วานนี้ (19มี.ค.) ที่รัฐสภา นายสุชน ชาลีเครือ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เป็นตัวแทน อดีตประธานรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตประธานรัฐสภา นายสนิท วรปัญญา นายประสพสุข บุญเดช และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา เข้าพบ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ หลังการประชุมของอดีตประธานรัฐสภาทั้ง 6 คน เพื่อขอให้นำความเห็นของที่ประชุม เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีการหลอมรวมทุกพลังในชาติ เพื่อรับมือวิกฤตการณ์ให้รอบด้าน
นายสุชน กล่าวว่า ข้อเสนอของเราต้องการเรียกร้องให้มีการเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อหาทางออกของปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาไวรัสโควิด-19 และการรับฟังปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 หลังเกิดการชุมนุมของนักศึกษา หรือแฟลชม็อบเรียกร้องให้มีการแก้ไข ไปจนถึงปัญหาภัยแล้ง และภัยอื่นๆ ของประเทศ เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าระบบรัฐสภา เป็นกลไกที่สามารถแก้ปัญหาให้ประเทศได้
ด้านนายนิคม กล่าวว่า ตนให้กำลังใจการทำงานของรัฐบาล แต่ขอเสนอให้การทำงานจากนี้ มีความเป็นเอกภาพ และไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องมีมาตรการที่เด็ดขาด โดยอดีตประธานรัฐสภาทั้ง 6 คน มีข้อเสนออยากเห็นการปิดประเทศ และเริ่มต้นกระบวนการจัดการโดยการนับ 1 ใหม่ ทั้งนี้ความหมายของการปิดประเทศ หมายถึง การวางมาตรการที่เข้มข้นขึ้น เช่น ห้ามต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขณะที่คนไทยที่จะเดินทางเข้าประเทศ ต้องได้รับการตรวจสอบที่เข้มข้น ขณะเดียวกันในประเทศสามารถเดินทางได้ แต่ต้องมีการเฝ้าระวังที่เข้มงวด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
นายสุชน กล่าวเสริมว่า การปิดประเทศ คือการวางมาตรการที่เข้มข้น เด็ดขาด ไม่ได้หมายถึงการห้ามไม่ให้มีการเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าว เพราะหากใครมีหน้าที่อะไร ก็สามารถทำได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับนายชวน ท่านเห็นด้วยกับหลักการ และบอกจะนำเรื่องนี้ไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
** ภาคประชาชนหนุนปิดประเทศ 3สัปดาห์
วานนี้ (19 มี.ค.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”เป็น แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ให้รัฐบาล ประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19เป็น ระยะที่ 3 พร้อมดำเนินการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ มีข้อความดังนี้
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 212 คน เสียชีวิต 1 คน เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 7,546 คน (ณ วันที่ 18 มี.ค.63 ) โดยที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า พบการแพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย มีผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุต้นตอของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน รวมทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง ไม่ได้มารักษาในทันทีตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อที่เหมาะสม และมาตรการของรัฐมีความล่าช้า อีกทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ อาจติดเชื้อ ทั้งจากการตรวจผู้ป่วยโดยตรง หรือขั้นตอนการให้การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องดูดเสมหะในผู้ป่วยหนัก อาจแปลงสภาพการ ติดเชื้อจากสภาพเสมหะของเหลวกลายเป็นการติดเชื้อในละอองอากาศในโรงพยาบาลนั้น
เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเรียกร้องมาตรการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉินระยะสั้น เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประกาศรับรองให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ในการป้องกัน ตรวจคัดกรอง กักบริเวณ และรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดงบประมาณ เพื่อชดเชยการหยุดงานหรือการปิดกิจการชั่วคราวเพื่อหยุดการแพร่กระจายโรค
2. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมไม่ให้มีการรวมตัวกันของประชาชนเกินกว่า 5 คน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
3. ให้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ทุกหน่วยงาน ให้พร้อมรองรับการดูแลการแพร่ระบาดในระยะที่ 3 อย่างเป็นรูปธรรม
4. สิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง การรักษาพยาบาลให้เป็นสิทธิของประชาชนที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถได้รับการคัดกรองฟรีทั้งของรัฐและเอกชน ส่วนการรักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคนที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยตรงให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน
5. ให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน โดยให้โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลกรณี COVID-19 เท่ากับการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินสีแดง อันหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่รัฐเป็นผู้กำหนดราคาให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บ โดยรัฐสนับสนุนให้บุคลากรของภาคเอกชนได้สิทธิอื่นๆ เท่าเทียมโรงพยาบาลของรัฐในการดูแลผู้ป่วย
6. ลดการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดย
1) ห้ามการเดินทางเข้าและออกจากประเทศเป็นเวลา 3 สัปดาห์
2) สนับสนุนการประกาศของรัฐบาลที่ได้ปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ สถานออกกำลังกาย รวมทั้งสถานบริการอื่นใดที่เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชน
3) ขอให้ประกาศปิดส่วนราชการ ยกเว้นงานหรือบริการที่มีความจำเป็นสาธารณะ และขอความร่วมมือสำนักงาน บริษัท ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และผู้ผลิตต่าง ๆ ทั้งหมดหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว โดยรัฐบาลจัดให้มีมาตรการทางการเงิน งบประมาณ เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ หรือการลดหย่อนภาษี เพื่อให้ความช่วยเหลือกับบริษัท และผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ลดการจ้างงาน พร้อมจัดสรรงบประมาณของรัฐใหม่ ที่ไม่จำเป็น รวมทั้งงบประมาณที่เตรียมการเพื่อจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น มาสนับสนุน
4) ขอความร่วมมือประชาชนงดการเคลื่อนที่ โดยให้อยู่กับบ้านหรือทำงานที่บ้าน
7. มาตรการของรัฐและการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด ต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ให้สามารถสำรองอาหารในระหว่างการประกาศนี้
8. สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อกักตนอยู่ที่บ้าน หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ขอให้กักบริเวณเป็นห้องต่างหากโดยเฉพาะ ถ้ายังไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มเติมสู่บุคคลอื่น เนื่องจากโรคนี้ไม่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกรายเสมอไป เพราะผู้ป่วยสามารถหายป่วยเองได้ ดังนั้นโรงพยาบาลควรให้บริการเฉพาะผู้ป่วยหนักเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดในโรงพยาบาล
9. รัฐมีหน้าที่จัดสรรหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกครัวเรือน
การจะหยุดโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างเป็นเอกภาพ พร้อมเพรียงของพี่น้องประชาชนด้วยมาตรการแรงในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดโรคระบาดนี้ได้ เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ขอให้กำลังใจและขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการสนับสนุนแนวทางดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายในขณะนี้ให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด
นายสุชน กล่าวว่า ข้อเสนอของเราต้องการเรียกร้องให้มีการเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อหาทางออกของปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาไวรัสโควิด-19 และการรับฟังปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 หลังเกิดการชุมนุมของนักศึกษา หรือแฟลชม็อบเรียกร้องให้มีการแก้ไข ไปจนถึงปัญหาภัยแล้ง และภัยอื่นๆ ของประเทศ เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าระบบรัฐสภา เป็นกลไกที่สามารถแก้ปัญหาให้ประเทศได้
ด้านนายนิคม กล่าวว่า ตนให้กำลังใจการทำงานของรัฐบาล แต่ขอเสนอให้การทำงานจากนี้ มีความเป็นเอกภาพ และไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องมีมาตรการที่เด็ดขาด โดยอดีตประธานรัฐสภาทั้ง 6 คน มีข้อเสนออยากเห็นการปิดประเทศ และเริ่มต้นกระบวนการจัดการโดยการนับ 1 ใหม่ ทั้งนี้ความหมายของการปิดประเทศ หมายถึง การวางมาตรการที่เข้มข้นขึ้น เช่น ห้ามต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขณะที่คนไทยที่จะเดินทางเข้าประเทศ ต้องได้รับการตรวจสอบที่เข้มข้น ขณะเดียวกันในประเทศสามารถเดินทางได้ แต่ต้องมีการเฝ้าระวังที่เข้มงวด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
นายสุชน กล่าวเสริมว่า การปิดประเทศ คือการวางมาตรการที่เข้มข้น เด็ดขาด ไม่ได้หมายถึงการห้ามไม่ให้มีการเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อหารือในประเด็นดังกล่าว เพราะหากใครมีหน้าที่อะไร ก็สามารถทำได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับนายชวน ท่านเห็นด้วยกับหลักการ และบอกจะนำเรื่องนี้ไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
** ภาคประชาชนหนุนปิดประเทศ 3สัปดาห์
วานนี้ (19 มี.ค.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต โพสต์ข้อความในแฟนเพจ “ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”เป็น แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ให้รัฐบาล ประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19เป็น ระยะที่ 3 พร้อมดำเนินการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ มีข้อความดังนี้
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 212 คน เสียชีวิต 1 คน เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 7,546 คน (ณ วันที่ 18 มี.ค.63 ) โดยที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า พบการแพร่ระบาดไปทั่วทุกภูมิภาคของไทย มีผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุต้นตอของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน รวมทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง ไม่ได้มารักษาในทันทีตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย ทั้งยังไม่มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่เชื้อที่เหมาะสม และมาตรการของรัฐมีความล่าช้า อีกทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ อาจติดเชื้อ ทั้งจากการตรวจผู้ป่วยโดยตรง หรือขั้นตอนการให้การรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องดูดเสมหะในผู้ป่วยหนัก อาจแปลงสภาพการ ติดเชื้อจากสภาพเสมหะของเหลวกลายเป็นการติดเชื้อในละอองอากาศในโรงพยาบาลนั้น
เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเรียกร้องมาตรการปิดประเทศ ปิดเมือง ปิดบ้าน และประกาศภาวะฉุกเฉินระยะสั้น เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรค โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประกาศรับรองให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ในการป้องกัน ตรวจคัดกรอง กักบริเวณ และรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดงบประมาณ เพื่อชดเชยการหยุดงานหรือการปิดกิจการชั่วคราวเพื่อหยุดการแพร่กระจายโรค
2. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมไม่ให้มีการรวมตัวกันของประชาชนเกินกว่า 5 คน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
3. ให้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ทุกหน่วยงาน ให้พร้อมรองรับการดูแลการแพร่ระบาดในระยะที่ 3 อย่างเป็นรูปธรรม
4. สิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง การรักษาพยาบาลให้เป็นสิทธิของประชาชนที่เท่าเทียมกัน โดยหากเป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถได้รับการคัดกรองฟรีทั้งของรัฐและเอกชน ส่วนการรักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคนที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยตรงให้สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียน
5. ให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศมาตรการกำกับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน โดยให้โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลกรณี COVID-19 เท่ากับการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินสีแดง อันหมายถึงค่ารักษาพยาบาลที่รัฐเป็นผู้กำหนดราคาให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บ โดยรัฐสนับสนุนให้บุคลากรของภาคเอกชนได้สิทธิอื่นๆ เท่าเทียมโรงพยาบาลของรัฐในการดูแลผู้ป่วย
6. ลดการเคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อระงับการแพร่กระจายของเชื้อ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดย
1) ห้ามการเดินทางเข้าและออกจากประเทศเป็นเวลา 3 สัปดาห์
2) สนับสนุนการประกาศของรัฐบาลที่ได้ปิดสถานศึกษา สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ สถานออกกำลังกาย รวมทั้งสถานบริการอื่นใดที่เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชน
3) ขอให้ประกาศปิดส่วนราชการ ยกเว้นงานหรือบริการที่มีความจำเป็นสาธารณะ และขอความร่วมมือสำนักงาน บริษัท ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า โรงงาน และผู้ผลิตต่าง ๆ ทั้งหมดหยุดกิจการเป็นการชั่วคราว โดยรัฐบาลจัดให้มีมาตรการทางการเงิน งบประมาณ เงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ หรือการลดหย่อนภาษี เพื่อให้ความช่วยเหลือกับบริษัท และผู้ได้รับผลกระทบ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ลดการจ้างงาน พร้อมจัดสรรงบประมาณของรัฐใหม่ ที่ไม่จำเป็น รวมทั้งงบประมาณที่เตรียมการเพื่อจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น มาสนับสนุน
4) ขอความร่วมมือประชาชนงดการเคลื่อนที่ โดยให้อยู่กับบ้านหรือทำงานที่บ้าน
7. มาตรการของรัฐและการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด ต้องดำเนินการให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้ต่ำ ให้สามารถสำรองอาหารในระหว่างการประกาศนี้
8. สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อกักตนอยู่ที่บ้าน หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในบ้าน ขอให้กักบริเวณเป็นห้องต่างหากโดยเฉพาะ ถ้ายังไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มเติมสู่บุคคลอื่น เนื่องจากโรคนี้ไม่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกรายเสมอไป เพราะผู้ป่วยสามารถหายป่วยเองได้ ดังนั้นโรงพยาบาลควรให้บริการเฉพาะผู้ป่วยหนักเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดในโรงพยาบาล
9. รัฐมีหน้าที่จัดสรรหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกครัวเรือน
การจะหยุดโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างเป็นเอกภาพ พร้อมเพรียงของพี่น้องประชาชนด้วยมาตรการแรงในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดโรคระบาดนี้ได้ เครือข่ายประชาชนเพื่อลดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ขอให้กำลังใจและขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในการสนับสนุนแนวทางดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายในขณะนี้ให้เข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด