม่เข้าคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นการแก้ไขในส่วนของคดีอาญา” รองโฆษกรัฐบาลกล่าว
รายงานแจ้งเพิ่มเติมว่า ในระหว่างการการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ระบุตอนหนึ่งว่า ดี จะทำให้ประชาชนยอมรับตำรวจมากยิ่งขึ้น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการอธิบายเรื่องดังกล่าว ยังให้นำคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส มาเป็นหลักในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วย
ตำรวจส่งสำนวนสอบเพิ่มคดี"บอส"ให้อัยการ
พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผู้กำกับการ สน.ทองหล่อ เปิดเผยความคืบหน้าคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ว่า ขณะนี้ได้ส่งสำนวนประเด็นที่อัยการสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการขับรถเร็วและเสพสารเสพติดประเภทโคเคน ให้อัยการครบถ้วนสมบูรณ์เรียบร้อย ซึ่งหากอัยการมีคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมก็พร้อมดำเนินการ
นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้อัยการอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง หากมีความชัดเจน จะแถลงข่าวกับสื่อมวลชนต่อไป
วานนี้ (15 ก.ย.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และมีประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจและการพิจารณาบำเหน็จความชอบมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรมซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยมี สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ สรุปได้ดังนี้
ร่าง พ.ร.บ. ที่ ตช. เสนอ เป็นการปรับปรุง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 โดยเป็นการดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของ รธน. และแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีการแก้ไขในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ 1. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ มีการแบ่งสายงานเพื่อให้ข้าราชการ ตำรวจในแต่ละสายงานให้สามารถเจริญเติบโตตามสายงาน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มสายงาน คือ กลุ่มสายงานบริหาร กลุ่มสายงานอำนวยการและสนับสนุน กลุ่มสายงานสอบสวน กลุ่มสายงานป้องกันและปราบปราม แล กลุ่มสายงานวิชาชีพเฉพาะ (ซึ่งเดิมไม่มีการกำหนด)
ทั้งนี้ ให้กำหนดกระบวนการในการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งให้ชัดเจน โดยคำนึงถึง “อาวุโส” ความรู้ความสามารถ และความพึงพอใจในบริการที่ประชาชนได้รับ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการแต่งตั้ง และการเลื่อนตำแหน่งของสายงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะ (จากเดิมไม่มีการกำหนด)
2.ปรับปรุงระบบ คกก. ยกเลิก คกก. เดิม คือ คกก.นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) โดยให้มีเพียง “คกก. ข้าราชการตำรวจ” (ก.ตร.) ทำหน้าที่ทั้งกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแล ตช. กำหนดนโยบายและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจและจัดระบบราชการตำรวจ ให้มี คกก.พิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ รวมทั้งการกำหนดระบบคุณธรรมเพื่อเป็นที่พึ่งของข้าราชการตำรวจในการปลดเปลื้องทุกข์ของข้าราชการต้ำรวจที่เกิดจากผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
3.การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใน ตช. ใหม่ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ระดับกองบังคับการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรจังหวัด และสถานีตำรวจ (จากเดิม แบ่งเป็น สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการ) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชนและใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เป็นต้น จัดตั้ง “กองทุนเพื่อการสืบสวน สอบสวน การป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางอาญา” เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
“ถือเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของวงการตำรวจ ส่วน การปฏิรูปกฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือการปฏิรูปการสอบสวนคดีอาญานั้นยังไม่เข้าคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นการแก้ไขในส่วนของคดีอาญา” รองโฆษกรัฐบาลกล่าว
รายงานแจ้งเพิ่มเติมว่า ในระหว่างการการประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ระบุตอนหนึ่งว่า ดี จะทำให้ประชาชนยอมรับตำรวจมากยิ่งขึ้น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการอธิบายเรื่องดังกล่าว ยังให้นำคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส มาเป็นหลักในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ด้วย
ตำรวจส่งสำนวนสอบเพิ่มคดี"บอส"ให้อัยการ
พ.ต.อ.สัมพันธ์ เหลืองสัจจกุล ผู้กำกับการ สน.ทองหล่อ เปิดเผยความคืบหน้าคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ว่า ขณะนี้ได้ส่งสำนวนประเด็นที่อัยการสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการขับรถเร็วและเสพสารเสพติดประเภทโคเคน ให้อัยการครบถ้วนสมบูรณ์เรียบร้อย ซึ่งหากอัยการมีคำสั่งสอบสวนเพิ่มเติมก็พร้อมดำเนินการ
นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงานตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้อัยการอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง หากมีความชัดเจน จะแถลงข่าวกับสื่อมวลชนต่อไป