นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความเห็นเรื่องที่ดินของน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ยังเป็นพื้นที่ป่า ว่า ยังไม่แน่ใจว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่าอย่างไร เพราะมีหลายข้อ รู้เพียงว่าตอบมาแล้ว ซึ่งหัวข้อที่กรมป่าไม้สงสัยหนักที่สุด ตรงที่ว่า กรมป่าไม้ หรือสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( ส.ป.ก.) กันแน่ ที่จะเป็นผู้ที่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการ ซึ่งคำตอบในข้อนี้ กฤษฎีกาได้ตอบแล้วว่า เป็นอำนาจของทั้งสองฝ่าย เพียงแต่ ส.ป.ก. ไม่มีอำนาจจับ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจในการจับ ดังนั้น จึงจับใครไม่ได้ แต่กรมป่าไม้ มีอำนาจจับได้ โดยเฉพาะถ้าที่ดินนั้นเป็นที่ดินป่าไม้"
อย่างไรก็ตาม ต้องไปดูว่าแต่ละคนได้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่เมื่อไร และ ส.ป.ก. เข้าดำเนินการในที่ดินดังกล่าว ในขั้นขนาดไหนแล้ว เกณฑ์ที่กฤษฎีกา ใช้ประกอบกับที่เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อปี 2558 คือ ที่ดินนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นที่ดินของ ส.ป.ก. ก็ต่อเมื่อ 1. มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่ 2. ครม.จะต้องมีมติว่า ที่ดินแปลงนั้นเข้าสู่กระบวนการปฏิรูป 3. ส.ป.ก. จะต้องมีการออกแผนงานปฏิรูปสำหรับที่ดินแปลงนั้น และ 4. ได้มีงบฯ สำหรับการเข้าไปดำเนินการปฏิรูป
ถ้าครบทั้ง 4 ข้อ ดังกล่าว ที่ดินแปลงนั้นก็จะตกเป็นที่ของส.ป.ก. และพ้นสภาพจากการเป็นป่าสงวนทันที แต่ถ้ายังไม่ครบใน 4 ข้อนี้ ก็จะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน และเมื่อเพิกถอนการเป็นป่าสงวน ก็จะกลายเป็นพื้นที่ของส.ป.ก. แต่ศาลฎีกาก็ดี กฤษฎีกาก็ดี ครั้งนี้ได้วินิจฉัยย้ำสำคัญ ว่า สมมติว่ามีที่ดินทั้งหมด 682 ไร่ เฉพาะแปลงที่ได้ดำเนินการครบตามคุณสมบัติ 4 ข้อ นี้เท่านั้น แปลงอื่นที่ยังไม่ได้ดำเนินการครบ แม้จะคลุมเครือ หรือเข้าข่ายก็ยังไม่เป็นการเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวน หลักสำคัญมีอยู่แค่นี้ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงต้องนำกลับไปพิจารณาว่า ที่ดินของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าข่ายอยู่แค่ไหน ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ตอบ เพราะเขาไม่ใช่ผู้วินิจฉัยคดี" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า หากกรมป่าไม้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อกรณีนี้ แล้วจะต้องทำทั้งประเทศหรือไม่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้กรมป่าไม้จะต้องเป็นผู้พิจารณา ว่าจะทำอย่างไร และเมื่อวันที่ตนเชิญมาหารือ กรมป่าไม้ก็ระบุว่า ในวันที่ 12 ก.พ. คือวันที่ ส.ป.ก. จะเข้าไปสำรวจพื้นที่
"คราวที่แล้ว น.ส.ปารีณา ได้ทำหนังสือแจ้งว่าได้ส่งมอบพื้นที่ดินคืน แต่มีเงื่อนไขว่า ถ้าหากมีการจัดที่ดินให้กับเกษตรกร ก็ขอให้ดิฉันก่อนนะคะ ซึ่งทางส.ป.ก. ก็บอกว่า ตั้งเงื่อนไขเช่นนี้ไม่ได้ ก็ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบคืน และพอแจ้งกลับไป น.ส.ปารีณา ก็ทำหนังสือแจ้งกลับมาว่าขอส่งมอบให้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการส่งมอบแล้ว ส่วนจะเป็นการส่งมอบจริงหรือไม่จริง ทาง ส.ป.ก. ก็ต้องเข้าไปในพื้นที่เพื่อดูว่ามีอะไร ตรงไหน อย่างไร และทำอะไร แต่ปรากฏว่าเข้าไปแล้วเจ้าตัวไม่ยอมมาชี้เขต เจ้าหน้าที่จึงเข้าไม่ได้ และไม่กล้าเข้า จึงนัดใหม่ในวันเดียวกันนี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่ดินจะต้องมาชี้เขต ถ้าไม่มาชี้ หรือไม่มาบอก ก็เท่ากับว่าคุณยังไม่ได้คืนที่ดิน" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่าถ้า น.ส.ปารีณา ไม่ไปชี้เขต จะมีปัญหาอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า สามารถมอบตัวแทนไปได้ แต่ถ้าไม่ไปชี้เขต และไม่ได้มอบหมายให้ใครไป ก็มีความผิดในฐานไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว มีความผิดตาม พ.ร.บ. ส.ป.ก. มาตรา 47 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 เป็นความผิดฐานไม่ให้ความร่วมมือ ขัดขวางโดยการนำชี้หลักเขต ไม่ใช่เรื่องการบุกรุก เพราะกฎหมาย ส.ป.ก.ไม่มีโทษอาญา มีโทษฐานเดียวคือ การขัดขวางเจ้าพนักงานตาม มาตรา 47
ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางป่าไม้ และ ส.ป.ก. เข้าไปดูในพื้นที่เรื่องการทำประโยชน์ ในพื้นที่แปลงดังกล่าว ภายใน 1-2วันนี้ ถ้าได้ข้อสรุปว่าเป็นพื้นที่ใช้สอยอย่างไร เท่าไร แล้วก็จะดำเนินการแจ้งความ และดำเนินการตามกฏหมาย เมื่อกฤษฎีกาตอบมาก็รู้แล้วว่า หน่วยงานไหนจะต้องดำเนินการ เพราะในส่วนของกรมป่าไม้ เรามีทั้ง พ.ร.บ.ป่าสงวน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่จะแจ้งดำเนินการส่วน ส.ป.ก. ก็เป็นเรื่องส.ป.ก.ไปดำเนินการ
"เมื่อเราได้คำตอบรับจากกฤษฎีกามาแล้ว ทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ว่าจะต้องดำเนินการต่อไป อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ภายใน1-2 วันนี้ จะไปดำเนินการแจ้งความตามกฎหมาย โดยเป็นหน้าที่กรมป่าไม้ เรื่องที่ดินคุณปารีณา ผมไม่มีความกังวลใดๆ ถ้าวัดตรงไหนออกมาเกิน ก็ฟ้องแจ้งความตามปกติ ไม่ได้ละเว้นหรือละเลย" นายวราวุธ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณี ส.ส.คนอื่น ที่รุกที่ป่า จะดำเนินการอย่างไร นายวราวุธ กล่าวว่า ถ้าจะให้กรมป่าไม้ไปไล่สืบทั้งหมด ก็ใช่ที่ แต่กรณีของคุณปารีณา เมื่อมีการร้องเรียนก็ว่ากันไป ขอย้ำว่า กระทรวงฯ ดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ได้เร่ง ไม่ได้ดึง ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายทุกประการ
อย่างไรก็ตาม ต้องไปดูว่าแต่ละคนได้ครอบครองที่ดินมาตั้งแต่เมื่อไร และ ส.ป.ก. เข้าดำเนินการในที่ดินดังกล่าว ในขั้นขนาดไหนแล้ว เกณฑ์ที่กฤษฎีกา ใช้ประกอบกับที่เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อปี 2558 คือ ที่ดินนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นที่ดินของ ส.ป.ก. ก็ต่อเมื่อ 1. มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่ 2. ครม.จะต้องมีมติว่า ที่ดินแปลงนั้นเข้าสู่กระบวนการปฏิรูป 3. ส.ป.ก. จะต้องมีการออกแผนงานปฏิรูปสำหรับที่ดินแปลงนั้น และ 4. ได้มีงบฯ สำหรับการเข้าไปดำเนินการปฏิรูป
ถ้าครบทั้ง 4 ข้อ ดังกล่าว ที่ดินแปลงนั้นก็จะตกเป็นที่ของส.ป.ก. และพ้นสภาพจากการเป็นป่าสงวนทันที แต่ถ้ายังไม่ครบใน 4 ข้อนี้ ก็จะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน และเมื่อเพิกถอนการเป็นป่าสงวน ก็จะกลายเป็นพื้นที่ของส.ป.ก. แต่ศาลฎีกาก็ดี กฤษฎีกาก็ดี ครั้งนี้ได้วินิจฉัยย้ำสำคัญ ว่า สมมติว่ามีที่ดินทั้งหมด 682 ไร่ เฉพาะแปลงที่ได้ดำเนินการครบตามคุณสมบัติ 4 ข้อ นี้เท่านั้น แปลงอื่นที่ยังไม่ได้ดำเนินการครบ แม้จะคลุมเครือ หรือเข้าข่ายก็ยังไม่เป็นการเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวน หลักสำคัญมีอยู่แค่นี้ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงต้องนำกลับไปพิจารณาว่า ที่ดินของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าข่ายอยู่แค่ไหน ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ตอบ เพราะเขาไม่ใช่ผู้วินิจฉัยคดี" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า หากกรมป่าไม้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อกรณีนี้ แล้วจะต้องทำทั้งประเทศหรือไม่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้กรมป่าไม้จะต้องเป็นผู้พิจารณา ว่าจะทำอย่างไร และเมื่อวันที่ตนเชิญมาหารือ กรมป่าไม้ก็ระบุว่า ในวันที่ 12 ก.พ. คือวันที่ ส.ป.ก. จะเข้าไปสำรวจพื้นที่
"คราวที่แล้ว น.ส.ปารีณา ได้ทำหนังสือแจ้งว่าได้ส่งมอบพื้นที่ดินคืน แต่มีเงื่อนไขว่า ถ้าหากมีการจัดที่ดินให้กับเกษตรกร ก็ขอให้ดิฉันก่อนนะคะ ซึ่งทางส.ป.ก. ก็บอกว่า ตั้งเงื่อนไขเช่นนี้ไม่ได้ ก็ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบคืน และพอแจ้งกลับไป น.ส.ปารีณา ก็ทำหนังสือแจ้งกลับมาว่าขอส่งมอบให้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการส่งมอบแล้ว ส่วนจะเป็นการส่งมอบจริงหรือไม่จริง ทาง ส.ป.ก. ก็ต้องเข้าไปในพื้นที่เพื่อดูว่ามีอะไร ตรงไหน อย่างไร และทำอะไร แต่ปรากฏว่าเข้าไปแล้วเจ้าตัวไม่ยอมมาชี้เขต เจ้าหน้าที่จึงเข้าไม่ได้ และไม่กล้าเข้า จึงนัดใหม่ในวันเดียวกันนี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่ดินจะต้องมาชี้เขต ถ้าไม่มาชี้ หรือไม่มาบอก ก็เท่ากับว่าคุณยังไม่ได้คืนที่ดิน" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่าถ้า น.ส.ปารีณา ไม่ไปชี้เขต จะมีปัญหาอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า สามารถมอบตัวแทนไปได้ แต่ถ้าไม่ไปชี้เขต และไม่ได้มอบหมายให้ใครไป ก็มีความผิดในฐานไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว มีความผิดตาม พ.ร.บ. ส.ป.ก. มาตรา 47 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 เป็นความผิดฐานไม่ให้ความร่วมมือ ขัดขวางโดยการนำชี้หลักเขต ไม่ใช่เรื่องการบุกรุก เพราะกฎหมาย ส.ป.ก.ไม่มีโทษอาญา มีโทษฐานเดียวคือ การขัดขวางเจ้าพนักงานตาม มาตรา 47
ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางป่าไม้ และ ส.ป.ก. เข้าไปดูในพื้นที่เรื่องการทำประโยชน์ ในพื้นที่แปลงดังกล่าว ภายใน 1-2วันนี้ ถ้าได้ข้อสรุปว่าเป็นพื้นที่ใช้สอยอย่างไร เท่าไร แล้วก็จะดำเนินการแจ้งความ และดำเนินการตามกฏหมาย เมื่อกฤษฎีกาตอบมาก็รู้แล้วว่า หน่วยงานไหนจะต้องดำเนินการ เพราะในส่วนของกรมป่าไม้ เรามีทั้ง พ.ร.บ.ป่าสงวน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่จะแจ้งดำเนินการส่วน ส.ป.ก. ก็เป็นเรื่องส.ป.ก.ไปดำเนินการ
"เมื่อเราได้คำตอบรับจากกฤษฎีกามาแล้ว ทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ว่าจะต้องดำเนินการต่อไป อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ภายใน1-2 วันนี้ จะไปดำเนินการแจ้งความตามกฎหมาย โดยเป็นหน้าที่กรมป่าไม้ เรื่องที่ดินคุณปารีณา ผมไม่มีความกังวลใดๆ ถ้าวัดตรงไหนออกมาเกิน ก็ฟ้องแจ้งความตามปกติ ไม่ได้ละเว้นหรือละเลย" นายวราวุธ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณี ส.ส.คนอื่น ที่รุกที่ป่า จะดำเนินการอย่างไร นายวราวุธ กล่าวว่า ถ้าจะให้กรมป่าไม้ไปไล่สืบทั้งหมด ก็ใช่ที่ แต่กรณีของคุณปารีณา เมื่อมีการร้องเรียนก็ว่ากันไป ขอย้ำว่า กระทรวงฯ ดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ได้เร่ง ไม่ได้ดึง ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายทุกประการ