วานนี้ (24มี.ค.) ที่รัฐสภา คณะผู้บริหาร บริษัท ยัสปาล ( Juspal)แอนด์ ซันส์ จำกัด มอบหน้ากากผ้าจำนวน 6,000 ชิ้น ให้แก่ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่ยังขาดแคลนหน้ากากอนามัย
ทั้งนี้นายชวน กล่าวภายหลังว่าได้มีหนังสือแจ้งไปยังส.ส.ทั้ง 500 คน ถึงแนวทางการปฏิบัติตัวระหว่างที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งเข้าใจดีว่า ส.ส.ยังจำเป็นต้องปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้การแพร่ระบาดได้ลุกลามไปยังต่างจังหวัดแล้ว จึงไม่อยากให้ ส.ส.คนใดอยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อแม้แต่คนเดียว
ส่วนการเลื่อนการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ จากเดือนพ.ค.ออกไปก่อนได้หรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้มี ส.ว.บางคนคงเข้าใจผิดว่าสามารถเลื่อนสมัยประชุมได้ แต่หากพิจารณาตามรธน.แล้ว พบว่าการเปิดสมัยประชุม จะต้องเป็นไปตามรธน.กล่าวคือในปีหนึ่ง ต้องมีสมัยประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน ดังนั้นในวันที่ 22 พ.ค.จะเป็นวันเริ่มสมัยประชุมตามเดิมต่อไป แต่หากเมื่อเริ่มสมัยประชุมไปแล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถงดการประชุมได้
อย่างไรก็ตามได้มอบหมายให้เลขาธิการสภาฯไปหารือถึงแนวทางในการจัดประชุมสภาฯ โดยที่ส.ส.400-500 คน ไม่ต้องมาประชุมโดยพร้อมกัน
** ไฟเขียวขรก.สภาฯทำงานที่บ้าน
นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการมอบนโยบายให้ข้าราชการสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำงานที่บ้านในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ข้าราชการของสำนักเลขาธิการสภาฯ มีทั้งหมด 2,200 คน เบื้องต้นในสัปดาห์แรก จะให้ทำงานที่บ้าน 50 เปอร์เซ็นต์ สัปดาห์ต่อมาจะเพิ่มเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเริ่มมาตรการนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. ถึง 24 เม.ย. โดยข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มที่ไม่มีความจำเป็นต้องมาทำงานที่สภาฯให้ทำงานที่บ้าน โดยให้มีการลงชื่อเข้าทำงานผ่านแอปพลิเคชั่นในแต่ละวัน ในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 07.30-08.30 น. และลงชื่อออกจากการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น ในเวลา 16.30 น. ส่วนใครจะออกนอกบ้าน ต้องมีการแจ้งข้อมูล ผ่านแอปพลิเคชั่นด้วย ทั้งนี้ใครไม่ปฏิบัติตาม แอบหนีไปข้างนอก โดยไม่แจ้งให้ทราบ ถือว่ามีความผิดทางวินัย
อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บ้านจะต้องมีประสิทธิผลเหมือนกับการทำงานที่สภาฯ โดยการทำงานที่บ้านจะถูกนำมาวัดผลในการทำงานของแต่ละคน เพื่อให้มีผลต่อการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ทางสำนักเลขาธิการสภาฯ ยังมีการเตรียมความพร้อมเรื่อง เตรียมสถานที่ให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่พักอาศัยอยู่ในสภาฯเลย หากมีการประกาศเคอร์ฟิว แล้วไม่สามารถกลับบ้านได้ทัน
ส่วนกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง ได้สั่งให้มีการกักตัว เพื่อดูอาการอยู่ที่บ้าน 14 วัน ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในแผนกบรรณารักษ์ 6 คน และกลุ่มงานของ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ที่ขอกักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน ซึ่งกลุ่มนี้ มีทั้งหมด 12 คน
ทั้งนี้นายชวน กล่าวภายหลังว่าได้มีหนังสือแจ้งไปยังส.ส.ทั้ง 500 คน ถึงแนวทางการปฏิบัติตัวระหว่างที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งเข้าใจดีว่า ส.ส.ยังจำเป็นต้องปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้การแพร่ระบาดได้ลุกลามไปยังต่างจังหวัดแล้ว จึงไม่อยากให้ ส.ส.คนใดอยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อแม้แต่คนเดียว
ส่วนการเลื่อนการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ จากเดือนพ.ค.ออกไปก่อนได้หรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้มี ส.ว.บางคนคงเข้าใจผิดว่าสามารถเลื่อนสมัยประชุมได้ แต่หากพิจารณาตามรธน.แล้ว พบว่าการเปิดสมัยประชุม จะต้องเป็นไปตามรธน.กล่าวคือในปีหนึ่ง ต้องมีสมัยประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน ดังนั้นในวันที่ 22 พ.ค.จะเป็นวันเริ่มสมัยประชุมตามเดิมต่อไป แต่หากเมื่อเริ่มสมัยประชุมไปแล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถงดการประชุมได้
อย่างไรก็ตามได้มอบหมายให้เลขาธิการสภาฯไปหารือถึงแนวทางในการจัดประชุมสภาฯ โดยที่ส.ส.400-500 คน ไม่ต้องมาประชุมโดยพร้อมกัน
** ไฟเขียวขรก.สภาฯทำงานที่บ้าน
นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการมอบนโยบายให้ข้าราชการสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำงานที่บ้านในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ข้าราชการของสำนักเลขาธิการสภาฯ มีทั้งหมด 2,200 คน เบื้องต้นในสัปดาห์แรก จะให้ทำงานที่บ้าน 50 เปอร์เซ็นต์ สัปดาห์ต่อมาจะเพิ่มเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเริ่มมาตรการนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. ถึง 24 เม.ย. โดยข้าราชการและเจ้าหน้าที่กลุ่มที่ไม่มีความจำเป็นต้องมาทำงานที่สภาฯให้ทำงานที่บ้าน โดยให้มีการลงชื่อเข้าทำงานผ่านแอปพลิเคชั่นในแต่ละวัน ในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 07.30-08.30 น. และลงชื่อออกจากการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น ในเวลา 16.30 น. ส่วนใครจะออกนอกบ้าน ต้องมีการแจ้งข้อมูล ผ่านแอปพลิเคชั่นด้วย ทั้งนี้ใครไม่ปฏิบัติตาม แอบหนีไปข้างนอก โดยไม่แจ้งให้ทราบ ถือว่ามีความผิดทางวินัย
อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บ้านจะต้องมีประสิทธิผลเหมือนกับการทำงานที่สภาฯ โดยการทำงานที่บ้านจะถูกนำมาวัดผลในการทำงานของแต่ละคน เพื่อให้มีผลต่อการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งด้วย นอกจากนี้ทางสำนักเลขาธิการสภาฯ ยังมีการเตรียมความพร้อมเรื่อง เตรียมสถานที่ให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่พักอาศัยอยู่ในสภาฯเลย หากมีการประกาศเคอร์ฟิว แล้วไม่สามารถกลับบ้านได้ทัน
ส่วนกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง ได้สั่งให้มีการกักตัว เพื่อดูอาการอยู่ที่บ้าน 14 วัน ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในแผนกบรรณารักษ์ 6 คน และกลุ่มงานของ นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ที่ขอกักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน ซึ่งกลุ่มนี้ มีทั้งหมด 12 คน