ผู้จัดการรายวัน360-“วิษณุ”เรียกคณะกรรมการแก้ปัญหาการบินไทยประชุมติดตามความคืบหน้า ก่อนเส้นตายยื่นรายชื่อคณะทำแผนฟื้นฟูให้ศาลล้มละลายพิจารณาวันที่ 17 ส.ค.นี้ ยันไม่ดูแผนเอง ตัดครหาล้วงลูก “ชาญศิลป์”เผยเตรียมส่ง “อีวาย” พร้อมทีม 6 คน “ชัยพฤกษ์-จักรกฤศฏิ์-พีระพันธุ์-บุญทักษ์-ปิยสวัสดิ์” รวมตนเอง เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู ยันการบินไทยเป็นแบรนด์ประเทศ ปล่อยล้มไม่ได้ ต้องฟื้นฟูให้กลับมา
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ส.ค.) ได้เรียกคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มาประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มารายงานความคืบหน้าของขั้นตอนการจัดทำแผนฟื้นฟูและการแก้ไขปัญหาของการบินไทย เพราะวันที่ 17 ส.ค.2563 การบินไทยจะนำเอารายชื่อคณะผู้จัดทำแผนการฟื้นฟูฯ ให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาตามขั้นตอนหลังจากที่มีการยื่นขอล้มละลายกับศาลไปก่อนหน้านี้
“การเรียกประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีประเด็นต้องติดตามอะไรเป็นพิเศษ เป็นการเข้ามารายงานตามระยะเวลาที่ได้มีการนัดหมาย ซึ่งในสัปดาห์นี้ จะเป็นการรายงานรายชื่อผู้จัดทำแผนการฟื้นฟูที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการรายงานตามปกติ ผมไม่ได้ไปขอดูแผน เพราะถ้าไปดูก็จะเป็นการล้วงลูก”นายวิษณุกล่าว
นายวิษณุกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้พบกับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ แทนนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้สอบถามดีดีคนใหม่ด้วยว่า เมื่อการบินไทยไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว มีปัญหาอุปสรรคอะไรที่จะให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาหรือไม่ โดยครั้งก่อนเขาเสนอเข้ามาหลายเรื่อง ตนก็รวบรวมและส่งให้รัฐบาลได้ช่วยแก้ไขไปแล้ว
นายชาญศิลป์ กล่าวว่า วันที่ 17 ส.ค.2563 การบินไทยจะเสนอรายชื่อคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูการบินไทยให้กับศาลพิจารณา ได้แก่ บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด , พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานบอร์ดการบินไทย , นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค , นายบุญทักษ์ หวังเจริญ , นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และตนเองเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย
ทั้งนี้ หากศาลล้มละลายกลางเห็นด้วยกับรายชื่อดังกล่าว ก็จะมีคำสั่งรับผู้ทำแผนตามที่บริษัทเสนอ ก็จะมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะเป็นขั้นตอนที่เปิดให้เจ้าหนี้เข้ามาชี้แจงรายละเอียด และจะมีการลงรับรายชื่อเจ้าหนี้ทั้งที่บริษัทและที่กรมบังคับคดี เพื่อให้ทราบรายชื่อเจ้าหนี้และมูลหนี้ของบริษัท ซึ่งจะมีกำหนดระยะเวลามาว่าให้ยื่นถึงเมื่อไร และระยะเวลาในการทำแผนฟื้นฟูต้องแล้วเสร็จภายในเมื่อไร
“ความยากของการทำแผนฟื้นฟูฯ ก็คือ การประเมินสถานการณ์ไปข้างหน้าว่าธุรกิจจะเป็นอย่างไร รายรับ และรายจ่ายของบริษัทจะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องมองไปในอนาคต โดยขณะนี้ ยังไม่มีเจ้าหนี้รายใดมายื่นคัดค้าน แต่ก็มีบางรายที่เข้าใจผิดว่าทำไมก่อนหน้านี้ ไม่มีรายชื่อเป็นเจ้าหนี้ ตอนหลังได้มีการแจ้งไปแล้วว่ามีรายชื่อแล้ว ไม่มีปัญหา และส่วนใหญ่เจ้าหนี้ที่ได้ไปเดินสายไปพบทั้งสถาบันการเงิน เจ้าหนี้หุ้นกู้ เจ้าของที่เป็นเจ้าหนี้การเช่า ส่วนใหญ่ก็เห็นใจ เข้าใจ และเห็นด้วยกับการที่ให้เราเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู”นายชาญศิลป์กล่าว
เมื่อถามว่า มีความกังวลใจหนักใจหรือไม่กับการบริหารการบินไทยในช่วงที่ต้องมีการฟื้นฟูกิจการ นายชาญศิลป์กล่าว ว่า ขณะนี้ต้องเอาความรู้ที่มีมาช่วยการบินไทยในการบริหาร เอามาช่วยสายการบินที่มีความสำคัญระดับประ เทศ ซึ่งในขณะนี้ ทุกสายการบินมีปัญหา แต่ตนมองว่า การบินไทยยังมีจุดแข็ง ทั้งคนและทรัพยากรสำคัญที่จะฟื้นฟูให้กลับมาได้ ที่สำคัญการบินไทยเป็นแบรนด์ของประเทศ จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก จะปล่อยให้ล้มละลายไม่ได้ ต้องใช้กําลังในการฟื้นฟูให้กลับมาให้ได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (10 ส.ค.) ได้เรียกคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มาประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้มารายงานความคืบหน้าของขั้นตอนการจัดทำแผนฟื้นฟูและการแก้ไขปัญหาของการบินไทย เพราะวันที่ 17 ส.ค.2563 การบินไทยจะนำเอารายชื่อคณะผู้จัดทำแผนการฟื้นฟูฯ ให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาตามขั้นตอนหลังจากที่มีการยื่นขอล้มละลายกับศาลไปก่อนหน้านี้
“การเรียกประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีประเด็นต้องติดตามอะไรเป็นพิเศษ เป็นการเข้ามารายงานตามระยะเวลาที่ได้มีการนัดหมาย ซึ่งในสัปดาห์นี้ จะเป็นการรายงานรายชื่อผู้จัดทำแผนการฟื้นฟูที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการรายงานตามปกติ ผมไม่ได้ไปขอดูแผน เพราะถ้าไปดูก็จะเป็นการล้วงลูก”นายวิษณุกล่าว
นายวิษณุกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่ตนได้พบกับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ แทนนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้สอบถามดีดีคนใหม่ด้วยว่า เมื่อการบินไทยไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว มีปัญหาอุปสรรคอะไรที่จะให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาหรือไม่ โดยครั้งก่อนเขาเสนอเข้ามาหลายเรื่อง ตนก็รวบรวมและส่งให้รัฐบาลได้ช่วยแก้ไขไปแล้ว
นายชาญศิลป์ กล่าวว่า วันที่ 17 ส.ค.2563 การบินไทยจะเสนอรายชื่อคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูการบินไทยให้กับศาลพิจารณา ได้แก่ บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด , พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานบอร์ดการบินไทย , นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล , นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค , นายบุญทักษ์ หวังเจริญ , นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และตนเองเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย
ทั้งนี้ หากศาลล้มละลายกลางเห็นด้วยกับรายชื่อดังกล่าว ก็จะมีคำสั่งรับผู้ทำแผนตามที่บริษัทเสนอ ก็จะมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะเป็นขั้นตอนที่เปิดให้เจ้าหนี้เข้ามาชี้แจงรายละเอียด และจะมีการลงรับรายชื่อเจ้าหนี้ทั้งที่บริษัทและที่กรมบังคับคดี เพื่อให้ทราบรายชื่อเจ้าหนี้และมูลหนี้ของบริษัท ซึ่งจะมีกำหนดระยะเวลามาว่าให้ยื่นถึงเมื่อไร และระยะเวลาในการทำแผนฟื้นฟูต้องแล้วเสร็จภายในเมื่อไร
“ความยากของการทำแผนฟื้นฟูฯ ก็คือ การประเมินสถานการณ์ไปข้างหน้าว่าธุรกิจจะเป็นอย่างไร รายรับ และรายจ่ายของบริษัทจะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องมองไปในอนาคต โดยขณะนี้ ยังไม่มีเจ้าหนี้รายใดมายื่นคัดค้าน แต่ก็มีบางรายที่เข้าใจผิดว่าทำไมก่อนหน้านี้ ไม่มีรายชื่อเป็นเจ้าหนี้ ตอนหลังได้มีการแจ้งไปแล้วว่ามีรายชื่อแล้ว ไม่มีปัญหา และส่วนใหญ่เจ้าหนี้ที่ได้ไปเดินสายไปพบทั้งสถาบันการเงิน เจ้าหนี้หุ้นกู้ เจ้าของที่เป็นเจ้าหนี้การเช่า ส่วนใหญ่ก็เห็นใจ เข้าใจ และเห็นด้วยกับการที่ให้เราเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู”นายชาญศิลป์กล่าว
เมื่อถามว่า มีความกังวลใจหนักใจหรือไม่กับการบริหารการบินไทยในช่วงที่ต้องมีการฟื้นฟูกิจการ นายชาญศิลป์กล่าว ว่า ขณะนี้ต้องเอาความรู้ที่มีมาช่วยการบินไทยในการบริหาร เอามาช่วยสายการบินที่มีความสำคัญระดับประ เทศ ซึ่งในขณะนี้ ทุกสายการบินมีปัญหา แต่ตนมองว่า การบินไทยยังมีจุดแข็ง ทั้งคนและทรัพยากรสำคัญที่จะฟื้นฟูให้กลับมาได้ ที่สำคัญการบินไทยเป็นแบรนด์ของประเทศ จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก จะปล่อยให้ล้มละลายไม่ได้ ต้องใช้กําลังในการฟื้นฟูให้กลับมาให้ได้