นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม กล่าวถึง การติดตามตรวจสอบกรณีหน้ากากอนามัยขาดตลาด และมีราคาแพงว่า จากการทำงานเชิงรุกร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซี่งมี พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าทีม พร้อมด้วย กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำโดย พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กรมโรงงานอุตสาหกรรม อย. ทำให้การติดตามตรวจสอบ การกักตุนหน้ากากอนามัยคืบหน้าไปมาก เราได้ข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหน้ากาก และเครื่องมือแพทย์ รวมถึงที่อยู่ของโรงงานผู้ผลิตต่างๆ ไว้ส่วนหนึ่งแล้ว
"จากนี้ข้อหาการขายหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมเกินราคา จะมีการนำพ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ เข้ามาพิจารณาฐานความผิดด้วย โดย อย. จะร่วมปฏิบัติการ เพื่อจัดการกับผู้ที่กักตุนหน้ากาก มีการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการออกหมายค้นต่างๆ โดยทางชมรมฯ เราประกาศไว้เลยว่า เราจะใช้เวลา15 วัน ในการติดตามหน้ากากอนามัยที่หายไป ให้กลับเข้ามาอยู่ในตลาดให้ได้"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา ทางชมรมฯได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าจับกุมโรงงาน และสถานที่ที่ใช้ในการกักตุนหน้ากาก ทั้งที่อยู่ภายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยชมรมฯได้ส่งแผนที่เป้าหมายให้ตำรวจท้องที่ เพื่อจับกุมดำเนินคดีผู้ที่กักตุน จากนั้นวันที่ 24 มี.ค. ชมรมฯได้นำบัญชีรายชื่อโรงงานผลิตหน้ากาก และบริษัทที่นำเข้าหน้ากาก และวัตถุดิบทั่วประเทศกว่า 1,000 บริษัท ไปมอบให้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. เพื่อสืบสวนติดตามจับกุม บริษัทที่ฝ่าฝืนกม. ลักลอบส่งออกหน้ากากอนามัย ต่อไป
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 5 ก็ได้สนธิกำลังเข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่ง ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งโรงงานนี้ ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 11 บริษัท ที่กรมการค้าภายในควบคุม การตรวจค้นครั้งนี้ สามารถยึดหน้ากากอนามัยได้ 45,000 ชิ้น
"ที่มาของข้อมูลที่นำไปสู่การตรวจค้นโรงงานที่จ.เชียงใหม่ มาจากการจับผู้ค้าในตลาดมืด ซึ่งได้ให้การซัดทอดว่า โรงงานดังกล่าวเป็นผู้ผลิตให้ เดิมโรงงานแห่งนี้ผลิตหน้ากากขายให้แก่โครงการธงฟ้าในภาคเหนือ แต่กลับนำหน้ากากมาขายในตลาดมืด ซึ่งพ่อค้าที่รับมาขายทางออนไลน์ในราคาสูงถึงกล่องละ 800 บาท"
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ล่าสุดทางชมรมฯ ได้พบข้อมูลหลักฐาน ที่บ่งชี้ถึงผู้เกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้าและเวชภัณฑ์ ที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ถึง 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มข้าราชการในกรมการค้าภายใน กลุ่มนักการเมืองในกระกรวงพาณิชย์ พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง รวมถึงมีทหาร ที่เข้ามาทำมาหากินกับเรื่องนี้ด้วย
ส่วนการตรวจสอบ 11 บริษท ที่กรมการค้าภายในกำกับดูแลอยู่ ซึ่งพบว่ามี 1 บริษัทที่ลักลอบจำหน่ายหน้ากากอนามัย ให้แก่ตลาดออนไลน์เป็นจำนวนมาก และแจ้งยอดการผลิตไม่ตรงกับความจริง เช่น แจ้งยอดแก่กรมการค้าภายในว่าผลิตได้ 200,000 ชิ้นต่อวัน แต่ความจริงผลิตได้ 500,000 ชิ้นต่อวัน โดยส่วนต่าง 300,000 ชิ้นนั้น ได้ลักลอบนำไปจำหน่ายให้แก่แก๊งนายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ เสี่ยบอย รวมทั้งกลุ่มข้าราชการจากกรมการค้าภายใน 3-4 ราย รวมถึงกลุ่มการเมืองด้วย
นอกจากนี้ เรายังมีข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจคือ เราพบว่ามีทหารเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินกับวิกฤตโควิด-19 เช่น ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ได้รับรายงานว่ามีทหารเข้าไปสั่งโรงงานไม่ให้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้ขาดตลาด ซึ่งคาดว่าอาจจะทำเพื่อปั่นราคา
"สำหรับกลุ่มนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นกลุ่มที่เคยพูดมาก่อน อยู่ในกระทรวงพาณิชย์ หลักฐานเริ่มปรากฏขึ้นเรื่อยๆ โรงงานที่จับได้ก็เป็นหนึ่งใน 11 บริษัท ที่กรมการค้าภายในเข้าไปควบคุม พบว่ามีการเอาหน้ากากอนามัยออกมาขายจำนวนมาก โดยเฉพาะวันที่ 29 ม.ค.63 เอามาขายให้แก่นายพันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคภราดรภาพ ถึง 1 ล้านชิ้น โดยนายพันธ์ยศ ได้ส่วนแบ่งไป 4 แสนบาท ระหว่างเดือนก.พ. ก็ยังมีการขายอีกหลายล้านชิ้น"
ทางชมรมฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับ 242 บริษัท ที่ยื่นเรื่องขอส่งออกหน้ากากอนามัย จากกรมการค้าภายใน แต่เรากลับไม่ได้รับความร่วมมือจากกรมการค้าภายใน ซึ่งในการขออนุญาตส่งออกจะต้องมีใบอนุญาต รง.4 ซึ่งระบุสถานที่ผลิต ถ้าได้ข้อมูลตรงนี้มา จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า โรงงานแต่ละแห่ง ตั้งอยู่ทึ่ไหน มีกำลังการผลิตเท่าไร และอาจนำไปสู่ข้อมูลว่าหน้ากากหายไปไหน ไปอยู่ในมือใครบ้าง
"ไม่ว่าเป็น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผบ.ตร. หรือทางผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ทำหนังสือขอไป กรมการค้าภายในก็ไม่ให้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ 242 บริษัท จะเป็นหลักฐานสำคัญในการตรวจสอบที่มาของหน้ากากที่เราตรวจจับได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้เราได้ข้อมูลของ 242 บริษัทดังกล่าวแล้ว โดยข้าราชการที่รักชาติรักแผ่นดิน แอบส่งข้อมูลให้เรา ต้องบอกว่าไม่มีทางรอดหรอก"
อีกประเด็นหนึ่งที่สังคมเคลือบแคลงใจอย่างยิ่ง ต่อกรณีการกักตุนหน้ากากอนามัย ก็คือบทบาทของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะลอยตัวอยู่เหนือปัญหา และไม่มีทีท่าว่าจะสนใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหายไปของหน้ากากอนามัยดังกล่าว ใช่หรือไม่
นายอัจฉริยะ ตั้งข้อสังเกตว่า เดิม 11 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ที่กรมการค้าภายในเข้าไปควบคุมนั้น อยู่ในความดูแลขององค์การเภสัชกรรม แต่หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ดึงมาอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายใน ก็เกิดปัญหาหน้ากากอนามัยหายไปจากระบบ แต่รมว.พาณิชย์ กลับไม่แก้ปัญหาใดๆ อีกทั้งยังตอบไม่ได้ว่า หน้ากากหายไปไหน และล่าสุดออกมายอมรับว่า หายไปในขั้นตอนของการขนส่ง แต่ก็ไม่มีการเอาผิดใคร
นอกจากนั้น ในการประชุมเกี่ยวกับการแกปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายกรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเรียกรมว.พาณิชย์ เข้าร่วมประชุมเลย มีแต่เรียก รมว.สาธารณสุข กับ รมว.มหาดไทย เข้าร่วมประชุม ทั้งๆ ที่มีปัญหาหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และเจลล้างมือ ขาดตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก
นายอัจฉริยะ ระบุว่า แม้การกักตุนหน้ากากจะไม่ใช่เรื่องของอาชญากรรม แต่ก็ถือเป็นการ “ฆาตกรรม”คนไทยในทางอ้อม เนื่องจากขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาไม่มีหน้ากากอนามัยที่จะใช้ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
ในขณะที่ประชาชนไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือในท้องตลาดได้ แต่กลับมาขายในตลาดออนไลน์ ในราคาที่แพงขึ้นเป็น 10 เท่า เช่น แอลกอฮอล์ ที่เดิมขายแค่ 20 บาท แต่ปัจจุบันขายในตลาดออนไลน์ถึง 350 บาท หน้ากากอนามัยเดิมขายแผ่นละ 50 สตางค์ แต่มาขายออนไลน์ในราคาชิ่นละ 25 บาท ซึ่งเป็นการซ้ำเติมประชาชนทั้งประเทศ
"ทางชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม จะมีรางวัลนำจับให้แก่พลเมืองดี ที่ชี้เบาะแสจนสามารถนำไปสู่การจับกุมผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใหญ่ได้ รายละ 10,000 บาท นอกจากนั้น สำหรับผู้ประกอบการแกร็บ หรือแท็กซี่ ที่ได้รับว่าจ้างจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ไปส่งหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ หากแจ้งข้อมูลมายังชมรมฯ จะได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน"นายอัจฉริยะ กล่าว
**อนุกมธ.เรียก"อัจฉริยะ"ให้ข้อมูลตุนหน้ากาก
นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน อนุกรรมาธิการคณะที่ 2 คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ อนุกมธ.คณะที่ 2 จะเชิญนายอัจฉริยะ มาให้ข้อมูลกับอนุกมธ. เรื่องการกักตุนหน้ากากอนามัย ในแง่มุมที่นายอัจฉริยะ ได้ไปสืบค้นข้อมูลเชิงลึกมา จากนั้นในวันที่ 1 เม.ย. นายอัจฉริยะ ก็จะมาให้ข้อมูลในเชิงลึกต่อคณะกมธ.ชุดใหญ่ อีกครั้ง
"จากนี้ข้อหาการขายหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมเกินราคา จะมีการนำพ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ เข้ามาพิจารณาฐานความผิดด้วย โดย อย. จะร่วมปฏิบัติการ เพื่อจัดการกับผู้ที่กักตุนหน้ากาก มีการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการออกหมายค้นต่างๆ โดยทางชมรมฯ เราประกาศไว้เลยว่า เราจะใช้เวลา15 วัน ในการติดตามหน้ากากอนามัยที่หายไป ให้กลับเข้ามาอยู่ในตลาดให้ได้"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา ทางชมรมฯได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าจับกุมโรงงาน และสถานที่ที่ใช้ในการกักตุนหน้ากาก ทั้งที่อยู่ภายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยชมรมฯได้ส่งแผนที่เป้าหมายให้ตำรวจท้องที่ เพื่อจับกุมดำเนินคดีผู้ที่กักตุน จากนั้นวันที่ 24 มี.ค. ชมรมฯได้นำบัญชีรายชื่อโรงงานผลิตหน้ากาก และบริษัทที่นำเข้าหน้ากาก และวัตถุดิบทั่วประเทศกว่า 1,000 บริษัท ไปมอบให้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. เพื่อสืบสวนติดตามจับกุม บริษัทที่ฝ่าฝืนกม. ลักลอบส่งออกหน้ากากอนามัย ต่อไป
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 5 ก็ได้สนธิกำลังเข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่ง ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งโรงงานนี้ ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 11 บริษัท ที่กรมการค้าภายในควบคุม การตรวจค้นครั้งนี้ สามารถยึดหน้ากากอนามัยได้ 45,000 ชิ้น
"ที่มาของข้อมูลที่นำไปสู่การตรวจค้นโรงงานที่จ.เชียงใหม่ มาจากการจับผู้ค้าในตลาดมืด ซึ่งได้ให้การซัดทอดว่า โรงงานดังกล่าวเป็นผู้ผลิตให้ เดิมโรงงานแห่งนี้ผลิตหน้ากากขายให้แก่โครงการธงฟ้าในภาคเหนือ แต่กลับนำหน้ากากมาขายในตลาดมืด ซึ่งพ่อค้าที่รับมาขายทางออนไลน์ในราคาสูงถึงกล่องละ 800 บาท"
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ล่าสุดทางชมรมฯ ได้พบข้อมูลหลักฐาน ที่บ่งชี้ถึงผู้เกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้าและเวชภัณฑ์ ที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ถึง 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มข้าราชการในกรมการค้าภายใน กลุ่มนักการเมืองในกระกรวงพาณิชย์ พ่อค้าแม่ค้าคนกลาง รวมถึงมีทหาร ที่เข้ามาทำมาหากินกับเรื่องนี้ด้วย
ส่วนการตรวจสอบ 11 บริษท ที่กรมการค้าภายในกำกับดูแลอยู่ ซึ่งพบว่ามี 1 บริษัทที่ลักลอบจำหน่ายหน้ากากอนามัย ให้แก่ตลาดออนไลน์เป็นจำนวนมาก และแจ้งยอดการผลิตไม่ตรงกับความจริง เช่น แจ้งยอดแก่กรมการค้าภายในว่าผลิตได้ 200,000 ชิ้นต่อวัน แต่ความจริงผลิตได้ 500,000 ชิ้นต่อวัน โดยส่วนต่าง 300,000 ชิ้นนั้น ได้ลักลอบนำไปจำหน่ายให้แก่แก๊งนายศรสุวีร์ ภู่รวีรัศวัชรี หรือ เสี่ยบอย รวมทั้งกลุ่มข้าราชการจากกรมการค้าภายใน 3-4 ราย รวมถึงกลุ่มการเมืองด้วย
นอกจากนี้ เรายังมีข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจคือ เราพบว่ามีทหารเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินกับวิกฤตโควิด-19 เช่น ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ได้รับรายงานว่ามีทหารเข้าไปสั่งโรงงานไม่ให้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้ขาดตลาด ซึ่งคาดว่าอาจจะทำเพื่อปั่นราคา
"สำหรับกลุ่มนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นกลุ่มที่เคยพูดมาก่อน อยู่ในกระทรวงพาณิชย์ หลักฐานเริ่มปรากฏขึ้นเรื่อยๆ โรงงานที่จับได้ก็เป็นหนึ่งใน 11 บริษัท ที่กรมการค้าภายในเข้าไปควบคุม พบว่ามีการเอาหน้ากากอนามัยออกมาขายจำนวนมาก โดยเฉพาะวันที่ 29 ม.ค.63 เอามาขายให้แก่นายพันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคภราดรภาพ ถึง 1 ล้านชิ้น โดยนายพันธ์ยศ ได้ส่วนแบ่งไป 4 แสนบาท ระหว่างเดือนก.พ. ก็ยังมีการขายอีกหลายล้านชิ้น"
ทางชมรมฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับ 242 บริษัท ที่ยื่นเรื่องขอส่งออกหน้ากากอนามัย จากกรมการค้าภายใน แต่เรากลับไม่ได้รับความร่วมมือจากกรมการค้าภายใน ซึ่งในการขออนุญาตส่งออกจะต้องมีใบอนุญาต รง.4 ซึ่งระบุสถานที่ผลิต ถ้าได้ข้อมูลตรงนี้มา จะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า โรงงานแต่ละแห่ง ตั้งอยู่ทึ่ไหน มีกำลังการผลิตเท่าไร และอาจนำไปสู่ข้อมูลว่าหน้ากากหายไปไหน ไปอยู่ในมือใครบ้าง
"ไม่ว่าเป็น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผบ.ตร. หรือทางผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ทำหนังสือขอไป กรมการค้าภายในก็ไม่ให้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ 242 บริษัท จะเป็นหลักฐานสำคัญในการตรวจสอบที่มาของหน้ากากที่เราตรวจจับได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้เราได้ข้อมูลของ 242 บริษัทดังกล่าวแล้ว โดยข้าราชการที่รักชาติรักแผ่นดิน แอบส่งข้อมูลให้เรา ต้องบอกว่าไม่มีทางรอดหรอก"
อีกประเด็นหนึ่งที่สังคมเคลือบแคลงใจอย่างยิ่ง ต่อกรณีการกักตุนหน้ากากอนามัย ก็คือบทบาทของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะลอยตัวอยู่เหนือปัญหา และไม่มีทีท่าว่าจะสนใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหายไปของหน้ากากอนามัยดังกล่าว ใช่หรือไม่
นายอัจฉริยะ ตั้งข้อสังเกตว่า เดิม 11 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ที่กรมการค้าภายในเข้าไปควบคุมนั้น อยู่ในความดูแลขององค์การเภสัชกรรม แต่หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ดึงมาอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายใน ก็เกิดปัญหาหน้ากากอนามัยหายไปจากระบบ แต่รมว.พาณิชย์ กลับไม่แก้ปัญหาใดๆ อีกทั้งยังตอบไม่ได้ว่า หน้ากากหายไปไหน และล่าสุดออกมายอมรับว่า หายไปในขั้นตอนของการขนส่ง แต่ก็ไม่มีการเอาผิดใคร
นอกจากนั้น ในการประชุมเกี่ยวกับการแกปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายกรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเรียกรมว.พาณิชย์ เข้าร่วมประชุมเลย มีแต่เรียก รมว.สาธารณสุข กับ รมว.มหาดไทย เข้าร่วมประชุม ทั้งๆ ที่มีปัญหาหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และเจลล้างมือ ขาดตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก
นายอัจฉริยะ ระบุว่า แม้การกักตุนหน้ากากจะไม่ใช่เรื่องของอาชญากรรม แต่ก็ถือเป็นการ “ฆาตกรรม”คนไทยในทางอ้อม เนื่องจากขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาไม่มีหน้ากากอนามัยที่จะใช้ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
ในขณะที่ประชาชนไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือในท้องตลาดได้ แต่กลับมาขายในตลาดออนไลน์ ในราคาที่แพงขึ้นเป็น 10 เท่า เช่น แอลกอฮอล์ ที่เดิมขายแค่ 20 บาท แต่ปัจจุบันขายในตลาดออนไลน์ถึง 350 บาท หน้ากากอนามัยเดิมขายแผ่นละ 50 สตางค์ แต่มาขายออนไลน์ในราคาชิ่นละ 25 บาท ซึ่งเป็นการซ้ำเติมประชาชนทั้งประเทศ
"ทางชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม จะมีรางวัลนำจับให้แก่พลเมืองดี ที่ชี้เบาะแสจนสามารถนำไปสู่การจับกุมผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใหญ่ได้ รายละ 10,000 บาท นอกจากนั้น สำหรับผู้ประกอบการแกร็บ หรือแท็กซี่ ที่ได้รับว่าจ้างจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ไปส่งหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ หากแจ้งข้อมูลมายังชมรมฯ จะได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน"นายอัจฉริยะ กล่าว
**อนุกมธ.เรียก"อัจฉริยะ"ให้ข้อมูลตุนหน้ากาก
นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน อนุกรรมาธิการคณะที่ 2 คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ อนุกมธ.คณะที่ 2 จะเชิญนายอัจฉริยะ มาให้ข้อมูลกับอนุกมธ. เรื่องการกักตุนหน้ากากอนามัย ในแง่มุมที่นายอัจฉริยะ ได้ไปสืบค้นข้อมูลเชิงลึกมา จากนั้นในวันที่ 1 เม.ย. นายอัจฉริยะ ก็จะมาให้ข้อมูลในเชิงลึกต่อคณะกมธ.ชุดใหญ่ อีกครั้ง