ผู้จัดการรายวัน360- “สมคิด”ดึง ส.อ.ท. สภาหอการค้าฯ และภาคเอกชน ร่วมคลังทำแผนพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังปลดล็อกดาวน์ คาดเห็นแผนมิ.ย.นี้ ปลื้มเป็นประเทศแรกๆ ที่มีแผนหลังจบโควิด-19 “สุริยะ”กางแผนจ่อชงงบหมื่นล้านบาทกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากฟื้นฟูเกษตรกรชาวไร่อ้อยรักษาระดับจ้างงาน ขณะที่ขุนคลัง “อุตตม”พร้อมรับข้อเสนอกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคเอกชน
วานนี้ (22 เม.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กระทรวงอุตสาหกรรมว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับกระทรวงการคลังที่จะทำแผนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการปลดล็อกปิดประเทศ (ล็อกดาวน์) ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy)ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาทอยู่แล้ว โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้ามาร่วมมือเพราะถือเป็นหัวใจที่จะทำให้ไทยก้าวผ่านโควิด-19 ไปได้และจะเห็นแผนนี้ชัดเจนในเดือนมิ.ย. 63 นี้
“เราเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่มีแผนฟื้นฟูศก.หลังจบโควิด-19 เพราะขณะนี้ไทยมียอดติดเชื้อลดต่ำลงมาก และเศรษฐกิจฐานรากเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะส่งออก ท่องเที่ยวคงไม่ฟื้นแน่นอนและจะหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาโตเช่นอดีตคงยากถ้าสหรัฐฯและยุโรปเขายังเป็นเช่นนี้อยู่ การบริโภคภายในประเทศและการใช้จ่ายภาครัฐจะสำคัญมากดังนั้น ขณะที่แรงงานจะกลับมาสู่โรงงานทั้งหมดก็ยังคงยากอยู่ทำอย่างไรที่จะให้เข้าไปสู่การผลิตภาคการเกษตรที่ยกระดับคุณภาพไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) นี่คือทางรอดที่จะหล่อเลี้ยงสังคมไทยให้ข้ามผ่านจุดนี้ไปได้นี่คือหัวใจ ”นายสมคิดกล่าว
ดังนั้นด้านการเงินคลังจะใช้กลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย(SME D Bank) ฯลฯเข้ามาดูแลโดยเฉพาะธ.ก.ส.จะชี้เป้าสินค้าให้และเข้าสู่ระบบดีไซน์แต่สิ่งสำคัญคือภาคเอกชนจะต้องเน้นเอาสินค้าที่จะพัฒาไปสู่ตลาดในประเทศได้อย่างไรซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับรายใหญ่ทั้ง ร้านค้าสะดวกซื้อ7-11 บิ๊กซี ท็อป รวมถึงปตท.ด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่าทางสภาหอการค้าฯ และส.อ.ท.ควรจะเข้ามาดูช่องทางเพิ่มด้วย ขณะเดียวกันขอให้เร่งทำฐานข้อมูล(Big Data) ต่อไปจะเป็นสิ่งจำเป็นมาก
“อุตสาหกรรมอาหารของไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวเราจะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้เสียเปรียบเวีดนามต้องต่อยอดให้ภาคเกษตรของเราเข้มแข็งให้ได้ ส่วนข้อเสนอของเอกชนด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการลดภาษีเงินได้ การเร่งจ่ายคืนภาษี ฯลฯ มอบหมายให้คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการตามข้อเสนอหากเห็นว่าเกิดประโยชน์ ส่วนออมสินลองไปดูว่าจะช่วยอย่างไรกับกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำ”นายสมคิดกล่าว
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกประเทศเน้นปกป้องอุตสาหกรรมตัวเอง ประเทศไทยใช้โอกาสนี้จะหันมาให้ความสำคัญเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้นโดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเองได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือSMEs ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19และภัยแล้งวงเงินรวมประมาณ 10,000 ล้านบาทที่จะขอสนับสนุนจากงบฟื้นฟูฯ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน 1. ด้านเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารจัดการและการตลาดซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) 2.ด้านการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการพักชำระหนี้ และเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยผ่อนปรน 34,500 ล้านบาท(ธพว.) และการลงทุนขยายปรับปรุงกิจการ 24,000 ล้านบาท(ธพว.)
3. การอำนายความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่าย อาทิ เว้นค่าธรรมเนียมรายปีโรงงาน เว้นค่าธรรมเนียมการบริการด้านมาตรฐาน เป็นต้นและ 4.ด้านการจัดหาแหล่งน้ำและจ้างงาน อาทิ จัดหาแหล่งน้ำและช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ประสบปัญหาภัยแล้งวงเงิน 367 ล้านบาทแบ่งเป็น จัดหาแหล่งน้ำใต้ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในช่วงภัยแล้ง 1,000 บ่อครอบคลุมพื้นที่ 20,000 ไร่ ช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยจัดซื้อพันธุ์อ้อยแจกจ่ายชาวไร่ 20,000 ตันจ้างเหมาเกษตรกรปลูกอ้อยพันธุ์ดีได้ผลผลิต 100,000 ตัน ปรับเปลี่ยนเกษตรกรสู่ Smart Farm 100,000 ไร่ จ้างงานเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำรวจข้อมูลระบบชี้นำเตือนภัย 5,000 ราย และจัดหาแหล่งน้ำขุมเหมือง 30 ล้านบาทครอบคลุมพื้นที่เหมือง 20,000 ไร่เกิดการจ้างงานในพื้นที่ 500 คน
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังกล่าวว่า จะรับข้อเสนอของภาคเอกชนไปพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูต่อไปซึ่งก่อนหน้านี้ได้มุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ภาคเกษตรและระยะต่อไปจะเร่งมุ่งเน้นในภาคธุรกิจต่างๆ ให้มากขึ้น
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนนโยบาย Local Economy ได้เตรียมที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านออนไลน์ให้เป็นช่องทางเดียวร่วมกับสภาหอการค้าฯจากปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างมีช่องทางในการดำเนินงานของตนเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามต้องการให้รัฐเร่งพิจารราข้อเสนอของเอกชนในระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบธุรกิจที่ยังค้างการพิจารณาอาทิ ขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ SME 3 ปี ทุกธุรกิจ(ปีภาษี63-65)โดยจะต้องเข้าระบบ E-Filling ปรับอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่ายทุกประเภทเป็นอัตราเดียวง 1% เฉพาะปี 2563 เป็นต้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจฐานรากที่จะให้ความสำคัญได้แก่ การเกษตรที่มูลค่าสูง และนำสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป แปลงเป็นสินค้ากลุ่มอาหาร เพื่อใช้บริโภคในประเทศและส่งออกได้ด้วย ซึ่งขณะนี้หอการค้าไทยมีการส่งเสริมอยู่แล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะต้องมีการใช้ประโยชน์จากBig Dataด้วย
วานนี้ (22 เม.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กระทรวงอุตสาหกรรมว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับกระทรวงการคลังที่จะทำแผนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการปลดล็อกปิดประเทศ (ล็อกดาวน์) ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy)ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาทอยู่แล้ว โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้ามาร่วมมือเพราะถือเป็นหัวใจที่จะทำให้ไทยก้าวผ่านโควิด-19 ไปได้และจะเห็นแผนนี้ชัดเจนในเดือนมิ.ย. 63 นี้
“เราเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่มีแผนฟื้นฟูศก.หลังจบโควิด-19 เพราะขณะนี้ไทยมียอดติดเชื้อลดต่ำลงมาก และเศรษฐกิจฐานรากเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะส่งออก ท่องเที่ยวคงไม่ฟื้นแน่นอนและจะหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาโตเช่นอดีตคงยากถ้าสหรัฐฯและยุโรปเขายังเป็นเช่นนี้อยู่ การบริโภคภายในประเทศและการใช้จ่ายภาครัฐจะสำคัญมากดังนั้น ขณะที่แรงงานจะกลับมาสู่โรงงานทั้งหมดก็ยังคงยากอยู่ทำอย่างไรที่จะให้เข้าไปสู่การผลิตภาคการเกษตรที่ยกระดับคุณภาพไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) นี่คือทางรอดที่จะหล่อเลี้ยงสังคมไทยให้ข้ามผ่านจุดนี้ไปได้นี่คือหัวใจ ”นายสมคิดกล่าว
ดังนั้นด้านการเงินคลังจะใช้กลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย(SME D Bank) ฯลฯเข้ามาดูแลโดยเฉพาะธ.ก.ส.จะชี้เป้าสินค้าให้และเข้าสู่ระบบดีไซน์แต่สิ่งสำคัญคือภาคเอกชนจะต้องเน้นเอาสินค้าที่จะพัฒาไปสู่ตลาดในประเทศได้อย่างไรซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับรายใหญ่ทั้ง ร้านค้าสะดวกซื้อ7-11 บิ๊กซี ท็อป รวมถึงปตท.ด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่าทางสภาหอการค้าฯ และส.อ.ท.ควรจะเข้ามาดูช่องทางเพิ่มด้วย ขณะเดียวกันขอให้เร่งทำฐานข้อมูล(Big Data) ต่อไปจะเป็นสิ่งจำเป็นมาก
“อุตสาหกรรมอาหารของไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวเราจะต้องช่วยกันดูแลไม่ให้เสียเปรียบเวีดนามต้องต่อยอดให้ภาคเกษตรของเราเข้มแข็งให้ได้ ส่วนข้อเสนอของเอกชนด้านต่างๆ ทั้งเรื่องการลดภาษีเงินได้ การเร่งจ่ายคืนภาษี ฯลฯ มอบหมายให้คลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการตามข้อเสนอหากเห็นว่าเกิดประโยชน์ ส่วนออมสินลองไปดูว่าจะช่วยอย่างไรกับกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำ”นายสมคิดกล่าว
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกประเทศเน้นปกป้องอุตสาหกรรมตัวเอง ประเทศไทยใช้โอกาสนี้จะหันมาให้ความสำคัญเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้นโดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเองได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือSMEs ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19และภัยแล้งวงเงินรวมประมาณ 10,000 ล้านบาทที่จะขอสนับสนุนจากงบฟื้นฟูฯ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน 1. ด้านเพิ่มประสิทธิภาพ บริหารจัดการและการตลาดซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) 2.ด้านการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการพักชำระหนี้ และเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยผ่อนปรน 34,500 ล้านบาท(ธพว.) และการลงทุนขยายปรับปรุงกิจการ 24,000 ล้านบาท(ธพว.)
3. การอำนายความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่าย อาทิ เว้นค่าธรรมเนียมรายปีโรงงาน เว้นค่าธรรมเนียมการบริการด้านมาตรฐาน เป็นต้นและ 4.ด้านการจัดหาแหล่งน้ำและจ้างงาน อาทิ จัดหาแหล่งน้ำและช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ประสบปัญหาภัยแล้งวงเงิน 367 ล้านบาทแบ่งเป็น จัดหาแหล่งน้ำใต้ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในช่วงภัยแล้ง 1,000 บ่อครอบคลุมพื้นที่ 20,000 ไร่ ช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยจัดซื้อพันธุ์อ้อยแจกจ่ายชาวไร่ 20,000 ตันจ้างเหมาเกษตรกรปลูกอ้อยพันธุ์ดีได้ผลผลิต 100,000 ตัน ปรับเปลี่ยนเกษตรกรสู่ Smart Farm 100,000 ไร่ จ้างงานเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำรวจข้อมูลระบบชี้นำเตือนภัย 5,000 ราย และจัดหาแหล่งน้ำขุมเหมือง 30 ล้านบาทครอบคลุมพื้นที่เหมือง 20,000 ไร่เกิดการจ้างงานในพื้นที่ 500 คน
นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังกล่าวว่า จะรับข้อเสนอของภาคเอกชนไปพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูต่อไปซึ่งก่อนหน้านี้ได้มุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ภาคเกษตรและระยะต่อไปจะเร่งมุ่งเน้นในภาคธุรกิจต่างๆ ให้มากขึ้น
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนนโยบาย Local Economy ได้เตรียมที่จะพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านออนไลน์ให้เป็นช่องทางเดียวร่วมกับสภาหอการค้าฯจากปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างมีช่องทางในการดำเนินงานของตนเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามต้องการให้รัฐเร่งพิจารราข้อเสนอของเอกชนในระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบธุรกิจที่ยังค้างการพิจารณาอาทิ ขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ SME 3 ปี ทุกธุรกิจ(ปีภาษี63-65)โดยจะต้องเข้าระบบ E-Filling ปรับอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่ายทุกประเภทเป็นอัตราเดียวง 1% เฉพาะปี 2563 เป็นต้น
นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจฐานรากที่จะให้ความสำคัญได้แก่ การเกษตรที่มูลค่าสูง และนำสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป แปลงเป็นสินค้ากลุ่มอาหาร เพื่อใช้บริโภคในประเทศและส่งออกได้ด้วย ซึ่งขณะนี้หอการค้าไทยมีการส่งเสริมอยู่แล้วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะต้องมีการใช้ประโยชน์จากBig Dataด้วย