ผู้จัดการรายวัน 360 - ธปท. เผยมาตรการเยียวยา "โควิด-19" ชุดที่ 3 เม็ดเงิน 4 แสนล้านบาท จะช่วยพยุงจีดีพีได้ 2-3% จากที่ประเมินไว้ติดลบ 5.3% ย้ำพิษโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจหนัก ไตรมาส 2 ติดลบต่ำสุด ขณะที่ตลาดหุ้นเด้งรับมาตรการเยียวยาฯ บวก38 จุด ปิดที่ 1,125.86 จุด
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง กรณีที่ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) ในปี 2563 มีอัตราการขยายตัวติดลบ 5.3% ว่า เกิดจากการที่ประเมินเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบทุกไตรมาส โดยจะติดลบมากที่สุดในไตรมาส 2 นี้ และจะขยายตัวติดลบน้อยลงในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีนี้ สืบเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปมากที่สุดในไตรมาส 2
ทั้งนี้ ประมาณการจีดีพีที่ -5.3% ได้รวมปัจจัยบวกเรื่องของมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคโควิด-19 ชุดที่ 1 และ 2 ซึ่งรวมถึงการแจกเงินเยียวยารายละ 5000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมทั้งหมด 3 ล้านรายด้วย จึงไม่สามารถจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก ยกเว้นกรณที่มีจำนวนผู้ได้รับแจกเงินมากกว่านี้ จะช่วยให้จีดีพีขยายตัวติดลบน้อยลง
สำหรับมาตรการเยียวยาฯ ชุดที่ 3 ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุจะมีขนาดใหญ่กว่ามาตรการชุดที่ 1 และ 2 รวมกัน หรือคิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท นั้น ธปท. ประเมินว่า เม็ดเงินจำนวนกว่า 4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2-3% ของจีดีพี ดังนั้นมาตรการฯ ชุดที่ 3 ก็จะช่วยให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง หรือจีดีพีติดลบน้อยลง
ส่วนเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. 63 หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวสูง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 42.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวในเกือบทุกสัญชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่หดตัวรุนแรง เนื่องจากทางการจีนประกาศใช้มาตรการปิดเมืองในหลายพื้นที่ และ ห้ามธุรกิจท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์เดินทางออกนอกประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างขึ้นในประเทศจีน
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะลดลงต่ำสุดเมื่อเทียบกับทุกไตรมาส เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรงมากขึ้นในเดือนมี.ค. กระทบต่อท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาล่าสุดวันที่ 28 มี.ค. มีเพียง 623 คนเท่านั้น จาก 120,000 คนในเดือนม.ค. ยังไม่รวมกับการปิดตัวลงของโรงแรม ไม่ว่าจะปิดถาวร หรือ ปิดชั่วคราว หรือ ยอดจองห้องพัก ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่า สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ด้านบรรยากาศการลงทุนลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (31 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวขึ้นค่อนข้างแรง เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังจากดัชนีภาคการผลิตของจีนดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ บวกกับนักลงทุนไทยสนองตอบกับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล รวมถึงตัวเลขอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อของไทยมีอัตราที่ลดลง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 1,127.92 จุด ต่ำสุด 1,104.12 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,125.86 จุด เพิ่มขึ้น 38.04 จุด หรือคิดเป็น 3.50% มูลค่าการซื้อขายรวม 56,906.16 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 1,648.90 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 5,923.28 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 366.73 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ขายสุทธิ 3,907.65 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิดที่ 20.00บาท เพิ่มขึ้น 1.20 บาท หรือคิดเป็น 6.38% มูลค่าการซื้อขาย 4,542.32 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปิดที่ 30.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.03% มูลค่าการซื้อขาย 3,438.72 ล้านบาท และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ปิดที่ 61.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือ 1.24% มูลค่า 2,317.01 ล้านบาท
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง กรณีที่ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (จีดีพี) ในปี 2563 มีอัตราการขยายตัวติดลบ 5.3% ว่า เกิดจากการที่ประเมินเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบทุกไตรมาส โดยจะติดลบมากที่สุดในไตรมาส 2 นี้ และจะขยายตัวติดลบน้อยลงในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีนี้ สืบเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปมากที่สุดในไตรมาส 2
ทั้งนี้ ประมาณการจีดีพีที่ -5.3% ได้รวมปัจจัยบวกเรื่องของมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคโควิด-19 ชุดที่ 1 และ 2 ซึ่งรวมถึงการแจกเงินเยียวยารายละ 5000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมทั้งหมด 3 ล้านรายด้วย จึงไม่สามารถจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก ยกเว้นกรณที่มีจำนวนผู้ได้รับแจกเงินมากกว่านี้ จะช่วยให้จีดีพีขยายตัวติดลบน้อยลง
สำหรับมาตรการเยียวยาฯ ชุดที่ 3 ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุจะมีขนาดใหญ่กว่ามาตรการชุดที่ 1 และ 2 รวมกัน หรือคิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท นั้น ธปท. ประเมินว่า เม็ดเงินจำนวนกว่า 4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2-3% ของจีดีพี ดังนั้นมาตรการฯ ชุดที่ 3 ก็จะช่วยให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง หรือจีดีพีติดลบน้อยลง
ส่วนเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. 63 หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวสูง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 42.8% จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวในเกือบทุกสัญชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่หดตัวรุนแรง เนื่องจากทางการจีนประกาศใช้มาตรการปิดเมืองในหลายพื้นที่ และ ห้ามธุรกิจท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์เดินทางออกนอกประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างขึ้นในประเทศจีน
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะลดลงต่ำสุดเมื่อเทียบกับทุกไตรมาส เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรงมากขึ้นในเดือนมี.ค. กระทบต่อท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาล่าสุดวันที่ 28 มี.ค. มีเพียง 623 คนเท่านั้น จาก 120,000 คนในเดือนม.ค. ยังไม่รวมกับการปิดตัวลงของโรงแรม ไม่ว่าจะปิดถาวร หรือ ปิดชั่วคราว หรือ ยอดจองห้องพัก ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่า สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ด้านบรรยากาศการลงทุนลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (31 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวขึ้นค่อนข้างแรง เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังจากดัชนีภาคการผลิตของจีนดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ บวกกับนักลงทุนไทยสนองตอบกับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล รวมถึงตัวเลขอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อของไทยมีอัตราที่ลดลง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 1,127.92 จุด ต่ำสุด 1,104.12 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,125.86 จุด เพิ่มขึ้น 38.04 จุด หรือคิดเป็น 3.50% มูลค่าการซื้อขายรวม 56,906.16 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 1,648.90 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 5,923.28 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 366.73 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ขายสุทธิ 3,907.65 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิดที่ 20.00บาท เพิ่มขึ้น 1.20 บาท หรือคิดเป็น 6.38% มูลค่าการซื้อขาย 4,542.32 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปิดที่ 30.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 6.03% มูลค่าการซื้อขาย 3,438.72 ล้านบาท และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ปิดที่ 61.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือ 1.24% มูลค่า 2,317.01 ล้านบาท