“โฆษก ศบค.” เผยเจอผู้ป่วยโควิดใหม่ 3 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ยอดป่วยรวม 2,992 ราย จังหวัดไม่มีผู้ป่วย 28 วันเพิ่มอีก 5 รวมเป็น 39 จังหวัด เตรียมนำ นร.ไทยกลับจากอาร์เจนตินา-อุรุกวัย ถึงไทย 20 พ.ค.นี้
วานนี้ (7 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทยประจำวันว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ในจำนวนนี้ 1 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 59 ปี อาชีพแม่บ้าน มาจากการค้นหาเชิงรุกใน จ.ยะลา โดยสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ที่กลับมาจากมาเลเซีย ส่วนอีก 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 46 ปี กับชายไทยอายุ 51 ปี อาชีพรับจ้าง เดินทางกลับมาจากคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 2 พ.ค. และอยู่ในสถานกักตัวของรัฐ โดยมีผู้โดยสารในเครื่องบินลำเดียวกัน 55 คน ขณะนี้อยู่ในการดูแลทั้งหมด ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสม 2,992 ราย หายป่ายสะสม 2,772 ราย อยู่ระหว่างรักษา 165 ราย
นพ.ทวีศิลป์ เปิดเผยด้วยถึงขั้นตอนการรับนักเรียนที่ตกค้างอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งเป็น อาร์เจนตินา 52 ราย และอุรุกวัย 12 รายว่า จะมีการนำเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับจาก 2 ประเทศมายังประเทศบราซิล ในวันที่ 20 พ.ค. ก่อนนั่งเครื่องบินพาณิชย์มายังประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเดินทางกลับไทย
ลุ้น 17 พ.ค.เริ่มผ่อนปรนเฟส 2
ส่วนการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.เป็นประธานนั้น เปิดเผยว่า ผอ.ศบค.ได้มีการมอบแนวทางการทำงานว่า ขอให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในช่วงเปลี่ยนผ่านในเฟสต่างๆ ลดผลกระทบจากโควิด-19 อย่างเข้มข้นต่อไป พร้อมขอบคุณทุกกำลังใจที่มีส่วนทำให้เกิดความสำเร็จ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้เปิดเผยถึงไทม์ไลน์ (timeline) มาตรการผ่อนปรน หรือคลายล็อกดาวน์ในการเปิดกิจการและกิจกรรมระยะที่ 2 ว่ามีการรับฟังความคิดเห็นหลังประกาศผ่อนปรนมาตรการระยะแรกประกอบกับดูข้อมูลเชิงสถิติ และสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ค. จากนั้นวันที่ 13 พ.ค. จะซักซ้อมทำความเข้าใจ วันที่ 14 พ.ค. จะมีการยกร่างมาตรการผ่อนปรนเพื่อนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ และวันที่ 17 พ.ค. จะมีการประกาศและเริ่มมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2
"เป็นข่าวดีที่ต้องช่วยเดินไปด้วยกัน ก่อนถึง 17 พ.ค. ระหว่างนี้อีก 10 วันข้างหน้าจะเข้าระยะ 2 ได้ จะเป็นกิจการที่ขยายใหญ่มากขึ้น คนพลุกพล่านมากขึ้น ถ้ากิจการขนาดเล็กไม่มีปัญหาใดใด ระยะที่ 2 ก็จะเกิดขึ้น ต้องขอความร่วมมือทุกท่าน" โฆษก ศบค.ระบุ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ไม่เพียงแค่ห้างสรรพสินค้า หากผู้ประกอบการมีมาตรการที่ดี มีความพร้อม ร่วมกลุ่มกันหรือเป็นสมาคมหรือองค์กร เพื่อจัดทำมาตรการรวมถึงการตรวจสอบกันและกัน ถือเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาสังคมและภาคประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้สามารถผ่านมาตรการผ่อนปรนในระยะแรก และสามารถเริ่มการผ่อนปรนมาตรการในระยะ 2 ได้
จ่อปลด “จีน-เกาหลีใต้” พื้นที่สีแดง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม ศบค.มีการพูดถึงเรื่องของต่างประเทศ ซึ่งสถานการณ์ติดเชื้อของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป อย่างประเทศจีน และ เกาหลีใต้ ควบคุมผู้ป่วยรายใหม่จนเหลือหลักหน่วย นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เสนอว่า น่าจะมีการปรับรายชื่อ ถอนบางประเทศออกไปจากประเทศเขตติดโรคติดต่อโรคโควิด-19 เพื่อให้มีการทำงานหรือมีความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ดีต่อไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ แต่ต้องนำไปสู่การประชุมหารือและดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตามแม้ปลดออกไปแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะเข้าประเทศได้ทันที เพราะมีมาตรการต่างๆอีหลายประการ
“อิตาลี-อิหร่าน” ยังต้องประเมิน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอในการถอดประเทศจีนและเกาหลีใต้ออกจากประเทศเขตติดโรคติดต่อกรณีโรคโควิด-19 เป็นความเห็นของคณะกรรมการวิชาการที่เห็นควรลดระดับ 2 ประเทศนี้ เนื่องจากประเทศเขตติดโรคโควิด-19 พิจารณาจากสถานการณ์ผู้ป่วยรายวันในประเทศนั้น โดยจีนและเกาหลีใต้ ผู้ป่วยรายวันน้อยลงมาก อยู่ในระดับเลขตัวเดียว และจำนวนคนที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย แม้จะถอดจีนและเกาหลีใต้ออก ก็ไม่ได้ทำให้คนจากทั้ง 2 ประเทศนี้เดินทางเข้ามาได้ทันที เพราะไทยอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์และข้อเท็จจริง โดยจากนี้คณะกรรมการวิชาการจะนำเสนอต่อ นายอนุทิน ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติลงนามประกาศต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีประเทศอิตาลีและอิหร่าน ที่อยู่ในประกาศฉบับเดียวกัน นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศอิตาลียังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนอิหร่านแม้ผู้ป่วยรายวันจะดีขึ้น แต่ยังต้องพิจารณามาตรการด้านระบบสาธารณสุขและการป้องกันควบคุมโรคในประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม จะมีการติดตามจับตาสถานการณ์ใน 2 ประเทศอย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่าจำนวนผู้ป่วยรายวันลดลง คณะกรรมการวิชาการก็จะพิจารณาถอดประเทศดังกล่าวต่อไป
“เดิมเราพิจารณาจากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่นั้นๆ แต่วันนี้มีการติดเชื้อไปกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ถือว่ามีความเสี่ยงหมด แต่ในประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีการควบคุมเรื่องคนเดินทางโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจ คือ มิ.ย.นี้ จะหมดระยะเวลาของการประกาศ จะทำอะไรต่อไป จึงต้องจับตาสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมมาตรการรองรับเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลัง มิ.ย.จะมีการเดินทางก็ต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบภายใต้มิติการควบคุมโรคและการเดินทาง โดยสิ่งที่น่าห่วงคือการข้ามพรมแดนทางธรรมชาติ” นพ.สุวรรณชัย ระบุ
วานนี้ (7 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทยประจำวันว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย ในจำนวนนี้ 1 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 59 ปี อาชีพแม่บ้าน มาจากการค้นหาเชิงรุกใน จ.ยะลา โดยสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ที่กลับมาจากมาเลเซีย ส่วนอีก 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 46 ปี กับชายไทยอายุ 51 ปี อาชีพรับจ้าง เดินทางกลับมาจากคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 2 พ.ค. และอยู่ในสถานกักตัวของรัฐ โดยมีผู้โดยสารในเครื่องบินลำเดียวกัน 55 คน ขณะนี้อยู่ในการดูแลทั้งหมด ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสม 2,992 ราย หายป่ายสะสม 2,772 ราย อยู่ระหว่างรักษา 165 ราย
นพ.ทวีศิลป์ เปิดเผยด้วยถึงขั้นตอนการรับนักเรียนที่ตกค้างอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งเป็น อาร์เจนตินา 52 ราย และอุรุกวัย 12 รายว่า จะมีการนำเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับจาก 2 ประเทศมายังประเทศบราซิล ในวันที่ 20 พ.ค. ก่อนนั่งเครื่องบินพาณิชย์มายังประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเดินทางกลับไทย
ลุ้น 17 พ.ค.เริ่มผ่อนปรนเฟส 2
ส่วนการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.เป็นประธานนั้น เปิดเผยว่า ผอ.ศบค.ได้มีการมอบแนวทางการทำงานว่า ขอให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในช่วงเปลี่ยนผ่านในเฟสต่างๆ ลดผลกระทบจากโควิด-19 อย่างเข้มข้นต่อไป พร้อมขอบคุณทุกกำลังใจที่มีส่วนทำให้เกิดความสำเร็จ สถานการณ์อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้เปิดเผยถึงไทม์ไลน์ (timeline) มาตรการผ่อนปรน หรือคลายล็อกดาวน์ในการเปิดกิจการและกิจกรรมระยะที่ 2 ว่ามีการรับฟังความคิดเห็นหลังประกาศผ่อนปรนมาตรการระยะแรกประกอบกับดูข้อมูลเชิงสถิติ และสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ค. จากนั้นวันที่ 13 พ.ค. จะซักซ้อมทำความเข้าใจ วันที่ 14 พ.ค. จะมีการยกร่างมาตรการผ่อนปรนเพื่อนำเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ และวันที่ 17 พ.ค. จะมีการประกาศและเริ่มมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 2
"เป็นข่าวดีที่ต้องช่วยเดินไปด้วยกัน ก่อนถึง 17 พ.ค. ระหว่างนี้อีก 10 วันข้างหน้าจะเข้าระยะ 2 ได้ จะเป็นกิจการที่ขยายใหญ่มากขึ้น คนพลุกพล่านมากขึ้น ถ้ากิจการขนาดเล็กไม่มีปัญหาใดใด ระยะที่ 2 ก็จะเกิดขึ้น ต้องขอความร่วมมือทุกท่าน" โฆษก ศบค.ระบุ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ไม่เพียงแค่ห้างสรรพสินค้า หากผู้ประกอบการมีมาตรการที่ดี มีความพร้อม ร่วมกลุ่มกันหรือเป็นสมาคมหรือองค์กร เพื่อจัดทำมาตรการรวมถึงการตรวจสอบกันและกัน ถือเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาสังคมและภาคประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้สามารถผ่านมาตรการผ่อนปรนในระยะแรก และสามารถเริ่มการผ่อนปรนมาตรการในระยะ 2 ได้
จ่อปลด “จีน-เกาหลีใต้” พื้นที่สีแดง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม ศบค.มีการพูดถึงเรื่องของต่างประเทศ ซึ่งสถานการณ์ติดเชื้อของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป อย่างประเทศจีน และ เกาหลีใต้ ควบคุมผู้ป่วยรายใหม่จนเหลือหลักหน่วย นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เสนอว่า น่าจะมีการปรับรายชื่อ ถอนบางประเทศออกไปจากประเทศเขตติดโรคติดต่อโรคโควิด-19 เพื่อให้มีการทำงานหรือมีความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ดีต่อไปด้วย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ แต่ต้องนำไปสู่การประชุมหารือและดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตามแม้ปลดออกไปแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะเข้าประเทศได้ทันที เพราะมีมาตรการต่างๆอีหลายประการ
“อิตาลี-อิหร่าน” ยังต้องประเมิน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอในการถอดประเทศจีนและเกาหลีใต้ออกจากประเทศเขตติดโรคติดต่อกรณีโรคโควิด-19 เป็นความเห็นของคณะกรรมการวิชาการที่เห็นควรลดระดับ 2 ประเทศนี้ เนื่องจากประเทศเขตติดโรคโควิด-19 พิจารณาจากสถานการณ์ผู้ป่วยรายวันในประเทศนั้น โดยจีนและเกาหลีใต้ ผู้ป่วยรายวันน้อยลงมาก อยู่ในระดับเลขตัวเดียว และจำนวนคนที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย แม้จะถอดจีนและเกาหลีใต้ออก ก็ไม่ได้ทำให้คนจากทั้ง 2 ประเทศนี้เดินทางเข้ามาได้ทันที เพราะไทยอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์และข้อเท็จจริง โดยจากนี้คณะกรรมการวิชาการจะนำเสนอต่อ นายอนุทิน ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติลงนามประกาศต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีประเทศอิตาลีและอิหร่าน ที่อยู่ในประกาศฉบับเดียวกัน นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศอิตาลียังมีผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนอิหร่านแม้ผู้ป่วยรายวันจะดีขึ้น แต่ยังต้องพิจารณามาตรการด้านระบบสาธารณสุขและการป้องกันควบคุมโรคในประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม จะมีการติดตามจับตาสถานการณ์ใน 2 ประเทศอย่างใกล้ชิด ถ้าพบว่าจำนวนผู้ป่วยรายวันลดลง คณะกรรมการวิชาการก็จะพิจารณาถอดประเทศดังกล่าวต่อไป
“เดิมเราพิจารณาจากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่นั้นๆ แต่วันนี้มีการติดเชื้อไปกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ถือว่ามีความเสี่ยงหมด แต่ในประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีการควบคุมเรื่องคนเดินทางโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจ คือ มิ.ย.นี้ จะหมดระยะเวลาของการประกาศ จะทำอะไรต่อไป จึงต้องจับตาสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมมาตรการรองรับเพิ่มเติม ทั้งนี้ หลัง มิ.ย.จะมีการเดินทางก็ต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบภายใต้มิติการควบคุมโรคและการเดินทาง โดยสิ่งที่น่าห่วงคือการข้ามพรมแดนทางธรรมชาติ” นพ.สุวรรณชัย ระบุ