“วิษณุ” เผยคดี “บอส อยู่วิทยา” เท่ากับนับหนึ่งใหม่ ลุ้นรายงานชุด “วิชา” คาดมีชงดำเนินคดี “ตร.-อัยการ”ชี้แจ้งอินเตอร์โพลล่า "บอส" ส่งไทยได้เลย "สิระ" ยัน กมธ.ยุติสอบ ลั่นไม่มวยล้ม สับ "ธนสิทธิ" มีพิรุธให้การกลับไปกลับมา
วานนี้ (27 ส.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ประสาตำรวจสากล (อินเตอร์โพล) ให้ติดตามจับกุม นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ผู้ต้องหาขับรถชนตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 และหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ว่า ไม่ทราบว่าตำรวจส่งไปขอหรือไม่ ทราบเพียงว่ามีการตั้งข้อหาใหม่ 3 ข้อหา ซึ่งเมื่อตั้งข้อหาใหม่แล้ว ทางกระบวนการต่างๆของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ต้องหยุดพิจารณาทันที เพราะถือว่าคดีไปอยู่ในอำนาจศาลแล้ว ดังนั้นจึงสามารถออกหมายจับ และแจ้งไปที่อินเตอร์โพลได้ หากต้องการตัวนายวรยุทธ และเชื่อว่าอยู่ต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้เท่ากับเป็นการเริ่มต้นคดีใหม่ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ใช่”
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดทำรายงานฉบับใหญ่ ของคณะกรรมการฯ ชุด นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน จะมีการส่งรายงานให้นายกฯในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ส่งตามรอบ 10 วัน มา 2 ครั้งแล้ว และเมื่อส่งแล้วก็อยู่ที่นายกฯ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่ากรรมการชุดของนายวิชาได้เสนอแนะอะไรมาบ้าง ส่วนที่นายวิชา ได้ขอขยายเวลาอีก 30 วัน เพื่อทำในเรื่องของการปฏิรูปนั้น ไม่เกี่ยวกับคดี เพราะคดีถือว่าจบลงแล้ว แต่สิ่งที่นายวิชาและคณะกรรมการ จะทำต่อไป จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูปว่า เรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนจะต้องไปแก้อะไร ตรงไหน จึงได้ขอเวลาทำต่อ และเมื่อทำเสร็จแล้ว ก็จะเสนอต่อนายกฯ เช่นเดิม
“ข้อเสนออาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ข้อเสนอแนะในเชิงคดีที่เกี่ยวกับตำรวจและอัยการ หรือบุคคลอื่น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การดำเนินคดี หรือนำไปสู่การทำคดีใหม่ ก็แล้วแต่ว่าเขาเสนออะไร ส่วนอีกส่วนคือข้อเสนอในเชิงปฏิรูป ซึ่งตอนนี้มีการเสนอจากที่อื่นมาส่วนหนึ่งแล้ว ก็จะนำมาผสมกัน ที่อาจต้องไปแก้ไขปรับปรุงกฎหมายนั้นๆ” นายวิษณุ ระบุ
ด้าน นายสิระ เจนจาคะ ประธาน กมธ.กฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กมธ.ได้ยุติการสอบ กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีนายวรยุทธแล้วนั้น ไม่ใช่มวยล้มต้มคนดู แต่จากการเชิญบุคคลมาสอบจำนวนมาก จนไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่า เรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง โดยเฉพาะ พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ที่พลิกความเร็วรถในคดีนี้ที่พูดกลับไปกลับมา แต่ยืนยันว่าการตรวจสอบเรื่องนี้ของ กมธ.มีประโยชน์ ทำให้ได้พบตัวละครที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. และอีกหลายๆเรื่อง ที่เป็นจุดหักเหของคดี รวมถึงปัญหาในชั้นการสอบสวน ซึ่งเป็นเหตุทำให้อัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้
“เรื่องที่เกิดขึ้น เป็นขบวนการทำให้กระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.อ.ธนสิทธิ อ้างว่าจำวันสอบปากคำผิด หลัง พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.59 อาจเป็นไปได้ เพราะคดีผ่านมาแล้วหลายปี แต่คดีนี้มีหลักฐานยืนยันว่า มีการสอบปากคำในสำนวน ในวันที่ 26 ก.พ.59 จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นความพยายามวางแผนให้เกิดความสับสนในคดีหรือไม่ เพื่อให้หลุดคดีในชั้นศาลหรือไม่” นายสิระ กล่าว
วันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะรองประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำสำนวนคดีนายวรยุทธ เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบฯเสร็จสิ้นแล้วจึงได้รายงาน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ในเบื้องต้นใน 2 ประการ ประการแรก ได้พบพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาได้ เป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญด้านความเร็ว และพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่ามีการเสพยาเสพติด แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินคดีแต่อย่างใด จึงเสนอ ผบ.ตร.ให้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวรวมทั้งพยานหลักฐานใหม่ไปยังอัยการสูงสุด และพบข้อเท็จจริงอันสำคัญในคดีที่สามารถนำไปสู่การลงโทษผู้ต้องหาได้ ในข้อหาขับขี่รถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยานหลักฐานในเรื่องการเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 โดยมีข้อเสนอให้ บช.น.ดำเนินคดีต่อนายวรยุทธ พร้อมทั้งให้นำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วย
“ประการที่ 2 คณะกรรมการฯ ได้เสนอข้อบกพร่องของตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการทำสำนวนคดีเดิม จำนวน 11 นาย และพบข้อบกพร่องใหม่ จำนวน 10 นาย แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครบ้าง มีทั้งเกษียณและยังไม่เกษียณ มีอดีต ผบช.น.รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นในเรื่องไม่ควบคุมสั่งการ” พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวต่อว่า วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อขอถอนหมายจับเดิม และขอออกหมายจับนายวรยุทธใหม่ใน 3 ข้อกล่าวหา สำหรับขั้นตอนต่อไปภายหลังศาลอนุมัติออกหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบ ตร.ที่เกี่ยวข้อง และไม้เกี่ยวข้องกับคดี พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ก็มีจะมีการแจ้งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อออกประกาศสืบจับ และมีหนังสือไปยังกองการต่างประเทศ เพื่อประสานไปยังองค์กรตำรวจสากล ในการติดตามตัวนายวรยุทธ และส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งตรงนี้เป็นตามระเบียบปฏิบัติโดยปกติอยู่แล้ว
“ในส่วนความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อนายวรยุทธ ขณะนี้พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ได้สอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญด้านความเร็ว จำนวน 10 ปาก โดยคำนวณความเร็วได้ตั้งแต่ 125 กม./ชม., 144 กม./ชม. และก็ 177 กม./ชม. ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด แม้จะมีความแตกต่างในการคำนวณก็ตามและพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 4 ปาก ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าพนักงานสอบสวนจะสรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการได้ภายในสัปดาห์หน้า”
ด้าน พล.ต.ต.วรวัฒน์ วรวัฒน์ อมรวิวัฒน์ ผู้บังคับการกองการต่างประเทศ (ผบก.ตท.) กล่าวว่า ในส่วนของ ตท.วันนี้ได้รับหนังสือจาก สน.ทองหล่อ แจ้งให้ทราบว่ามีการออกหมายจับนายวรยุทธ 3 ข้อหา จึงได้ประสานมายัง ตท.เพื่อดำเนินการในส่วนการประกาศสืบจับ ทั้งนี้ทาง ตท.เป็นฝ่ายอำนวยการด้านนิติต่างประเทศ สตช. เมื่อมีกรณีที่ผู้ต้องหากระทำความผิดทางคดีอาญาเกิดขึ้นและหลบหนีไปต่างประเทศ โดยไม่แน่ชัดว่าหลบหนีไปประเทศใด แนวทางการสืบหาเพื่อนำตัวบุคคลดังกล่าวกลับมาดำเนินคดีเพื่อให้ศาลลงโทษจะมีขั้นตอนในการทำหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการประสานงานกับกระทรวงต่างประเทศ และขั้นตอนตำรวจสากล ทั้งนี้ ตท.จะประสานงานกับ สน.ทองหล่ออย่างใกล้ชิด เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง แล้วพนักงานอัยการได้สั่งฟ้องผู้ต้องหารายนี้แล้ว ตท.จะทำคำร้องไปยังสำนักงานตำรวจสากล เพื่อออกหมายแดงประกาศสืบจับนายวรยุทธต่อไป
วานนี้ (27 ส.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ประสาตำรวจสากล (อินเตอร์โพล) ให้ติดตามจับกุม นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ผู้ต้องหาขับรถชนตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 และหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ว่า ไม่ทราบว่าตำรวจส่งไปขอหรือไม่ ทราบเพียงว่ามีการตั้งข้อหาใหม่ 3 ข้อหา ซึ่งเมื่อตั้งข้อหาใหม่แล้ว ทางกระบวนการต่างๆของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ต้องหยุดพิจารณาทันที เพราะถือว่าคดีไปอยู่ในอำนาจศาลแล้ว ดังนั้นจึงสามารถออกหมายจับ และแจ้งไปที่อินเตอร์โพลได้ หากต้องการตัวนายวรยุทธ และเชื่อว่าอยู่ต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้เท่ากับเป็นการเริ่มต้นคดีใหม่ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า “ใช่”
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดทำรายงานฉบับใหญ่ ของคณะกรรมการฯ ชุด นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน จะมีการส่งรายงานให้นายกฯในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ส่งตามรอบ 10 วัน มา 2 ครั้งแล้ว และเมื่อส่งแล้วก็อยู่ที่นายกฯ ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่ากรรมการชุดของนายวิชาได้เสนอแนะอะไรมาบ้าง ส่วนที่นายวิชา ได้ขอขยายเวลาอีก 30 วัน เพื่อทำในเรื่องของการปฏิรูปนั้น ไม่เกี่ยวกับคดี เพราะคดีถือว่าจบลงแล้ว แต่สิ่งที่นายวิชาและคณะกรรมการ จะทำต่อไป จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูปว่า เรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนจะต้องไปแก้อะไร ตรงไหน จึงได้ขอเวลาทำต่อ และเมื่อทำเสร็จแล้ว ก็จะเสนอต่อนายกฯ เช่นเดิม
“ข้อเสนออาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ข้อเสนอแนะในเชิงคดีที่เกี่ยวกับตำรวจและอัยการ หรือบุคคลอื่น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การดำเนินคดี หรือนำไปสู่การทำคดีใหม่ ก็แล้วแต่ว่าเขาเสนออะไร ส่วนอีกส่วนคือข้อเสนอในเชิงปฏิรูป ซึ่งตอนนี้มีการเสนอจากที่อื่นมาส่วนหนึ่งแล้ว ก็จะนำมาผสมกัน ที่อาจต้องไปแก้ไขปรับปรุงกฎหมายนั้นๆ” นายวิษณุ ระบุ
ด้าน นายสิระ เจนจาคะ ประธาน กมธ.กฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กมธ.ได้ยุติการสอบ กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีนายวรยุทธแล้วนั้น ไม่ใช่มวยล้มต้มคนดู แต่จากการเชิญบุคคลมาสอบจำนวนมาก จนไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่า เรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง โดยเฉพาะ พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ที่พลิกความเร็วรถในคดีนี้ที่พูดกลับไปกลับมา แต่ยืนยันว่าการตรวจสอบเรื่องนี้ของ กมธ.มีประโยชน์ ทำให้ได้พบตัวละครที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. และอีกหลายๆเรื่อง ที่เป็นจุดหักเหของคดี รวมถึงปัญหาในชั้นการสอบสวน ซึ่งเป็นเหตุทำให้อัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้
“เรื่องที่เกิดขึ้น เป็นขบวนการทำให้กระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่ พ.ต.อ.ธนสิทธิ อ้างว่าจำวันสอบปากคำผิด หลัง พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.59 อาจเป็นไปได้ เพราะคดีผ่านมาแล้วหลายปี แต่คดีนี้มีหลักฐานยืนยันว่า มีการสอบปากคำในสำนวน ในวันที่ 26 ก.พ.59 จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นความพยายามวางแผนให้เกิดความสับสนในคดีหรือไม่ เพื่อให้หลุดคดีในชั้นศาลหรือไม่” นายสิระ กล่าว
วันเดียวกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะรองประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำสำนวนคดีนายวรยุทธ เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบฯเสร็จสิ้นแล้วจึงได้รายงาน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ในเบื้องต้นใน 2 ประการ ประการแรก ได้พบพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาได้ เป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญด้านความเร็ว และพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่ามีการเสพยาเสพติด แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินคดีแต่อย่างใด จึงเสนอ ผบ.ตร.ให้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวรวมทั้งพยานหลักฐานใหม่ไปยังอัยการสูงสุด และพบข้อเท็จจริงอันสำคัญในคดีที่สามารถนำไปสู่การลงโทษผู้ต้องหาได้ ในข้อหาขับขี่รถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยานหลักฐานในเรื่องการเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 โดยมีข้อเสนอให้ บช.น.ดำเนินคดีต่อนายวรยุทธ พร้อมทั้งให้นำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วย
“ประการที่ 2 คณะกรรมการฯ ได้เสนอข้อบกพร่องของตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการทำสำนวนคดีเดิม จำนวน 11 นาย และพบข้อบกพร่องใหม่ จำนวน 10 นาย แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครบ้าง มีทั้งเกษียณและยังไม่เกษียณ มีอดีต ผบช.น.รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นในเรื่องไม่ควบคุมสั่งการ” พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าว
พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวต่อว่า วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อขอถอนหมายจับเดิม และขอออกหมายจับนายวรยุทธใหม่ใน 3 ข้อกล่าวหา สำหรับขั้นตอนต่อไปภายหลังศาลอนุมัติออกหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบ ตร.ที่เกี่ยวข้อง และไม้เกี่ยวข้องกับคดี พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ก็มีจะมีการแจ้งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อออกประกาศสืบจับ และมีหนังสือไปยังกองการต่างประเทศ เพื่อประสานไปยังองค์กรตำรวจสากล ในการติดตามตัวนายวรยุทธ และส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งตรงนี้เป็นตามระเบียบปฏิบัติโดยปกติอยู่แล้ว
“ในส่วนความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อนายวรยุทธ ขณะนี้พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ได้สอบปากคำพยานผู้เชี่ยวชาญด้านความเร็ว จำนวน 10 ปาก โดยคำนวณความเร็วได้ตั้งแต่ 125 กม./ชม., 144 กม./ชม. และก็ 177 กม./ชม. ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด แม้จะมีความแตกต่างในการคำนวณก็ตามและพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 4 ปาก ซึ่งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าพนักงานสอบสวนจะสรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการได้ภายในสัปดาห์หน้า”
ด้าน พล.ต.ต.วรวัฒน์ วรวัฒน์ อมรวิวัฒน์ ผู้บังคับการกองการต่างประเทศ (ผบก.ตท.) กล่าวว่า ในส่วนของ ตท.วันนี้ได้รับหนังสือจาก สน.ทองหล่อ แจ้งให้ทราบว่ามีการออกหมายจับนายวรยุทธ 3 ข้อหา จึงได้ประสานมายัง ตท.เพื่อดำเนินการในส่วนการประกาศสืบจับ ทั้งนี้ทาง ตท.เป็นฝ่ายอำนวยการด้านนิติต่างประเทศ สตช. เมื่อมีกรณีที่ผู้ต้องหากระทำความผิดทางคดีอาญาเกิดขึ้นและหลบหนีไปต่างประเทศ โดยไม่แน่ชัดว่าหลบหนีไปประเทศใด แนวทางการสืบหาเพื่อนำตัวบุคคลดังกล่าวกลับมาดำเนินคดีเพื่อให้ศาลลงโทษจะมีขั้นตอนในการทำหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการประสานงานกับกระทรวงต่างประเทศ และขั้นตอนตำรวจสากล ทั้งนี้ ตท.จะประสานงานกับ สน.ทองหล่ออย่างใกล้ชิด เมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง แล้วพนักงานอัยการได้สั่งฟ้องผู้ต้องหารายนี้แล้ว ตท.จะทำคำร้องไปยังสำนักงานตำรวจสากล เพื่อออกหมายแดงประกาศสืบจับนายวรยุทธต่อไป