ผู้จัดการรายวัน360- ธปท.ชี้เศรษฐกิจโลกปัจจัยเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจไทย ห่วงหนี้ครัวเรือนพุ่ง เล็งเพิ่มมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ระบุผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ก่อนจะทยอยฟื้นตัว เน้นนโยบายด้านอุปทานเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลัง COVID-19
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งมีมาตรการควบคุมการระบาดแล้ว โดยสามารถควบคุม COVID-19 ได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย และการผลิต โดยในการประชุมครั้งล่าสุด (24 มิ.ย. 2563) กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50 % ต่อปี และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งมาตรการการคลังของรัฐบาลและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย
“ธปท.ได้ประเมินสถานการณ์ร่วมกับ ศบค.อย่างใกล้ชิต โดยประเมินผู้ติดเชื้อไว้ 20-30 คนต่อวัน การใช้เครื่องมือและนโยบายปัจุบัน ยังดูแลป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น การมีผู้ติดเชื่อรายใหม่ที่เป็นข่าวจึงยังพอรับได้ แต่ก็ไม่ประมาท หากพบมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ธปท.ก็พร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมทันที”
นอกจากนี้ กนง.จะต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย ได้แก่ (1) มีกลไกการบริหารกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการในสาขาที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการระบาดคลี่คลายลง (2) สนับสนุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว (3) เร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล (4) สนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการจ้างงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายและปรับตัวเข้าสู่บริบทใหม่ และ (5) เร่งปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่
การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจข้างต้น ควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) จะช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโต (potential growth) ให้เศรษฐกิจไทยสามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป
ธปท.ได้ให้น้ำหนักปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอนาคต คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ผลกระทบจากโรคระบาด อาจจะส่งผลในวงกว้างที่กระทบทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ขณะนี้ธปท.กังวลเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลจากการขาดรายได้ ทำให้ต้องเข้าไปแกไขดูแล การปรับโครงสร้างหนี้ ที่จะทยอยออกมาตรการอย่างต่อเนื่อง
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งมีมาตรการควบคุมการระบาดแล้ว โดยสามารถควบคุม COVID-19 ได้เป็นผลสำเร็จ และเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอย และการผลิต โดยในการประชุมครั้งล่าสุด (24 มิ.ย. 2563) กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50 % ต่อปี และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งมาตรการการคลังของรัฐบาลและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย
“ธปท.ได้ประเมินสถานการณ์ร่วมกับ ศบค.อย่างใกล้ชิต โดยประเมินผู้ติดเชื้อไว้ 20-30 คนต่อวัน การใช้เครื่องมือและนโยบายปัจุบัน ยังดูแลป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น การมีผู้ติดเชื่อรายใหม่ที่เป็นข่าวจึงยังพอรับได้ แต่ก็ไม่ประมาท หากพบมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ธปท.ก็พร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมทันที”
นอกจากนี้ กนง.จะต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย ได้แก่ (1) มีกลไกการบริหารกำลังการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการในสาขาที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังจากการระบาดคลี่คลายลง (2) สนับสนุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีโอกาสฟื้นตัวเร็ว (3) เร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล (4) สนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการจ้างงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายและปรับตัวเข้าสู่บริบทใหม่ และ (5) เร่งปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่
การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจข้างต้น ควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) จะช่วยเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโต (potential growth) ให้เศรษฐกิจไทยสามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป
ธปท.ได้ให้น้ำหนักปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอนาคต คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ผลกระทบจากโรคระบาด อาจจะส่งผลในวงกว้างที่กระทบทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ขณะนี้ธปท.กังวลเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลจากการขาดรายได้ ทำให้ต้องเข้าไปแกไขดูแล การปรับโครงสร้างหนี้ ที่จะทยอยออกมาตรการอย่างต่อเนื่อง