“การบินไทย”ชี้แจงลดเงินเดือน 10-50% ถึง 31 ส.ค. เฉพาะที่สมัครใจยินยอม ยันไม่ขัดกฎหมายแรงงาน ชี้สิทธิพนักงานที่พึงได้รับ ยังเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมาย
จากรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ได้ไปยื่นหนังสือถึงปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับการที่ บริษัทการบินไทย ออกข้อบังคับฉบับใหม่ และอ้างว่าข้อบังคับดังกล่าวได้ลดทอนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงาน รวมถึงได้ร้องเรียนเรื่องการปรับลดเงินเดือนของพนักงาน ว่าไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายนั้น
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 รักษาการแทนกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ตามที่บริษัทฯได้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ และมีสถานะเป็นบริษัทเอกชน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงานของบริษัทเอกชน หลายฉบับ รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งกำหนดให้บริษัทต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานเกี่ยวกับการจ้างงาน และประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ ในระหว่างการจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับดังกล่าว บริษัทฯได้หารือกับเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อย่างใกล้ชิด และบริษัททราบดีว่า สิทธิประโยชน์ของพนักงานที่มีอยู่ก่อนการพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ จะยังมีอยู่ตามเดิมจนกว่าบริษัท และพนักงาน จะได้ดำเนินกระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามวิธีการและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ออกประกาศที่ 046/2563 เรื่องขอความร่วมมือให้พนักงานทุกคนสมัครใจปรับลดเงินเดือนลง ในอัตราร้อยละ 10-50 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความยินยอมจากพนักงานทุกคน ให้ลดเงินเดือนลงบางส่วนด้วยความสมัครใจในช่วงที่บริษัทอยู่ระหว่างการหยุดทำการบินเป็นการชั่วคราว (จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563) โดยให้พนักงานลงชื่อ แสดงเจตนารมณ์ช่วยเหลือบริษัท และยินยอมให้บริษัทลดเงินเดือนด้วยความสมัครใจของพนักงานเอง แต่ในส่วนของพนักงานที่ไม่ได้ให้ความยินยอมให้ลดเงินเดือนนั้น บริษัทจะยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตราที่พนักงานคนนั้นได้รับ โดยจะไม่หักค่าจ้างตามประกาศบริษัทดังกล่าว แต่อย่างใด
ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง 2 กรณี ของบริษัทฯ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด และบริษัทยังได้ดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของพนักงานที่พึงได้รับตามขอบเขตของกฎหมาย
จากรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ได้ไปยื่นหนังสือถึงปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับการที่ บริษัทการบินไทย ออกข้อบังคับฉบับใหม่ และอ้างว่าข้อบังคับดังกล่าวได้ลดทอนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงาน รวมถึงได้ร้องเรียนเรื่องการปรับลดเงินเดือนของพนักงาน ว่าไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายนั้น
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ คนที่ 2 รักษาการแทนกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ตามที่บริษัทฯได้พ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ และมีสถานะเป็นบริษัทเอกชน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 บริษัทจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงานของบริษัทเอกชน หลายฉบับ รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งกำหนดให้บริษัทต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานเกี่ยวกับการจ้างงาน และประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ ในระหว่างการจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับดังกล่าว บริษัทฯได้หารือกับเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อย่างใกล้ชิด และบริษัททราบดีว่า สิทธิประโยชน์ของพนักงานที่มีอยู่ก่อนการพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ จะยังมีอยู่ตามเดิมจนกว่าบริษัท และพนักงาน จะได้ดำเนินกระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามวิธีการและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ส่วนกรณีที่บริษัทฯ ออกประกาศที่ 046/2563 เรื่องขอความร่วมมือให้พนักงานทุกคนสมัครใจปรับลดเงินเดือนลง ในอัตราร้อยละ 10-50 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความยินยอมจากพนักงานทุกคน ให้ลดเงินเดือนลงบางส่วนด้วยความสมัครใจในช่วงที่บริษัทอยู่ระหว่างการหยุดทำการบินเป็นการชั่วคราว (จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563) โดยให้พนักงานลงชื่อ แสดงเจตนารมณ์ช่วยเหลือบริษัท และยินยอมให้บริษัทลดเงินเดือนด้วยความสมัครใจของพนักงานเอง แต่ในส่วนของพนักงานที่ไม่ได้ให้ความยินยอมให้ลดเงินเดือนนั้น บริษัทจะยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตราที่พนักงานคนนั้นได้รับ โดยจะไม่หักค่าจ้างตามประกาศบริษัทดังกล่าว แต่อย่างใด
ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง 2 กรณี ของบริษัทฯ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด และบริษัทยังได้ดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของพนักงานที่พึงได้รับตามขอบเขตของกฎหมาย