ส.อ.ท. เผย “กกร.”เตรียมว่าจ้างทีมศึกษาวิเคราะห์ลงลึกการเข้าร่วม CPTPPของไทยให้มากขึ้น เพื่อเป็นข้อมุลประกอบให้รัฐบาลได้ตัดสินใจเดินหน้า ขอเข้าร่วมเจรจาอีกครั้งในปี 2564 หลังจากที่ไทยเข้าร่วมไม่ทันในปีนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า ภายในเดือนก.ย.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เตรียมว่าจ้างบริษัททีมที่ปรึกษามาวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของไทยต่อการเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ในเชิงลึก แต่ละอุตสาหกรรมอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการนำเสนอรัฐบาล เพื่อตัดสินใจในการเข้าร่วมเจรจาปี 2564 หลังจากที่ไทยไม่สามารถเข้าร่วมเจรจาได้ทันในปีนี้
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการที่ไทยขอเข้าร่วมเจรจานั้น ไม่ได้หมายถึงการทำข้อตกลงแต่อย่างใด แต่การเข้าร่วมจะเป็นโอกาสให้ไทยได้รับรู้ความเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม การที่ไทยไม่ได้เข้าร่วมเจรจาปีนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ไทยเสียโอกาสมากนักในภาพรวม ด้วยเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบและชะลอตัวจากโควิด-19 แต่ขณะเดียวกัน หากไทยยิ่งช้าก็เมื่อเทียบกับเวียดนาม ที่มีระบบการค้าและลงทุนที่มาแรง เพราะมีข้อตกลงทั้ง FTAกับอียู และ CPTPPก็ทำให้เป็นการสร้างโอกาส และความได้เปรียบให้กับเวียดนามมากยิ่งขึ้น
นายสุพันธุ์ ยังกล่าวถึงทีมเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลว่า ต้องการให้เร่งแก้ไขภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างเร่งด่วน เนื่องจากภาคธุรกิจทั้งการส่งออก และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่สำคัญได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยประเมินว่า โควิด-19ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท
"สิ่งที่กังวลขณะนี้คือ การกลับมาระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 ที่หลายประเทศควบคุมได้ดี แต่เมื่อเปิดประเทศมาก็กลับมาระบาดใหม่ทั้ง จีน ญี่ปุ่น ดังนั้นไทยเองต้องควบคุมให้ดี และสิ่งสำคัญคือต้องไม่มีการกลับมาปิดประเทศ หรือล็อกดาวน์ รอบ 2 ไมว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นผลกระทบจะรุนแรงมาก " นายสุพันธุ์ กล่าว
แหล่งข่าวจาก กกร. กล่าวว่า กรณี CPTPP นั้นคณะทำงาน กกร.ได้เคยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านการประชุมร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม ซึ่งยอมรับว่าภาคส่วนต่างๆ ยังมีความเห็นที่ต่างกัน แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่สนับสนุนให้เข้าไปเจรจาก่อน แต่ภาคประชาสังคมเห็นว่า เวลาที่เข้าไปเจรจาจะเกิดผลกระทบขึ้นหากไม่เข้าร่วมภายหลัง และการเจรจาแม้จะมีข้อดีต่อการค้าและการลงทุนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นชัดเจน แต่ยังมีประเด็นข้อกังวลกรณีการเข้าถึง ยา ของประชาชน ผลกระทบต่อวิถีการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกร การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นต้น
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า ภายในเดือนก.ย.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เตรียมว่าจ้างบริษัททีมที่ปรึกษามาวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของไทยต่อการเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ในเชิงลึก แต่ละอุตสาหกรรมอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการนำเสนอรัฐบาล เพื่อตัดสินใจในการเข้าร่วมเจรจาปี 2564 หลังจากที่ไทยไม่สามารถเข้าร่วมเจรจาได้ทันในปีนี้
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการที่ไทยขอเข้าร่วมเจรจานั้น ไม่ได้หมายถึงการทำข้อตกลงแต่อย่างใด แต่การเข้าร่วมจะเป็นโอกาสให้ไทยได้รับรู้ความเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม การที่ไทยไม่ได้เข้าร่วมเจรจาปีนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ไทยเสียโอกาสมากนักในภาพรวม ด้วยเพราะเศรษฐกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบและชะลอตัวจากโควิด-19 แต่ขณะเดียวกัน หากไทยยิ่งช้าก็เมื่อเทียบกับเวียดนาม ที่มีระบบการค้าและลงทุนที่มาแรง เพราะมีข้อตกลงทั้ง FTAกับอียู และ CPTPPก็ทำให้เป็นการสร้างโอกาส และความได้เปรียบให้กับเวียดนามมากยิ่งขึ้น
นายสุพันธุ์ ยังกล่าวถึงทีมเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลว่า ต้องการให้เร่งแก้ไขภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างเร่งด่วน เนื่องจากภาคธุรกิจทั้งการส่งออก และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่สำคัญได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยประเมินว่า โควิด-19ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท
"สิ่งที่กังวลขณะนี้คือ การกลับมาระบาดรอบ 2 ของโควิด-19 ที่หลายประเทศควบคุมได้ดี แต่เมื่อเปิดประเทศมาก็กลับมาระบาดใหม่ทั้ง จีน ญี่ปุ่น ดังนั้นไทยเองต้องควบคุมให้ดี และสิ่งสำคัญคือต้องไม่มีการกลับมาปิดประเทศ หรือล็อกดาวน์ รอบ 2 ไมว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นผลกระทบจะรุนแรงมาก " นายสุพันธุ์ กล่าว
แหล่งข่าวจาก กกร. กล่าวว่า กรณี CPTPP นั้นคณะทำงาน กกร.ได้เคยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านการประชุมร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม ซึ่งยอมรับว่าภาคส่วนต่างๆ ยังมีความเห็นที่ต่างกัน แต่ภาคเอกชนส่วนใหญ่สนับสนุนให้เข้าไปเจรจาก่อน แต่ภาคประชาสังคมเห็นว่า เวลาที่เข้าไปเจรจาจะเกิดผลกระทบขึ้นหากไม่เข้าร่วมภายหลัง และการเจรจาแม้จะมีข้อดีต่อการค้าและการลงทุนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นชัดเจน แต่ยังมีประเด็นข้อกังวลกรณีการเข้าถึง ยา ของประชาชน ผลกระทบต่อวิถีการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกร การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นต้น