ซูเปอร์โพลชี้ ประชาชนร้อยละ 88.9 หมดศรัทธาพรรคการเมืองไทย เห็นแต่ภาพแก่งแย่งชิงอำนาจ ทรยศหักหลัง จ้องถอนทุน หนุน "สี่กุมาร" ลาออกจากพรรคพปชร. เพื่อมาทำงานกับนายกฯ แก้ปัญหาความเดือดร้อนปชช. ยี้กลุ่มรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส.
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง สี่ยอดกุมาร จากกลุ่มตัวอย่าง 1,586 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9– 10 ก.ค.63 ปรากฏผลดังนี้
ในเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพรรคการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 88.9 ระบุ ลดลง ถึงไม่เชื่อมั่น หมดศรัทธา เพราะเต็มไปด้วยคนมีประวัติด่างพร้อย แย่งตำแหน่ง แย่งอำนาจกัน มุ่งแต่จะถอนทุนคืน วิ่งเต้น วางบิลซื้อขายตำแหน่งรัฐมนตรี ทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคทึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล ไม่ปกป้องรักษาคนดี ไม่ส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมือง ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ไม่มีวินัย ไม่จริงใจ ไม่ได้รักประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 11.1 บอกเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เพราะ ทำงานแก้ปัญหา มีอุดมการณ์ เข้าถึงประชาชน
เมื่อถามถึงความเห็นต่อการลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ของ "สี่ยอดกุมาร" ได้แก่ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษาฯ และ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 86.3 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 13.7 ไม่เห็นด้วย โดยส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 76.1 ระบุ ต้องการให้ สี่ยอดกุมาร ทั้งหมดที่ลาออกนี้มุ่งทำงาน แก้ปัญหาเดือดร้อน ลดความทุกข์ยากของประชาชน ให้ถ้วนหน้า ร้อยละ 71.7 ลดความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 71.4 ต้องการให้สี่ยอดกุมาร เป็นกลุ่มคนการเมืองใหม่ ทำงานกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 70.0 ต้องการให้ช่วยลดแรงกดดันนายกรัฐมนตรีจากคนในพรรคพลังประชารัฐ และ ร้อยละ 66.3 ต้องการให้ละทิ้ง ตัดขาดจากการเมืองเก่าในพรรคพลังประชารัฐ
นายนพดล กล่าวว่า จากผลโพลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประชาชนกำลังหมดศรัทธาต่อพรรคการเมือง เพราะเห็นแต่ภาพการทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคทึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล แย่งชิงตำแหน่ง จ้องจะถอนทุนคืน ในขณะที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนทุกข์ยาก ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ตกงาน ขาดรายได้ แต่นักการเมืองมุ่งแต่จะหาประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงเสนอให้เอาความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และทำงานตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชน ที่ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย ความขัดแย้งแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่กำลังยึดครองพื้นที่สื่อข้อมูลข่าวสารในเวลานี้
ทั้งนี้ ถ้ามีการปรับครม. ควรแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลน่าจะตอบโจทย์แต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เน้นที่“ความหวัง”หรือ Hopeให้พวกเขาเห็นอนาคตที่ดี มีงานทำ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองดี สำนึกรู้คุณแผ่นดินและสถาบันหลักของชาติ
กลุ่มที่สองเป็นคนวัยทำงาน ที่ต้องทำให้เกิดความมั่นคงในสัมมาชีพ มีงานทำรายได้ดี มีทักษะดี มีสุขอย่างพอเพียง และ กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มคนสูงวัย ที่ต้องการความสุขและปลอดภัย โดยนายกฯ น่าจะมีรองนายกฯ ฝ่ายสังคม ที่เชื่อมประสานภาคประชาสังคม (Civil Society)ได้ดีกว่านี้ และนายกฯ ต้องชูธงผู้นำด้านเศรษฐกิจ และการเมืองด้วยตนเอง ไม่ลอยตัวเหนือปัญหา ให้เห็นภาพลงมานั่งกอดคอทำงานกันใกล้ชิดกับสี่ยอดกุมาร ทีมเศรษฐกิจบนโต๊ะรูปไข่ เหมือนช่วงวิกฤตโควิด ที่ผ่านมา อย่าไปทอดทิ้งพวกเขา เพราะครั้งหนึ่งพวกเขาเคยมีส่วนช่วยให้ทุกท่านเข้าสู่อำนาจ เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
นายนพดล ยังได้เผยถึงผลสำรวจเรื่อง "ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี" จากกลุ่มตัวอย่าง 2,203 ตัวอย่าง ระหว่าง 5–11 ก.ค.63 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มรัฐมนตรี ที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 86.6 พอใจค่อนข้างน้อย ถึงไม่พอใจเลย ในขณะที่ร้อยละ 13.4 พอใจค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
ส่วนเหตุผลที่ไม่พอใจกลุ่มรัฐมนตรี ที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.7 ระบุ สร้างความขัดแย้ง วุ่นวาย แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 59.6 ระบุ ไม่มีผลงานที่โดนใจ ทำงานไม่ตรงเป้าความต้องการของประชาชน , ร้อยละ 56.3 ระบุ ไม่ทำตามอุดมการณ์ที่เคยประกาศไว้ , ร้อยละ 27.6 ระบุ เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย และ ร้อยละ 3.4 ระบุอื่น ๆ เช่น เข้าไม่ถึงใจประชาชน ไม่สนใจประชาชน หลอกลวง เป็นต้น
ที่สำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 90.8 ระบุ ควรปรับออกกลุ่มรัฐมนตรีในส่วนของรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. ในชุดนี้ ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ระบุควรอยู่ต่อ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์ ต่อพรรคก้าวไกล (อนาคตใหม่เดิม) พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 ระบุ ส่งผลกระทบ ในขณะที่ ร้อยละ 24.7 ระบุ ไม่ส่งผลกระทบ
เมื่อถามถึงความตั้งใจจะเลือกพรรคก้าวไกล ถ้าวันนี้เลือกตั้ง พบว่าแนวโน้มจำนวนคนตั้งใจจะเลือก ลดลงจาก ร้อยละ16.7 ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค มาอยู่ที่ ร้อยละ 6.9 ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค โดยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 83.3 ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 93.1 ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค ที่ตั้งใจจะไม่เลือก
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ ชี้ให้เห็นว่า ทั้ง "ผลกรรมข่าวปรับครม." และ "ผลกระทบเงินบริจาคเมย์เดย์" กำลังผลักประชาชนให้ไปอยู่ในภาวะ"กลางปัญหาเขาควาย" (Dilemma)คือ กลืนเผด็จการก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตย ก็ไม่ออก เพราะประชาชนไม่เอาเผด็จการ แต่ก็ไม่เป็นสุขกับประชาธิปไตยลุ่มๆ ดอนๆ ตอนนี้ ที่หันไปทางขวาก็เจอกับนักเลือกตั้งจ้องถอนทุนคืน แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคถึก ที่กำลังเป็นอยู่ในฝั่งรัฐบาล และหันมาทางซ้ายก็เจอปัญหา นักอุดมการณ์ ลีลาคารมชมให้เคลิ้ม แต่ไม่ได้ดีไปกว่าอีกกลุ่มหนึ่งสักเท่าไหร่ จับต้องอุดมการณ์ไม่ได้ สร้างแต่ความหวังที่หางโผล่ให้เห็นความไม่ชอบมาพากลชัดขึ้นเรื่อยๆ ในห้วงเวลานี้คงต้องใช้บริการ ประชาธิปไตยทัมใจไปพลาง ๆ ก่อน
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง สี่ยอดกุมาร จากกลุ่มตัวอย่าง 1,586 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9– 10 ก.ค.63 ปรากฏผลดังนี้
ในเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพรรคการเมืองในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 88.9 ระบุ ลดลง ถึงไม่เชื่อมั่น หมดศรัทธา เพราะเต็มไปด้วยคนมีประวัติด่างพร้อย แย่งตำแหน่ง แย่งอำนาจกัน มุ่งแต่จะถอนทุนคืน วิ่งเต้น วางบิลซื้อขายตำแหน่งรัฐมนตรี ทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคทึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล ไม่ปกป้องรักษาคนดี ไม่ส่งเสริมคนดีปกครองบ้านเมือง ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนของชาติ ไม่มีวินัย ไม่จริงใจ ไม่ได้รักประชาชน เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 11.1 บอกเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น เพราะ ทำงานแก้ปัญหา มีอุดมการณ์ เข้าถึงประชาชน
เมื่อถามถึงความเห็นต่อการลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ของ "สี่ยอดกุมาร" ได้แก่ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษาฯ และ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 86.3 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 13.7 ไม่เห็นด้วย โดยส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 76.1 ระบุ ต้องการให้ สี่ยอดกุมาร ทั้งหมดที่ลาออกนี้มุ่งทำงาน แก้ปัญหาเดือดร้อน ลดความทุกข์ยากของประชาชน ให้ถ้วนหน้า ร้อยละ 71.7 ลดความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 71.4 ต้องการให้สี่ยอดกุมาร เป็นกลุ่มคนการเมืองใหม่ ทำงานกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 70.0 ต้องการให้ช่วยลดแรงกดดันนายกรัฐมนตรีจากคนในพรรคพลังประชารัฐ และ ร้อยละ 66.3 ต้องการให้ละทิ้ง ตัดขาดจากการเมืองเก่าในพรรคพลังประชารัฐ
นายนพดล กล่าวว่า จากผลโพลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประชาชนกำลังหมดศรัทธาต่อพรรคการเมือง เพราะเห็นแต่ภาพการทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคทึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล แย่งชิงตำแหน่ง จ้องจะถอนทุนคืน ในขณะที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนทุกข์ยาก ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ตกงาน ขาดรายได้ แต่นักการเมืองมุ่งแต่จะหาประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงเสนอให้เอาความต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และทำงานตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชน ที่ไม่ต้องการเห็นความวุ่นวาย ความขัดแย้งแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่กำลังยึดครองพื้นที่สื่อข้อมูลข่าวสารในเวลานี้
ทั้งนี้ ถ้ามีการปรับครม. ควรแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลน่าจะตอบโจทย์แต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้เน้นที่“ความหวัง”หรือ Hopeให้พวกเขาเห็นอนาคตที่ดี มีงานทำ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง เป็นพลเมืองดี สำนึกรู้คุณแผ่นดินและสถาบันหลักของชาติ
กลุ่มที่สองเป็นคนวัยทำงาน ที่ต้องทำให้เกิดความมั่นคงในสัมมาชีพ มีงานทำรายได้ดี มีทักษะดี มีสุขอย่างพอเพียง และ กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มคนสูงวัย ที่ต้องการความสุขและปลอดภัย โดยนายกฯ น่าจะมีรองนายกฯ ฝ่ายสังคม ที่เชื่อมประสานภาคประชาสังคม (Civil Society)ได้ดีกว่านี้ และนายกฯ ต้องชูธงผู้นำด้านเศรษฐกิจ และการเมืองด้วยตนเอง ไม่ลอยตัวเหนือปัญหา ให้เห็นภาพลงมานั่งกอดคอทำงานกันใกล้ชิดกับสี่ยอดกุมาร ทีมเศรษฐกิจบนโต๊ะรูปไข่ เหมือนช่วงวิกฤตโควิด ที่ผ่านมา อย่าไปทอดทิ้งพวกเขา เพราะครั้งหนึ่งพวกเขาเคยมีส่วนช่วยให้ทุกท่านเข้าสู่อำนาจ เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
นายนพดล ยังได้เผยถึงผลสำรวจเรื่อง "ผลกรรมข่าวปรับคณะรัฐมนตรี" จากกลุ่มตัวอย่าง 2,203 ตัวอย่าง ระหว่าง 5–11 ก.ค.63 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ความพอใจของประชาชนต่อกลุ่มรัฐมนตรี ที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 86.6 พอใจค่อนข้างน้อย ถึงไม่พอใจเลย ในขณะที่ร้อยละ 13.4 พอใจค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
ส่วนเหตุผลที่ไม่พอใจกลุ่มรัฐมนตรี ที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.7 ระบุ สร้างความขัดแย้ง วุ่นวาย แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี บนความทุกข์ยากของประชาชน รองลงมาคือ ร้อยละ 59.6 ระบุ ไม่มีผลงานที่โดนใจ ทำงานไม่ตรงเป้าความต้องการของประชาชน , ร้อยละ 56.3 ระบุ ไม่ทำตามอุดมการณ์ที่เคยประกาศไว้ , ร้อยละ 27.6 ระบุ เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย และ ร้อยละ 3.4 ระบุอื่น ๆ เช่น เข้าไม่ถึงใจประชาชน ไม่สนใจประชาชน หลอกลวง เป็นต้น
ที่สำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 90.8 ระบุ ควรปรับออกกลุ่มรัฐมนตรีในส่วนของรัฐมนตรีที่เคยเป็นแกนนำ กปปส. ในชุดนี้ ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ระบุควรอยู่ต่อ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงผลกระทบเงินบริจาค เมย์เดย์ ต่อพรรคก้าวไกล (อนาคตใหม่เดิม) พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 ระบุ ส่งผลกระทบ ในขณะที่ ร้อยละ 24.7 ระบุ ไม่ส่งผลกระทบ
เมื่อถามถึงความตั้งใจจะเลือกพรรคก้าวไกล ถ้าวันนี้เลือกตั้ง พบว่าแนวโน้มจำนวนคนตั้งใจจะเลือก ลดลงจาก ร้อยละ16.7 ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค มาอยู่ที่ ร้อยละ 6.9 ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค โดยส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 83.3 ในช่วงก่อนข่าวเงินบริจาค และส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 93.1 ในช่วงหลังข่าวเงินบริจาค ที่ตั้งใจจะไม่เลือก
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลนี้ ชี้ให้เห็นว่า ทั้ง "ผลกรรมข่าวปรับครม." และ "ผลกระทบเงินบริจาคเมย์เดย์" กำลังผลักประชาชนให้ไปอยู่ในภาวะ"กลางปัญหาเขาควาย" (Dilemma)คือ กลืนเผด็จการก็ไม่เข้า คายประชาธิปไตย ก็ไม่ออก เพราะประชาชนไม่เอาเผด็จการ แต่ก็ไม่เป็นสุขกับประชาธิปไตยลุ่มๆ ดอนๆ ตอนนี้ ที่หันไปทางขวาก็เจอกับนักเลือกตั้งจ้องถอนทุนคืน แก่งแย่งตำแหน่งรัฐมนตรี ทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคถึก ที่กำลังเป็นอยู่ในฝั่งรัฐบาล และหันมาทางซ้ายก็เจอปัญหา นักอุดมการณ์ ลีลาคารมชมให้เคลิ้ม แต่ไม่ได้ดีไปกว่าอีกกลุ่มหนึ่งสักเท่าไหร่ จับต้องอุดมการณ์ไม่ได้ สร้างแต่ความหวังที่หางโผล่ให้เห็นความไม่ชอบมาพากลชัดขึ้นเรื่อยๆ ในห้วงเวลานี้คงต้องใช้บริการ ประชาธิปไตยทัมใจไปพลาง ๆ ก่อน