"จุรินทร์" ถกร่วมภาครัฐและเอกชน แก้ปมปัญหาอุปสรรค 11 ประเด็น เร่งขับเคลื่อนการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย เล็งกำหนดจุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ เตรียมลงนาม MOU มาเลเซียด้านขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร ประเมินผลเปิดด่านสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชม. สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ลดขั้นตอนผ่านตม. บูมเมืองยาพารา พัฒนาท่าเทียบเรือฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน ช่วยสินค้า 5 จังหวัดใต้ เพิ่มยอดขายทั้งใน และต่างประเทศ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ณ โรงแรมอิมพิเรียล จ.นราธิวาส วานนี้ (16 ก.พ.)ว่า ได้พิจารณาปัญหาและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็นรวมทั้งสิ้น 11 ประเด็น ซึ่งจะเร่งดำเนินการทันที และต่อเนื่อง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการไทย และเพิ่มยอดการค้าชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ข้อสรุปทั้ง 11 ประเด็น ได้แก่ 1. การกำหนดจุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ ขณะนี้กำลังสำรวจและออกแบบถนนร่วมกันโดยกรมทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จ ต้นมี.ค. 63 งบประมาณ140 ล้านบาท และคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคจะประชุมเพื่อเห็นชอบจุดเชื่อมดังกล่าว ภายในเดือนเม.ย.63 ถ้าได้รับจัดสรรงบฯ จะก่อสร้างเสร็จภายใน 1 ปี แต่สามารถเปิดด่านสะเดาแห่งใหม่ได้ภายในต.ค.63 ให้รถขนส่งสินค้า เข้ามาใช้บริการก่อน
2. เร่งรัดการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้า และขนส่งผู้โดยสาร ข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งจะสามารถลงนาม MOUได้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า โดยไทยได้ส่งร่าง MOUให้มาเลเซียพิจารณาแล้ว และมาเลเซียจะตอบกลับมาภายในเดือนมี.ค.63 จากนั้นเสนอ ครม. เห็นชอบ ก็จะลงนามได้ทันที ทำให้ไทยสามารถข้ามพรมแดนไปถึงสิงคโปร์ได้
3. เปิดด่านศุลกากรสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชม. จากนี้ไทยและมาเลเซีย จะร่วมกันประเมินผลความคุ้มค่าของการขยายเวลาเปิดด่านภายในเดือนเม.ย.63 เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาขยายเวลาต่อไป หรือไม่ ซึ่งประโยชน์ที่เห็นชัด คือความรวดเร็วของการขนส่งสินค้า
4. เร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอสุไหงโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง)ได้มอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพในการติดตามความคืบหน้า
5.เร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่ อ.ตากใบ (ตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์) จะมีการเร่งรัดสร้างแพขนานยนต์อันใหม่ ให้เสร็จและให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว 39 ล้านบาท โดย อบจ.นราธิวาส และ มอบให้ ศอ.บต. เร่งรัดติดตามความคืบหน้า ส่วนด่านบูเก๊ะตา ที่มีปัญหาในความไม่พร้อมของสถานที่ทำงาน ของหน่วยงาน 7 หน่วยงาน ที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพ เชิญหน่วยงาน 9 หน่วยหารือ เพื่อทำให้ด่านบูเก๊ะตา ใช้คอนเทนเนอร์ทำงานชั่วคราว เพื่อเร่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุด
6.โครงการรถไฟทางคู่ หาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายให้สร้างรถไฟทางคู่ ทั้งจากกรุงเทพฯ ลงไป และสร้างจากสุไหงโก-ลก ขึ้นมาพร้อมกันทีเดียว โดย ศอ.บต. จะติดตามเรื่องนี้ และจะตั้งงบและเริ่มต้นศึกษาการสร้างรถไฟรางคู่เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ในปี 64
7. ลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารทางพิธีการศุลกากร ณ ด่านชายแดน โดยที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เร่งรัดการจัดการลดอุปสรรคสำหรับยานพาหนะส่วนบุคคล ที่ต้องกรอกทั้งใบสำแดงสินค้าของกรมศุลกากร และใบ ตม. 2 และ 3 (Border pass)ขอให้ลดขั้นตอนให้เหลือขั้นตอนเดียว
8. ดำเนินโครงการเมืองยางพารา มีความคืบหน้าว่า "มิชลิน" ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้ซื้อน้ำยางสด 1 แสนตัน ในปีที่ผ่านมา และหลังจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตกลงไปช่วยสนับสนุนการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียให้ มิชลิน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ และกนอ. ยังจะลดค่าเช่าให้ SMEs เหลือตารางเมตรละ 20 บาท จาก 150 บาท เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น
9. โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารขนาดใหญ่ ที่ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ในเรื่องนี้ กรมเจ้าท่าทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)ของทั้ง 2 แห่ง คือ สมุย และ ภูเก็ต เพื่อเสนอครม. ในเดือนส.ค.64 และระหว่างต.ค.64 และก.ย.65 จะคัดเลือกผู้ร่วมทุน และทำรายงาน EIA กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 69 เปิดบริการปี 70
10. ส่งเสริมการตลาดสินค้าศักยภาพ 247 รายการ ของ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในประเทศ และส่งออก ได้มอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หาทางช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการขายออนไลน์และอื่นๆ
11. กรณีไม่สามารถส่งออกนม และแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซียได้นั้น ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC)ไทย-มาเลเซีย ครั้งต่อไป
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ณ โรงแรมอิมพิเรียล จ.นราธิวาส วานนี้ (16 ก.พ.)ว่า ได้พิจารณาปัญหาและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็นรวมทั้งสิ้น 11 ประเด็น ซึ่งจะเร่งดำเนินการทันที และต่อเนื่อง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการไทย และเพิ่มยอดการค้าชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ข้อสรุปทั้ง 11 ประเด็น ได้แก่ 1. การกำหนดจุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ ขณะนี้กำลังสำรวจและออกแบบถนนร่วมกันโดยกรมทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จ ต้นมี.ค. 63 งบประมาณ140 ล้านบาท และคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคจะประชุมเพื่อเห็นชอบจุดเชื่อมดังกล่าว ภายในเดือนเม.ย.63 ถ้าได้รับจัดสรรงบฯ จะก่อสร้างเสร็จภายใน 1 ปี แต่สามารถเปิดด่านสะเดาแห่งใหม่ได้ภายในต.ค.63 ให้รถขนส่งสินค้า เข้ามาใช้บริการก่อน
2. เร่งรัดการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้า และขนส่งผู้โดยสาร ข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งจะสามารถลงนาม MOUได้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า โดยไทยได้ส่งร่าง MOUให้มาเลเซียพิจารณาแล้ว และมาเลเซียจะตอบกลับมาภายในเดือนมี.ค.63 จากนั้นเสนอ ครม. เห็นชอบ ก็จะลงนามได้ทันที ทำให้ไทยสามารถข้ามพรมแดนไปถึงสิงคโปร์ได้
3. เปิดด่านศุลกากรสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชม. จากนี้ไทยและมาเลเซีย จะร่วมกันประเมินผลความคุ้มค่าของการขยายเวลาเปิดด่านภายในเดือนเม.ย.63 เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาขยายเวลาต่อไป หรือไม่ ซึ่งประโยชน์ที่เห็นชัด คือความรวดเร็วของการขนส่งสินค้า
4. เร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอสุไหงโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง)ได้มอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพในการติดตามความคืบหน้า
5.เร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่ อ.ตากใบ (ตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์) จะมีการเร่งรัดสร้างแพขนานยนต์อันใหม่ ให้เสร็จและให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว 39 ล้านบาท โดย อบจ.นราธิวาส และ มอบให้ ศอ.บต. เร่งรัดติดตามความคืบหน้า ส่วนด่านบูเก๊ะตา ที่มีปัญหาในความไม่พร้อมของสถานที่ทำงาน ของหน่วยงาน 7 หน่วยงาน ที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพ เชิญหน่วยงาน 9 หน่วยหารือ เพื่อทำให้ด่านบูเก๊ะตา ใช้คอนเทนเนอร์ทำงานชั่วคราว เพื่อเร่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุด
6.โครงการรถไฟทางคู่ หาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายให้สร้างรถไฟทางคู่ ทั้งจากกรุงเทพฯ ลงไป และสร้างจากสุไหงโก-ลก ขึ้นมาพร้อมกันทีเดียว โดย ศอ.บต. จะติดตามเรื่องนี้ และจะตั้งงบและเริ่มต้นศึกษาการสร้างรถไฟรางคู่เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ในปี 64
7. ลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารทางพิธีการศุลกากร ณ ด่านชายแดน โดยที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เร่งรัดการจัดการลดอุปสรรคสำหรับยานพาหนะส่วนบุคคล ที่ต้องกรอกทั้งใบสำแดงสินค้าของกรมศุลกากร และใบ ตม. 2 และ 3 (Border pass)ขอให้ลดขั้นตอนให้เหลือขั้นตอนเดียว
8. ดำเนินโครงการเมืองยางพารา มีความคืบหน้าว่า "มิชลิน" ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้ซื้อน้ำยางสด 1 แสนตัน ในปีที่ผ่านมา และหลังจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตกลงไปช่วยสนับสนุนการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียให้ มิชลิน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ และกนอ. ยังจะลดค่าเช่าให้ SMEs เหลือตารางเมตรละ 20 บาท จาก 150 บาท เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น
9. โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารขนาดใหญ่ ที่ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ในเรื่องนี้ กรมเจ้าท่าทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)ของทั้ง 2 แห่ง คือ สมุย และ ภูเก็ต เพื่อเสนอครม. ในเดือนส.ค.64 และระหว่างต.ค.64 และก.ย.65 จะคัดเลือกผู้ร่วมทุน และทำรายงาน EIA กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 69 เปิดบริการปี 70
10. ส่งเสริมการตลาดสินค้าศักยภาพ 247 รายการ ของ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในประเทศ และส่งออก ได้มอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หาทางช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการขายออนไลน์และอื่นๆ
11. กรณีไม่สามารถส่งออกนม และแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซียได้นั้น ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC)ไทย-มาเลเซีย ครั้งต่อไป