ผู้จัดการรายวัน360- ทบ.เปิดสายตรง"บิ๊กแดง"ให้ทหารร้องเรียนแล้ว เผยมีนายพล-พันเอกพิเศษ เกษียณอยู่บ้านหลวงเกือบ 100 คน ขีดเส้นย้ายออกมี.ค.นี้ รับผ่อนผันเป็นกรณี ตามเหตุจำเป็น ยันไม่ได้กระทบทหารชั้นประทวน ระบุ"บ้านสวัสดิการ"เป็นโครงการที่ดี แต่พร้อมทบทวน-ยกเลิก หากถูกมองว่าเป็นปัญหา
เช้าวานนี้ (19ก.พ.) ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.รมน. เป็นประธานพิธีงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 12 ปี ประจำปี 2563 โดยมีคณะกรรมการอำนวยการ กอ.รมน. ผู้แทนส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ กอ.รมน. เข้าร่วม
ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีฯ พล.อ.อภิรัชต์ ได้เดินทางกลับทันที โดยมอบหมายให้ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผบ.ทบ. แถลงรายละเอียดการเปิดสายด่วนให้กำลังพลร้องเรียนถึง ผบ.ทบ.ได้โดยตรง ว่า จากนโยบายของ ผบ.ทบ. ที่ต้องการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกำลังพลให้รวดเร็ว จึงได้จัดตั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกำลังพลกับ ผบ.ทบ. คือ สายตรงแก้ไขปัญหาสำหรับกำลังพลกองทัพบก หมายเลขโทรศัพท์ 02-018-7330 หรือสายตรง ผบ.ทบ. โดยเป็นการดำเนินการจากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ในลักษณะคอลเซ็นเตอร์ตลอด 24 ชม. มีสโลแกนว่า “ทุกเรื่องคือความลับ ทุกเรื่องถึงผบ.ทบ.”ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว
พล.อ.ณัฐพล ยังกล่าวถึง แนวทางแก้ไขปัญหาบ้านพักของกำลังพลชั้นผู้น้อยที่เกษียณไปแล้ว แต่ยังเดือดร้อนเรื่องที่พักอาศัยว่า ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยจัดลำดับความเดือดร้อนทั้งคนที่อยู่ในราชการ และคนที่เกษียณ ไปพร้อมๆ กัน โดยมี 3 แนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. ต้องสร้างบ้านพักเพิ่ม ซึ่งทำอย่างไรก็ไม่เพียงพอ และยังสิ้นเปลืองงบประมาณ 2. การเช่าบ้านตามสิทธิ์ของแต่ละคน และ 3. โครงการบ้านสวัสดิการ ซึ่งเป็นโครงการที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่มีบ้านหลวง เพราะเป็นการออมเงินเพื่อไปซื้อบ้านเป็นของตนเอง สามารถอยู่ยาวไปจนกระทั่งเกษียณไปแล้ว แต่ที่เกิดปัญหาเรื่องนี้ขึ้น ก็ต้องมาดูว่าเกิดจากอะไร เป็นที่คน หรือระบบ ซึ่งหากสามารถแก้ได้ก็ต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้ากองทัพบก มองแล้วว่าเป็นปัญหาก็ต้องยกเลิก จึงต้องขอทำความเข้าใจว่า บางครั้งเรื่องที่ดีอาจจะเดินไม่ได้ เพราะสังคมมองว่าเป็นเรื่องทุจริต โกง มีผลประโยชน์ของนายทหารผู้ใหญ่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลายโครงการเป็นโครงการที่ดี ให้กำลังพลชั้นผู้น้อยมีบ้านเป็นของตัวเอง
พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ตอนนี้กำลังให้หน่วยสรุปเข้ามาภายในเดือนมี.ค.นี้ ว่าทหารเกษียณแล้วยังอยู่บ้านหลวง มีจำนวนเท่าไร เพื่อเราจะแจ้งไปว่า ขอให้ส่งคืนด้วย แต่ขอให้เข้าใจว่าในสังคมไทยนั้นยืดหยุ่นได้ ในบางกรณีที่ต้องผ่อนผัน ก็ต้องมีกรอบเวลา ซึ่งในอดีตยอมรับว่ามีการผ่อนผันหลายปี เช่น ทหารที่ทำงานตามชายแดน ที่เกษียณแล้วไม่มีบ้านพัก จึงต้องพิจารณาตามกรณี
อย่างไรก็ตาม จำนวนบ้านพักทั้งหมดในส่วนกลาง มีไม่เกิน 100 หลัง สำหรับระดับชั้นนายพล พันเอกพิเศษ ซึ่งระหว่างดำเนินการก็คาดว่าจะมีคนทยอยออกไปเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือ ทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด และเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขามีบ้านอยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของส.ว. ยังไม่เห็นรายชื่อว่ามีอยู่จำนวนเท่าไร
ส่วนการตั้งคำถามของสังคมว่า เหตุใดนายทหารระดับสูง ซึ่งมีเงินเดือนสูง จึงไม่มีกำลังทรัพย์ซื้อบ้านของตนเอง แต่มาอยู่บ้านหลวง พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ต้องไปถามแต่ละคน ซึ่งอาจมองได้ว่าเขายังมีงานที่ต้องรับใช้ประเทศชาติอยู่ จึงอยากฝากสื่อมวลชนว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนายพลที่ยังอยู่บ้านหลวง ก็กระทบกับบ้านของชั้นนายพลด้วยกัน ไม่ใช่นายพลจะไปอยู่บ้านนายสิบ จนทำให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีบ้านอยู่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน
เช้าวานนี้ (19ก.พ.) ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.รมน. เป็นประธานพิธีงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 12 ปี ประจำปี 2563 โดยมีคณะกรรมการอำนวยการ กอ.รมน. ผู้แทนส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ กอ.รมน. เข้าร่วม
ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีฯ พล.อ.อภิรัชต์ ได้เดินทางกลับทันที โดยมอบหมายให้ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผบ.ทบ. แถลงรายละเอียดการเปิดสายด่วนให้กำลังพลร้องเรียนถึง ผบ.ทบ.ได้โดยตรง ว่า จากนโยบายของ ผบ.ทบ. ที่ต้องการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกำลังพลให้รวดเร็ว จึงได้จัดตั้งช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกำลังพลกับ ผบ.ทบ. คือ สายตรงแก้ไขปัญหาสำหรับกำลังพลกองทัพบก หมายเลขโทรศัพท์ 02-018-7330 หรือสายตรง ผบ.ทบ. โดยเป็นการดำเนินการจากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ในลักษณะคอลเซ็นเตอร์ตลอด 24 ชม. มีสโลแกนว่า “ทุกเรื่องคือความลับ ทุกเรื่องถึงผบ.ทบ.”ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้ว
พล.อ.ณัฐพล ยังกล่าวถึง แนวทางแก้ไขปัญหาบ้านพักของกำลังพลชั้นผู้น้อยที่เกษียณไปแล้ว แต่ยังเดือดร้อนเรื่องที่พักอาศัยว่า ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยจัดลำดับความเดือดร้อนทั้งคนที่อยู่ในราชการ และคนที่เกษียณ ไปพร้อมๆ กัน โดยมี 3 แนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. ต้องสร้างบ้านพักเพิ่ม ซึ่งทำอย่างไรก็ไม่เพียงพอ และยังสิ้นเปลืองงบประมาณ 2. การเช่าบ้านตามสิทธิ์ของแต่ละคน และ 3. โครงการบ้านสวัสดิการ ซึ่งเป็นโครงการที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่มีบ้านหลวง เพราะเป็นการออมเงินเพื่อไปซื้อบ้านเป็นของตนเอง สามารถอยู่ยาวไปจนกระทั่งเกษียณไปแล้ว แต่ที่เกิดปัญหาเรื่องนี้ขึ้น ก็ต้องมาดูว่าเกิดจากอะไร เป็นที่คน หรือระบบ ซึ่งหากสามารถแก้ได้ก็ต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้ากองทัพบก มองแล้วว่าเป็นปัญหาก็ต้องยกเลิก จึงต้องขอทำความเข้าใจว่า บางครั้งเรื่องที่ดีอาจจะเดินไม่ได้ เพราะสังคมมองว่าเป็นเรื่องทุจริต โกง มีผลประโยชน์ของนายทหารผู้ใหญ่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลายโครงการเป็นโครงการที่ดี ให้กำลังพลชั้นผู้น้อยมีบ้านเป็นของตัวเอง
พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ตอนนี้กำลังให้หน่วยสรุปเข้ามาภายในเดือนมี.ค.นี้ ว่าทหารเกษียณแล้วยังอยู่บ้านหลวง มีจำนวนเท่าไร เพื่อเราจะแจ้งไปว่า ขอให้ส่งคืนด้วย แต่ขอให้เข้าใจว่าในสังคมไทยนั้นยืดหยุ่นได้ ในบางกรณีที่ต้องผ่อนผัน ก็ต้องมีกรอบเวลา ซึ่งในอดีตยอมรับว่ามีการผ่อนผันหลายปี เช่น ทหารที่ทำงานตามชายแดน ที่เกษียณแล้วไม่มีบ้านพัก จึงต้องพิจารณาตามกรณี
อย่างไรก็ตาม จำนวนบ้านพักทั้งหมดในส่วนกลาง มีไม่เกิน 100 หลัง สำหรับระดับชั้นนายพล พันเอกพิเศษ ซึ่งระหว่างดำเนินการก็คาดว่าจะมีคนทยอยออกไปเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือ ทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด และเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนที่อยู่ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขามีบ้านอยู่แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของส.ว. ยังไม่เห็นรายชื่อว่ามีอยู่จำนวนเท่าไร
ส่วนการตั้งคำถามของสังคมว่า เหตุใดนายทหารระดับสูง ซึ่งมีเงินเดือนสูง จึงไม่มีกำลังทรัพย์ซื้อบ้านของตนเอง แต่มาอยู่บ้านหลวง พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ต้องไปถามแต่ละคน ซึ่งอาจมองได้ว่าเขายังมีงานที่ต้องรับใช้ประเทศชาติอยู่ จึงอยากฝากสื่อมวลชนว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนายพลที่ยังอยู่บ้านหลวง ก็กระทบกับบ้านของชั้นนายพลด้วยกัน ไม่ใช่นายพลจะไปอยู่บ้านนายสิบ จนทำให้ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีบ้านอยู่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน