ผู้จัดการรายวัน360- "สนพ."เตรียมหารือ "สุพัฒนพงษ์"ขับเคลื่อนมาตรการดูแลค่าครองชีพประชาชนชงต่ออายุมาตรการลดราคาLPG 45 บาทต่อถัง 15 กก.ถึงสิ้นปีจากที่จะสิ้นสุดก.ย.นี้โดยมั่นใจฐานะกองทุนฯยังบริหารได้ตามกรอบที่กำหนดติดลบไม่เกินหมื่นล้านบาท พร้อมชงNGV รถสาธารณะให้ปตท.อุ้มต่อหรือไม่ จับตาสำรองไฟพุ่ง40%จ่อทบทวนพีดีพีใหม่
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้สนพ.เตรียมหารือเพื่อขอรับทราบนโยบายจากนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับมาตรการลดค่าครองชีพโดยเฉพาะการลดราคาแอลพีจี(LPG) ภาคครัวเรือน 45 บาทต่อถัง15กิโลกรัม(กก.) มาอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง15กก.ที่จะสิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ว่าจะอุดหนุนต่อไปหรือไม่ โดยความเห็นของสนพ.นั้นสามารถขยายมาตรการดังกล่าวไปได้อีก 3 เดือนหรือสิ้นปีนี้เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนจากภาวะเศรษฐกิจชะลอจากผลกระทบไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้หากพิจารณาราคาLPG ตลาดโลกขณะนี้อยู่ระดับ 350 เหรียญสหรัฐต่อตันยอมรับว่ามีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลที่สิ้นปีความต้องการจะสูงโดยมีแนวโน้มราคาจะปรับไปสู่ระดับ 400-500 เหรียญฯต่อตันซึ่งก่อนหน้าที่จะมีมาตรการลดราคาLPGดังกล่าวราคาLPGขณะนั้นอยู่ที่ 250 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งหากราคาขยับไปตามที่ประเมินและมีการขยายมาตรการดังกล่าวถึงสิ้นปีคาดว่าจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมอีก 1,200 ล้านบาทซึ่งจะเพียงพอกับกรอบวงเงินที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.)มีมติให้ติดลบได้ 10,000 ล้านบาทตามแผน
"กองทุนน้ำมันบัญชีแอลพีจีขณะนี้ติดลบ 6,968 ล้านบาทแต่กบน.ได้ขยายเป็นติดลบได้ถึง 10,000ล้านบาทหากพิจารณาฐานกองทุนน้ำมันสุทธิล่าสุด 32,793 ล้านบาทก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร"นายวัฒนพงษ์กล่าว
นอกจากนี้ยังจะขอรับนโยบายราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ปตท.ตรึงราคาที่ 13.62 บาทต่อ กก. ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนสิงหาคมนี้ว่าจะให้บมจ.ปตท.แบกภาระดูแลต่อไปอีกหรือไม่เนื่องจากขณะนี้ปตท.เองได้แบกรับภาระต้นทุนที่แท้จริงไว้ถึง 2 บาทต่อกก.
นายวัฒนพงษ์กล่าวว่า สำหรับร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกพ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018) ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 -2580 (EEP 2018) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561 -2580 (Gas Plan 2018) ที่อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบคงต้องอยู่ที่ระดับนโยบายว่าจะดึงกลับทบทวนก่อนหรือให้ครม.เห็นชอบแล้วมาปรับปรุงใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์
สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2563 ซึ่งพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมติฐานด้านเศรษฐกิจปีนี้กรณีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจปรับตัวลดลงรุนแรง 9-10% จะส่งผลให้การใช้พลังงานของประเทศลดลง 7.9% โดยการใช้น้ำมันเบนซินลดลง 6.3% ดีเซลลดลง 4% น้ำมันเครื่องบินลดลง 43.5% แอลพีจีลด 10.9% น้ำมันเตาลด 10% และการใช้ไฟฟ้าลดลง 3%
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้สนพ.เตรียมหารือเพื่อขอรับทราบนโยบายจากนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับมาตรการลดค่าครองชีพโดยเฉพาะการลดราคาแอลพีจี(LPG) ภาคครัวเรือน 45 บาทต่อถัง15กิโลกรัม(กก.) มาอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง15กก.ที่จะสิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ว่าจะอุดหนุนต่อไปหรือไม่ โดยความเห็นของสนพ.นั้นสามารถขยายมาตรการดังกล่าวไปได้อีก 3 เดือนหรือสิ้นปีนี้เพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนจากภาวะเศรษฐกิจชะลอจากผลกระทบไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้หากพิจารณาราคาLPG ตลาดโลกขณะนี้อยู่ระดับ 350 เหรียญสหรัฐต่อตันยอมรับว่ามีทิศทางที่จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลที่สิ้นปีความต้องการจะสูงโดยมีแนวโน้มราคาจะปรับไปสู่ระดับ 400-500 เหรียญฯต่อตันซึ่งก่อนหน้าที่จะมีมาตรการลดราคาLPGดังกล่าวราคาLPGขณะนั้นอยู่ที่ 250 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งหากราคาขยับไปตามที่ประเมินและมีการขยายมาตรการดังกล่าวถึงสิ้นปีคาดว่าจะใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมอีก 1,200 ล้านบาทซึ่งจะเพียงพอกับกรอบวงเงินที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.)มีมติให้ติดลบได้ 10,000 ล้านบาทตามแผน
"กองทุนน้ำมันบัญชีแอลพีจีขณะนี้ติดลบ 6,968 ล้านบาทแต่กบน.ได้ขยายเป็นติดลบได้ถึง 10,000ล้านบาทหากพิจารณาฐานกองทุนน้ำมันสุทธิล่าสุด 32,793 ล้านบาทก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร"นายวัฒนพงษ์กล่าว
นอกจากนี้ยังจะขอรับนโยบายราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ปตท.ตรึงราคาที่ 13.62 บาทต่อ กก. ซึ่งจะสิ้นสุดเดือนสิงหาคมนี้ว่าจะให้บมจ.ปตท.แบกภาระดูแลต่อไปอีกหรือไม่เนื่องจากขณะนี้ปตท.เองได้แบกรับภาระต้นทุนที่แท้จริงไว้ถึง 2 บาทต่อกก.
นายวัฒนพงษ์กล่าวว่า สำหรับร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกพ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018) ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 -2580 (EEP 2018) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561 -2580 (Gas Plan 2018) ที่อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบคงต้องอยู่ที่ระดับนโยบายว่าจะดึงกลับทบทวนก่อนหรือให้ครม.เห็นชอบแล้วมาปรับปรุงใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์
สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2563 ซึ่งพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมติฐานด้านเศรษฐกิจปีนี้กรณีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจปรับตัวลดลงรุนแรง 9-10% จะส่งผลให้การใช้พลังงานของประเทศลดลง 7.9% โดยการใช้น้ำมันเบนซินลดลง 6.3% ดีเซลลดลง 4% น้ำมันเครื่องบินลดลง 43.5% แอลพีจีลด 10.9% น้ำมันเตาลด 10% และการใช้ไฟฟ้าลดลง 3%