"คลัง" กำหนดจ่ายเยียวยา 5 พันบาทรอบแรก 8 เม.ย.นี้ ย้ำทยอยจ่ายทุกวัน ไม่มีโควตา ขึ้นอยู่กับผลการคัดกรอง และการลงทะเบียนยังไม่สิ้นสุด เผยยอดผู้ขอยกเลิกลงทะเบียน จากข้อมูลคลาดเคลื่อนแล้วกว่า 2.6 แสนราย ขณะที่ พิษโควิด-19 เดือนเดียว คนไทยว่างงาน 1.4 แสน หลังสภานายจ้าง ประเมินตกงาน 6.5 ล้าน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 เม.ย.นี้ จะเป็นวันแรก ที่กระทรวงการคลังเริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยา กรณีว่างงาน 5 พันบาทต่อเดือน ต่อราย รวมเวลา 3 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จะส่งข้อความ SMS รวมถึง emailในกรณีที่แจ้งไว้ในระบบลงทะเบียนของ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ถึงผู้ลงทะเบียนทราบ ทั้งผู้ที่ผ่าน และไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติ ได้รับทราบด้วย ซึ่งผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียด ผลการคัดกรองเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน”
ส่วนการจ่ายเงินเยียวยานั้น กระทรวงการคลัง ย้ำว่าจะเป็นการทยอยจ่ายทุกวันตามผลการคัดกรอง และไม่มีการกำหนดโควต้าในแต่ละวัน จะจ่ายเงินได้กี่ราย อีกทั้งการจ่ายเงินในรอบนี้ ก็ไม่ใช่เป็นการจ่ายเงินให้เฉพาะของเดือน เม.ย. เนื่องจากการลงทะเบียนยังไม่คือว่าสิ้นสุดโครงการ อีกทั้ง การตรวจสอบคัดกรองในแต่ละราย ยังใช้เวลาไม่เท่ากันด้วย แต่ผู้อำนวยการ สศค. ยืนยัน หากผู้ลงทะเบียนแต่ละรายได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจนแล้วเสร็จ กระทรวงการคลัง จะรีบโอนเงินให้โดยทันที
ส่วนความคืบหน้าล่าสุด ในการอนุญาตให้ประชาชนที่เคยลงทะเบียนข้อมูลคลาดเคลื่อน สามารถจะเข้ามาขอยกเลิกการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในวันที่ 5 เม.ย. 63 เมื่อถึงเวลา 16.30 น. ประชาชนได้เข้าไปยกเลิกการลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยา ไปแล้วกว่า 2.6 แสนราย
พิษโควิด-19 เดือนเดียวว่างงาน 1.4 แสน
วานนี้ (5 เม.ย.) มีรายงานว่า ภายหลังสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไทย ได้ประเมินผลกระทบการว่างงาน จากผลกระทบไวรัสโควิด-19 โดยคาดว่าในเดือนมี.ค.ต่อเนื่องถึงเดือนเม.ย. จะมีคนตกงานไม่น้อยกว่า 6.5 ล้านคนนั้น ล่าสุด นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากตัวเลขลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ และส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อลงทะเบียนใช้สิทธิกรณีว่างงานออนไลน์ ผ่าน https://empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้าง
"พบว่าในช่วงเดือนมี.ค.63 มีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิ กรณีว่างงานแล้ว 144,861 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก.พ.ที่มีผู้มาขึ้นทะเบียน 84,177 คน และ เดือนม.ค. 74,775 คน คิดเป็น 41.89 % และ 48.38 % ตามลำดับ”
ทั้งนี้ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ ยังสามารถขึ้นทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวทางเว็บไซต์นี้ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=z_eKpk9sPzg&t=20s ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปติดต่อที่สำนักงาน เและ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ขอให้ประชาชนที่ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจนทำให้นายจ้าง สถานประกอบการ ต้องปิดกิจการ จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 200 วัน
หากเป็นการว่างงานจากการลาออกเอง จะได้รับเงินใน อัตรา 45% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 90 วัน แต่หากเป็นกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ได้แก่ กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน เพราะต้องกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อและกรณีหน่วยงานภาครัฐสั่งให้ปิดสถานประกอบการชั่วคราว จะต้องลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกับสำนักงานประกันสังคม
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 เม.ย.นี้ จะเป็นวันแรก ที่กระทรวงการคลังเริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยา กรณีว่างงาน 5 พันบาทต่อเดือน ต่อราย รวมเวลา 3 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จะส่งข้อความ SMS รวมถึง emailในกรณีที่แจ้งไว้ในระบบลงทะเบียนของ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ถึงผู้ลงทะเบียนทราบ ทั้งผู้ที่ผ่าน และไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองคุณสมบัติ ได้รับทราบด้วย ซึ่งผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียด ผลการคัดกรองเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน”
ส่วนการจ่ายเงินเยียวยานั้น กระทรวงการคลัง ย้ำว่าจะเป็นการทยอยจ่ายทุกวันตามผลการคัดกรอง และไม่มีการกำหนดโควต้าในแต่ละวัน จะจ่ายเงินได้กี่ราย อีกทั้งการจ่ายเงินในรอบนี้ ก็ไม่ใช่เป็นการจ่ายเงินให้เฉพาะของเดือน เม.ย. เนื่องจากการลงทะเบียนยังไม่คือว่าสิ้นสุดโครงการ อีกทั้ง การตรวจสอบคัดกรองในแต่ละราย ยังใช้เวลาไม่เท่ากันด้วย แต่ผู้อำนวยการ สศค. ยืนยัน หากผู้ลงทะเบียนแต่ละรายได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจนแล้วเสร็จ กระทรวงการคลัง จะรีบโอนเงินให้โดยทันที
ส่วนความคืบหน้าล่าสุด ในการอนุญาตให้ประชาชนที่เคยลงทะเบียนข้อมูลคลาดเคลื่อน สามารถจะเข้ามาขอยกเลิกการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ในวันที่ 5 เม.ย. 63 เมื่อถึงเวลา 16.30 น. ประชาชนได้เข้าไปยกเลิกการลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยา ไปแล้วกว่า 2.6 แสนราย
พิษโควิด-19 เดือนเดียวว่างงาน 1.4 แสน
วานนี้ (5 เม.ย.) มีรายงานว่า ภายหลังสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไทย ได้ประเมินผลกระทบการว่างงาน จากผลกระทบไวรัสโควิด-19 โดยคาดว่าในเดือนมี.ค.ต่อเนื่องถึงเดือนเม.ย. จะมีคนตกงานไม่น้อยกว่า 6.5 ล้านคนนั้น ล่าสุด นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากตัวเลขลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ และส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อลงทะเบียนใช้สิทธิกรณีว่างงานออนไลน์ ผ่าน https://empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้าง
"พบว่าในช่วงเดือนมี.ค.63 มีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิ กรณีว่างงานแล้ว 144,861 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก.พ.ที่มีผู้มาขึ้นทะเบียน 84,177 คน และ เดือนม.ค. 74,775 คน คิดเป็น 41.89 % และ 48.38 % ตามลำดับ”
ทั้งนี้ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ ยังสามารถขึ้นทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวทางเว็บไซต์นี้ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=z_eKpk9sPzg&t=20s ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปติดต่อที่สำนักงาน เและ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ขอให้ประชาชนที่ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจนทำให้นายจ้าง สถานประกอบการ ต้องปิดกิจการ จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 200 วัน
หากเป็นการว่างงานจากการลาออกเอง จะได้รับเงินใน อัตรา 45% ของค่าจ้างที่เคยได้รับ โดยระยะเวลาที่จ่ายจะไม่เกิน 90 วัน แต่หากเป็นกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ได้แก่ กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน เพราะต้องกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อและกรณีหน่วยงานภาครัฐสั่งให้ปิดสถานประกอบการชั่วคราว จะต้องลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกับสำนักงานประกันสังคม