"สุพจน์ ทรัพย์ล้อม-ชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์" ร่อนนจม.ลาออก หลังถูกวิจารณ์ความเหมาะสมกระหึ่ม “สมศักดิ์” แจ้งกลางเวทีถกผลกระทบจากการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์การคืนบุคคลให้เป็นคนดีสู่สังคม
วานนี้ (25 มิ.ย.) ที่ห้องรับรองกระทรวง ยุติธรรม ชั้น 2 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม จัดเวทีเสวนาเปิดรับฟังความคิดเห็นการสร้างนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยได้ส่งหนังสือเชิญ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ACT), นายวินรวีร์ ใหญ่เสมอ หรือต๊ะ บอยสเก๊าท์ ศิลปินชื่อดัง และนายนัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาพิเศษสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อมาให้คำแนะนำว่าควรจะดำเนินการอย่างไร พร้อมทั้งจะชี้แจงข้อสงสัยในการแต่งตั้ง นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยต้องโทษในคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน มาเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยนายสมศักดิ์ ได้แจ้งให้ทราบกลางเวทีว่า นายสุพจน์ ได้เขียนหนังสือด้วยลายมือถึงเหตุผลการลาออก โดยระบุตอนหนึ่งว่า "เมื่อได้รับการทาบทามจากกระทรวงยุติธรรม ผมเห็นว่าจะสามารถใช้ความรู้ ประการณ์ และความเข้าใจที่มีต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ มาถ่ายทอดให้โครงการนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ ผมจึงได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมแต่ต่อมาผมได้รับทราบจากทางสื่อต่างๆ ว่ามีกระแสความไม่เห็นด้วย และเห็นว่าการที่ผมรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการชุดนี้มีความไม่เหมาะสม ผมได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเพื่อเป็นการยุติดความขัดแย้งในสังคม และให้อนุกรรมการฯ สามารถเริ่มปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศได้ทันที ผมจึงขอลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาอนุกรรมการฯ โดยมีผลทันทีนับจากวันที่ 22 มิ.ย.63"
เช่นเดียวกับ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ขอลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯเช่นกัน เพราะมีภารกิจบางประการที่รับผิดชอบและจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเป็นประจำทุกเดือน อาจจะมีผลกระทบทำให้การทุ่มเทเวลาเพื่อที่จะช่วยงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ขณะที่ นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ACT กล่าวว่า คดีทุจริตบางคดีใช้เวลานาน 10 กว่าปีกว่าที่ศาลจะมีคำตัดสินเป็นที่สิ้นสุด ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าไม่ต้องถูกโดนลงโทษ ยังสามารถเดินเชิดหน้าชูตาในสังคมได้ ในขณะรายที่โดนลงโทษทางกฎหมายแต่ก็สามารถกลับมามีบทบาทในวงการเมืองและราชการได้ ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของ ประชาชนว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวเมื่อพบเห็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย แม้ว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ที่เพิ่มการรับรู้ของคนทั่วไปว่า คนที่ทุจริตจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
“ผมเห็นด้วยที่ต้องการให้ผู้ต้องขังได้กลับคืนสู่สังคมตามแนวทางที่กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายแต่การที่จะกลับเข้ามาสู่ระบบราชการการเมืองในขณะที่ มีความผิดคดีคอร์รัปชัน ซึ่งไม่ใช่คดีฉกชิงวิ่งราว หรือคดีทั่วๆไป ซึ่งคดีคอร์รัปชั่นถือเป็นคดีที่ทำลายชาติเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งการที่คุณสุพจน์ได้เข้ามาสู่ในตำแหน่งคณะอนุกรรมการ ที่อยู่ในระบบการเมืองและราชการ ทำให้ คนทั่วไปรู้สึกว่าคนนี้มีอำนาจ วาสนา บารมีซึ่งจะเป็นช่องว่างหากพูดหรือแสดงอิทธิฤทธิ์อะไร เราก็ต้องระวังตัวซึ่งสิ่งเหล่านี้หน่วยราชการต้องตระหนัก ไม่เช่นนั้นจะทำให้ ไม่เป็นต้นแบบของสังคมในการประพฤติปฏิบัติ ในทางที่ถูกต้องและข้าราชการชั้นผู้น้อยจะเกิดความเข้าใจผิด ต่อบรรทัดฐานการประพฤติปฏิบัติทั้งที ทั้งที่มีเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงเขียนว่าอย่างชัดเจน ป้องกันเรื่องการคอร์รัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง” นายมานะ ระบุ
วานนี้ (25 มิ.ย.) ที่ห้องรับรองกระทรวง ยุติธรรม ชั้น 2 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม จัดเวทีเสวนาเปิดรับฟังความคิดเห็นการสร้างนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยได้ส่งหนังสือเชิญ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ACT), นายวินรวีร์ ใหญ่เสมอ หรือต๊ะ บอยสเก๊าท์ ศิลปินชื่อดัง และนายนัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาพิเศษสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อมาให้คำแนะนำว่าควรจะดำเนินการอย่างไร พร้อมทั้งจะชี้แจงข้อสงสัยในการแต่งตั้ง นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยต้องโทษในคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน มาเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยนายสมศักดิ์ ได้แจ้งให้ทราบกลางเวทีว่า นายสุพจน์ ได้เขียนหนังสือด้วยลายมือถึงเหตุผลการลาออก โดยระบุตอนหนึ่งว่า "เมื่อได้รับการทาบทามจากกระทรวงยุติธรรม ผมเห็นว่าจะสามารถใช้ความรู้ ประการณ์ และความเข้าใจที่มีต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ มาถ่ายทอดให้โครงการนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ ผมจึงได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมแต่ต่อมาผมได้รับทราบจากทางสื่อต่างๆ ว่ามีกระแสความไม่เห็นด้วย และเห็นว่าการที่ผมรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการชุดนี้มีความไม่เหมาะสม ผมได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเพื่อเป็นการยุติดความขัดแย้งในสังคม และให้อนุกรรมการฯ สามารถเริ่มปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศได้ทันที ผมจึงขอลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาอนุกรรมการฯ โดยมีผลทันทีนับจากวันที่ 22 มิ.ย.63"
เช่นเดียวกับ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ขอลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯเช่นกัน เพราะมีภารกิจบางประการที่รับผิดชอบและจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเป็นประจำทุกเดือน อาจจะมีผลกระทบทำให้การทุ่มเทเวลาเพื่อที่จะช่วยงานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ขณะที่ นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ACT กล่าวว่า คดีทุจริตบางคดีใช้เวลานาน 10 กว่าปีกว่าที่ศาลจะมีคำตัดสินเป็นที่สิ้นสุด ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าไม่ต้องถูกโดนลงโทษ ยังสามารถเดินเชิดหน้าชูตาในสังคมได้ ในขณะรายที่โดนลงโทษทางกฎหมายแต่ก็สามารถกลับมามีบทบาทในวงการเมืองและราชการได้ ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำความรู้สึกของ ประชาชนว่าไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวเมื่อพบเห็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย แม้ว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ที่เพิ่มการรับรู้ของคนทั่วไปว่า คนที่ทุจริตจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง
“ผมเห็นด้วยที่ต้องการให้ผู้ต้องขังได้กลับคืนสู่สังคมตามแนวทางที่กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายแต่การที่จะกลับเข้ามาสู่ระบบราชการการเมืองในขณะที่ มีความผิดคดีคอร์รัปชัน ซึ่งไม่ใช่คดีฉกชิงวิ่งราว หรือคดีทั่วๆไป ซึ่งคดีคอร์รัปชั่นถือเป็นคดีที่ทำลายชาติเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งการที่คุณสุพจน์ได้เข้ามาสู่ในตำแหน่งคณะอนุกรรมการ ที่อยู่ในระบบการเมืองและราชการ ทำให้ คนทั่วไปรู้สึกว่าคนนี้มีอำนาจ วาสนา บารมีซึ่งจะเป็นช่องว่างหากพูดหรือแสดงอิทธิฤทธิ์อะไร เราก็ต้องระวังตัวซึ่งสิ่งเหล่านี้หน่วยราชการต้องตระหนัก ไม่เช่นนั้นจะทำให้ ไม่เป็นต้นแบบของสังคมในการประพฤติปฏิบัติ ในทางที่ถูกต้องและข้าราชการชั้นผู้น้อยจะเกิดความเข้าใจผิด ต่อบรรทัดฐานการประพฤติปฏิบัติทั้งที ทั้งที่มีเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงเขียนว่าอย่างชัดเจน ป้องกันเรื่องการคอร์รัปชั่นของข้าราชการและนักการเมือง” นายมานะ ระบุ