ผู้จัดการรายวัน360- กลุ่มพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท.จ่อผลักดันรัฐปรับผังเมืองเอื้อเดินหน้าโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากหวั่นโครงการประเภททั่วไปที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่บางจังหวัดเจออุปสรรคใหญ่เกิดไม่ได้เพราะติดพื้นที่สีเขียว ลุ้นกกพ.ประกาศรับซื้อควิกวิน 100 เมกะวัตต์ก่อนลุยร่างระเบียบ หลักเกณฑ์ประเภททั่วไปอีก 600 เมกะวัตต์ปีนี้เร่งบูมศก.ลดผลกระทบโควิด-19
นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BCG โมเดลที่ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) แต่พบว่าอุปสรรคหนึ่งที่สำคัญคือผังเมืองที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพราะบางจังหวัดได้กำหนดห้ามดำเนินกิจกรรมหรือตั้งโรงงานในพื้นที่สีเขียว(ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) ดังนั้นกลุ่มพลังงานหมุนเวียนจึงเตรียมรวบรวมข้อมูลที่จะเสนอไปยังส.อ.ท.ให้ผลักดันต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป
“ตัวอย่างที่สำคัญคือโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่กระทรวงพลังงานต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กให้แต่ละชุมชนมีส่วนร่วมและถือหุ้น ใช้วัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง หรือการส่งเสริมปลูกพืชพลังงานมาเป็นเชื้อเพลิง การตั้งโรงไฟฟ้าใหม่จะมีอุปสรรคผังเมืองหลายพื้นที่เพราะกำหนดไม่ให้ดำเนินกิจกรรมใดๆในพื้นที่สีเขียวที่เป็นภาคเกษตร แต่ข้อเท็จจริงเมื่อธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจย่อมต้องตั้งอยู่ใกล้กัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอก๊าซ ที่เป็นการนำพืชมาหมักพอได้ก๊าซฯจะอัดลงถังก็จะอยู่ในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้นซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลังงานสะอาดจึงควรจะทบทวน” นายนทีกล่าว
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงานผลักดันให้เกิดขึ้นนับเป็นนโยบายที่ดีและเอกชนหวังว่าการออกทีโออาร์รับซื้อประเภทโครงการระยะเร่งด่วนหรือ Quick Win ไม่เกิน 100 เมกะวัตต์จะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดจากนั้นก็หวังว่ากระทรวงพลังงานจะผลักดันการร่างระเบียบ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับซื้อในส่วนของโครงการประเภททั่วไปในปีนี้ 600 เมกะวัตต์เนื่องจากโรงไฟ้ฟ้าที่เกิดใหม่จะใช้เวลาในการพัฒนา 1-2 ปีซึ่งจะไปจ่ายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2564-66
"อุปสรรคของโรงไฟฟ้าชุมชนที่ต้องสร้างใหม่คือผังเมืองที่บางจังหวัดกำหนดเลยว่าห้ามตั้งโรงงานหรือโรงไฟฟ้าในพื้นที่สีเขียวซึ่งกระทรวงพลังงานเองคงจะช่วยไม่ได้ในเรื่องนี้ และถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระระดับชาติที่ทุกส่วนต้องลงมาดู แม้กระทั่งโรงสับไม้เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงยังตั้งไม่ได้เลยก็ถือว่าต้องแก้ไข" นายนทีกล่าว
"เดิมทีกระทรวงพลังงานเองระบุว่า ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเปิดทีโออาร์รับซื้อไฟฟ้าควิกวินภายในเม.ย.นี้ ก็เข้าใจว่าอาจจะติดขัดระเบียบบางอย่าง แต่คิดว่ารัฐกำลังเร่งและน่าจะเปิดได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก หากรัฐเร่งให้เกิดขึ้นระยะแรกก่อน รวม 700 เมกะวัตต์ ซึ่งรวมควิกวินด้วยจากเป้าทั้งหมด 1,000 เมกะวัตต์ ก็จะส่งเสริมให้เกิดการเงินหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจในช่วงที่โรงไฟฟ้าเกิดและดำเนินการได้ราว 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งจังหวะที่ดีในการใช้เป็นเครื่องมือสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจไทยท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง"
นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BCG โมเดลที่ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) แต่พบว่าอุปสรรคหนึ่งที่สำคัญคือผังเมืองที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพราะบางจังหวัดได้กำหนดห้ามดำเนินกิจกรรมหรือตั้งโรงงานในพื้นที่สีเขียว(ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) ดังนั้นกลุ่มพลังงานหมุนเวียนจึงเตรียมรวบรวมข้อมูลที่จะเสนอไปยังส.อ.ท.ให้ผลักดันต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป
“ตัวอย่างที่สำคัญคือโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่กระทรวงพลังงานต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กให้แต่ละชุมชนมีส่วนร่วมและถือหุ้น ใช้วัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง หรือการส่งเสริมปลูกพืชพลังงานมาเป็นเชื้อเพลิง การตั้งโรงไฟฟ้าใหม่จะมีอุปสรรคผังเมืองหลายพื้นที่เพราะกำหนดไม่ให้ดำเนินกิจกรรมใดๆในพื้นที่สีเขียวที่เป็นภาคเกษตร แต่ข้อเท็จจริงเมื่อธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจย่อมต้องตั้งอยู่ใกล้กัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอก๊าซ ที่เป็นการนำพืชมาหมักพอได้ก๊าซฯจะอัดลงถังก็จะอยู่ในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้นซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลังงานสะอาดจึงควรจะทบทวน” นายนทีกล่าว
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงานผลักดันให้เกิดขึ้นนับเป็นนโยบายที่ดีและเอกชนหวังว่าการออกทีโออาร์รับซื้อประเภทโครงการระยะเร่งด่วนหรือ Quick Win ไม่เกิน 100 เมกะวัตต์จะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดจากนั้นก็หวังว่ากระทรวงพลังงานจะผลักดันการร่างระเบียบ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับซื้อในส่วนของโครงการประเภททั่วไปในปีนี้ 600 เมกะวัตต์เนื่องจากโรงไฟ้ฟ้าที่เกิดใหม่จะใช้เวลาในการพัฒนา 1-2 ปีซึ่งจะไปจ่ายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2564-66
"อุปสรรคของโรงไฟฟ้าชุมชนที่ต้องสร้างใหม่คือผังเมืองที่บางจังหวัดกำหนดเลยว่าห้ามตั้งโรงงานหรือโรงไฟฟ้าในพื้นที่สีเขียวซึ่งกระทรวงพลังงานเองคงจะช่วยไม่ได้ในเรื่องนี้ และถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระระดับชาติที่ทุกส่วนต้องลงมาดู แม้กระทั่งโรงสับไม้เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงยังตั้งไม่ได้เลยก็ถือว่าต้องแก้ไข" นายนทีกล่าว
"เดิมทีกระทรวงพลังงานเองระบุว่า ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเปิดทีโออาร์รับซื้อไฟฟ้าควิกวินภายในเม.ย.นี้ ก็เข้าใจว่าอาจจะติดขัดระเบียบบางอย่าง แต่คิดว่ารัฐกำลังเร่งและน่าจะเปิดได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก หากรัฐเร่งให้เกิดขึ้นระยะแรกก่อน รวม 700 เมกะวัตต์ ซึ่งรวมควิกวินด้วยจากเป้าทั้งหมด 1,000 เมกะวัตต์ ก็จะส่งเสริมให้เกิดการเงินหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจในช่วงที่โรงไฟฟ้าเกิดและดำเนินการได้ราว 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งจังหวะที่ดีในการใช้เป็นเครื่องมือสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจไทยท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง"