“อนุทิน” ลั่นงบ “บัตรทอง” ตัดไม่ได้ สธ.แจงโยก 2.4 พันล้านจ่ายเงินเดือนบุคลากร สธ.ที่บรรจุใหม่ระหว่างปี 4.5 หมื่นตำแหน่ง ไม่ได้ใช้เยียวยา “โควิด-19” แนะหาก สปสช.ไม่สบายใจ ปีหน้าเสนอแยกเงินเดือนบุคลากรได้ ยันไม่กระทบดูแลรักษา ปชช.
จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.63 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. …. จำนวน 100,395 ล้านบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นอื่น โดยมีในส่วนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถูกโอนงบประมาณไปด้วย จำนวน 2,400 ล้านบาท ส่งผลให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า จะกระทบกับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ของประชาชนนั้น
วานนี้ (23 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การโอนงบประมาณ 2,400 ล้านบาท ของ สปสช.นั้นเป็นการบริหารงบประมาณของ สำนักงบประมาณ กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ได้กระทบกับสิทธิบัตรทองแต่อย่างใด สำหรับรายละเอียดได้มอบหมายให้ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ชี้แจงต่อไป
“ขอยืนยันว่าสุขภาพของคนไทยตัดไม่ได้ สิทธิที่ประชาชนไทยต้องได้รับ และงบประมาณที่ใช้สำหรับดูแลประชาชนตัดไม่ได้เด็ดขาด” นายอนุมิน กล่าวย้ำ
ด้าน นพ.สุขุม กล่าวชี้แจงว่า จากภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องการแพทย์ พยาบาล บุคลากรต่างๆ มากขึ้น จึงมีการบรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข สธ.เพิ่มขึ้น 45,684 ตำแหน่ง ซึ่งเงินเดือนที่ต้องจ่ายนั้นไปรวมอยู่ในงบบัตรทอง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 46(2) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ดังนั้น ช่วงระหว่างปีที่มีการบรรจุข้าราชการมากขึ้น สปสช.ก็ต้องนำงบบัตรทอง 2,400 ล้านบาท ส่งคืนให้สำนักงบประมาณ เพื่อนำไปจ่ายเงินเดือน ซึ่งเป็นการดำเนินการกฎหมายที่กำหนดไว้
“อาจมองว่าเป็นการไปเอาเงินของ สปสช.มา แต่จริงๆ เป็นเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย เพราะกฎหมายบังคับจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ก็ต้องเอามาจ่าย แต่เรามีการหารือกับทางรองเลขาธิการ สปสช.แล้วว่า ถ้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนไม่พอ หรือเงินที่ต้องใช้ดูแลประชาชนไม่พอ ก็สามารถของบกลางได้ ซึ่ง สปสช.ก็ขอทุกปี ไม่ใช่ไม่เคยขอ ที่สำคัญช่วงโรคโควิด-19 รัฐบาลยังให้งบสนับสนุน สปสช.ไปแล้ว 3,260 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบแล้ว สปสช.ก็ยังได้งบเพิ่มขึ้นอยู่ด้วยซ้ำ” นพ.สุขุม กล่าว
นพ.สุขุม กล่าวว่า ในเรื่องของการการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ ยังได้รับการดูแลเหมือนเดิม ส่วนหาก สปสช.งบไม่พอก็สมารถของงบกลางเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งรัฐบาลยังเตรียมงบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท สำหรับการดูแลผู้ป่วยช่วงโควิด-19 ด้วย ส่วนกรณีเงินเดือนบุคลากรไปรวมอยู่ในงบบัตรทองและอาจทำให้สับสนนั้น ในปีถัดๆไป สปสช.ก็สามารถเสนอให้แยกเงินเดือนข้าราชการกลับมารวมกับของกระทรวงฯ ซึ่งต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป
จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.63 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. …. จำนวน 100,395 ล้านบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นอื่น โดยมีในส่วนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถูกโอนงบประมาณไปด้วย จำนวน 2,400 ล้านบาท ส่งผลให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า จะกระทบกับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ของประชาชนนั้น
วานนี้ (23 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การโอนงบประมาณ 2,400 ล้านบาท ของ สปสช.นั้นเป็นการบริหารงบประมาณของ สำนักงบประมาณ กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ได้กระทบกับสิทธิบัตรทองแต่อย่างใด สำหรับรายละเอียดได้มอบหมายให้ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ชี้แจงต่อไป
“ขอยืนยันว่าสุขภาพของคนไทยตัดไม่ได้ สิทธิที่ประชาชนไทยต้องได้รับ และงบประมาณที่ใช้สำหรับดูแลประชาชนตัดไม่ได้เด็ดขาด” นายอนุมิน กล่าวย้ำ
ด้าน นพ.สุขุม กล่าวชี้แจงว่า จากภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องการแพทย์ พยาบาล บุคลากรต่างๆ มากขึ้น จึงมีการบรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข สธ.เพิ่มขึ้น 45,684 ตำแหน่ง ซึ่งเงินเดือนที่ต้องจ่ายนั้นไปรวมอยู่ในงบบัตรทอง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 46(2) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ดังนั้น ช่วงระหว่างปีที่มีการบรรจุข้าราชการมากขึ้น สปสช.ก็ต้องนำงบบัตรทอง 2,400 ล้านบาท ส่งคืนให้สำนักงบประมาณ เพื่อนำไปจ่ายเงินเดือน ซึ่งเป็นการดำเนินการกฎหมายที่กำหนดไว้
“อาจมองว่าเป็นการไปเอาเงินของ สปสช.มา แต่จริงๆ เป็นเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย เพราะกฎหมายบังคับจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ก็ต้องเอามาจ่าย แต่เรามีการหารือกับทางรองเลขาธิการ สปสช.แล้วว่า ถ้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนไม่พอ หรือเงินที่ต้องใช้ดูแลประชาชนไม่พอ ก็สามารถของบกลางได้ ซึ่ง สปสช.ก็ขอทุกปี ไม่ใช่ไม่เคยขอ ที่สำคัญช่วงโรคโควิด-19 รัฐบาลยังให้งบสนับสนุน สปสช.ไปแล้ว 3,260 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบแล้ว สปสช.ก็ยังได้งบเพิ่มขึ้นอยู่ด้วยซ้ำ” นพ.สุขุม กล่าว
นพ.สุขุม กล่าวว่า ในเรื่องของการการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ ยังได้รับการดูแลเหมือนเดิม ส่วนหาก สปสช.งบไม่พอก็สมารถของงบกลางเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งรัฐบาลยังเตรียมงบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท สำหรับการดูแลผู้ป่วยช่วงโควิด-19 ด้วย ส่วนกรณีเงินเดือนบุคลากรไปรวมอยู่ในงบบัตรทองและอาจทำให้สับสนนั้น ในปีถัดๆไป สปสช.ก็สามารถเสนอให้แยกเงินเดือนข้าราชการกลับมารวมกับของกระทรวงฯ ซึ่งต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป