นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการตรวจสอบกรณี ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน ระหว่างพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ว่า เลขาธิการสภาฯ กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งตนให้ตรวจสอบทุกกรณี ไม่ใช่แค่ในรายที่ถูกร้องไปที่ศาลรธน. แต่ให้ตรวจสอบทุกราย ว่าแต่ละรายข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะมีกรณีทั้งที่ตัวอยู่ในห้องประชุม และตัวไม่อยู่ในห้องประชุม ซึ่งจะต้องตรวจสอบทุกราย แต่เลขาธิการสภาฯ แจ้งมาว่า เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยอยากสอบส.ส.
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้หารือกับเลขาธิการสภาฯ ก็มีทางเลือกหนึ่งคือส่งให้กมธ.กิจการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้สอบเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้คุยกับนายอนันต์ ผลอำนวย ประธานกมธ.ฯไว้เบื้องต้นแล้วว่าอาจจะขอให้กมธ.กิจการสภาฯ สอบเรื่องนี้ เพราะเจ้าหน้าที่สภาฯไม่อยากสอบส.ส. เนื่องจากเขาเป็นข้าราชการ แต่ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ มีข้อมูลดีกว่าทุกคน ดังนั้นเจ้าหน้าที่สภาฯจะสามารถสอบเบื้องต้นได้ว่า มีอะไรเกิดขึ้น ใครเป็นอย่างไร ก็อาจจะส่งข้อมูลให้ หากกมธ.กิจการสภาฯรับสอบเรื่องนี้
ส่วนมาตรการที่ว่าแต่ละคนต้องรับผิดชอบอย่างไร เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง เราต้องดูอีกที หากสมมุติว่ามีพฤติกรรมที่ผิดในแง่กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมาย ก็ต้องว่าไปตามความผิดนั้นๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ส่วนการเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาเรื่องนี้นั้น นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ได้วินิจฉัยไปแล้ว ถือว่าจบไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นหน้าที่ของสภาฯ ที่จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจิรง และส่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดชัดเจน สามารถส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้ ซึ่งไม่มีใครจะไปยกเว้นใครได้ มันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
นายชวน ยังกล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระที่ 2 ใหม่ ตามคำวินิจฉัยศาลรธน. ว่า เป็นไปตามข้อบังคับตามกฎหมาย ในวาระ 2 จะต้องเริ่มตั้งแต่ชื่อ พ.ร.บ. คำปรารภ ไล่ไปทีละมาตรา จนจบ ส่วนฝ่ายค้านจะอภิปรายแต่ละมาตรา ก็เป็นสิทธิที่จะอภิปราย 4-5 วันเหมือนเดิมก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่คนนอกก็จะรู้ว่ามีเจตนาอะไร เพราะการอภิปรายรอบที่แล้วได้พูดกันมาอย่างละเอียดแล้ว อภิปรายจนมากกว่าปกติโดยทั่วไป ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าได้มีการอภิปรายมาแล้ว ถ้ายังอยากทำเหมือนเดิม ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ตามกฎหมาย ไม่มีอะไรห้ามได้ ทั้งนี้เท่าที่ฟังจากสมาชิกส่วนใหญ่ เขาก็บอกว่าอภิปรายกันมาแล้ว คงไม่ได้ใช้เวลานานเหมือนเดิม
เมื่อถามถึงกรณี อาจจะมีการหยิบยกเรื่อง มาตรา143 ที่ระบุว่า หากพิจารณาไม่แล้ว เสร็จใน 105 วัน ให้ถือว่าสภาฯ เห็นชอบ มาพูดคุยกันอีกหรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า ถือเป็นคนละเรื่อง เพราะเรื่องนี้เป็นการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรธน. ซึ่งจะต้องเริ่มพิจารณา วาระ 2 วาระ 3 ใหม่ ตามที่ศาลรธน.ได้วินิจฉัยไว้
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 ในวันนี้ ( 13 ก.พ.) ที่หลายคนออกมาแสดงความเห็น โดยเสนอให้โหวตทันที โดยไม่ต้องมีการอธิปรายเลยว่า ความเห็นส่วนตัวเห็นว่า เราควรคำนึงถึงความถูกต้อง และความเหมาะสมตามวิธีการทำงานของสภาฯ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรธน. ให้มีการพิจารณาในวาระ 2-3 ตนจึงเห็นว่าเราควรให้พิจารณาตามธรรมชาติ คือถ้าไม่ซ้ำประเด็นเดิม หรือมีข้อสงสัย หรือมีประเด็นที่จะสอบถามสมาชิก ก็มีสิทธิ์ที่จะสอบถามได้ ไม่ใช่เข้าไปแล้วประชุมแบบมัดมือชก คือโหวตเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยทันที ถ้าอย่างนั้น ก็ใช้เวลาเพียง 2 -3 ชั่วโมงก็เสร็จ ไม่ใช่สภาฝักถั่ว แต่นี่คือสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่แต่งตั้งโดยรัฐประหาร ที่จะยกมือตามใบสั่งได้ จึงควรให้เอกสิทธิ์ของคนที่เป็นส.ส.
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง การโหวต ร่าง พ.ร.บ.งบ 63 วาระ 2 และ 3 ของสภาฯ ควรจะให้มีการอภิปรายเพิ่มเติม หรือควรจะให้ลงมติเลยว่า เป็นหน้าที่ของวิปรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่จะหารือร่วมกัน ตามกรอบที่ศาลรธน.ได้วินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ถือเป็นเรื่องของสภาฯ ปัญหาเกิดขึ้นที่จุดไหน ก็ต้องไปแก้ที่จุดนั้น แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากให้ทุกคนคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณด้วย เพราะสถานการณ์วันนี้ มีหลายอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งการแก้ปัญหาจากผลกระทบในด้านต่างๆ หลายด้านด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้หารือกับเลขาธิการสภาฯ ก็มีทางเลือกหนึ่งคือส่งให้กมธ.กิจการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้สอบเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้คุยกับนายอนันต์ ผลอำนวย ประธานกมธ.ฯไว้เบื้องต้นแล้วว่าอาจจะขอให้กมธ.กิจการสภาฯ สอบเรื่องนี้ เพราะเจ้าหน้าที่สภาฯไม่อยากสอบส.ส. เนื่องจากเขาเป็นข้าราชการ แต่ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ มีข้อมูลดีกว่าทุกคน ดังนั้นเจ้าหน้าที่สภาฯจะสามารถสอบเบื้องต้นได้ว่า มีอะไรเกิดขึ้น ใครเป็นอย่างไร ก็อาจจะส่งข้อมูลให้ หากกมธ.กิจการสภาฯรับสอบเรื่องนี้
ส่วนมาตรการที่ว่าแต่ละคนต้องรับผิดชอบอย่างไร เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง เราต้องดูอีกที หากสมมุติว่ามีพฤติกรรมที่ผิดในแง่กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมาย ก็ต้องว่าไปตามความผิดนั้นๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ส่วนการเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาเรื่องนี้นั้น นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ได้วินิจฉัยไปแล้ว ถือว่าจบไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นหน้าที่ของสภาฯ ที่จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจิรง และส่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดชัดเจน สามารถส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้ ซึ่งไม่มีใครจะไปยกเว้นใครได้ มันขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
นายชวน ยังกล่าวถึง การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระที่ 2 ใหม่ ตามคำวินิจฉัยศาลรธน. ว่า เป็นไปตามข้อบังคับตามกฎหมาย ในวาระ 2 จะต้องเริ่มตั้งแต่ชื่อ พ.ร.บ. คำปรารภ ไล่ไปทีละมาตรา จนจบ ส่วนฝ่ายค้านจะอภิปรายแต่ละมาตรา ก็เป็นสิทธิที่จะอภิปราย 4-5 วันเหมือนเดิมก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่คนนอกก็จะรู้ว่ามีเจตนาอะไร เพราะการอภิปรายรอบที่แล้วได้พูดกันมาอย่างละเอียดแล้ว อภิปรายจนมากกว่าปกติโดยทั่วไป ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าได้มีการอภิปรายมาแล้ว ถ้ายังอยากทำเหมือนเดิม ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ตามกฎหมาย ไม่มีอะไรห้ามได้ ทั้งนี้เท่าที่ฟังจากสมาชิกส่วนใหญ่ เขาก็บอกว่าอภิปรายกันมาแล้ว คงไม่ได้ใช้เวลานานเหมือนเดิม
เมื่อถามถึงกรณี อาจจะมีการหยิบยกเรื่อง มาตรา143 ที่ระบุว่า หากพิจารณาไม่แล้ว เสร็จใน 105 วัน ให้ถือว่าสภาฯ เห็นชอบ มาพูดคุยกันอีกหรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า ถือเป็นคนละเรื่อง เพราะเรื่องนี้เป็นการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรธน. ซึ่งจะต้องเริ่มพิจารณา วาระ 2 วาระ 3 ใหม่ ตามที่ศาลรธน.ได้วินิจฉัยไว้
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 ในวันนี้ ( 13 ก.พ.) ที่หลายคนออกมาแสดงความเห็น โดยเสนอให้โหวตทันที โดยไม่ต้องมีการอธิปรายเลยว่า ความเห็นส่วนตัวเห็นว่า เราควรคำนึงถึงความถูกต้อง และความเหมาะสมตามวิธีการทำงานของสภาฯ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรธน. ให้มีการพิจารณาในวาระ 2-3 ตนจึงเห็นว่าเราควรให้พิจารณาตามธรรมชาติ คือถ้าไม่ซ้ำประเด็นเดิม หรือมีข้อสงสัย หรือมีประเด็นที่จะสอบถามสมาชิก ก็มีสิทธิ์ที่จะสอบถามได้ ไม่ใช่เข้าไปแล้วประชุมแบบมัดมือชก คือโหวตเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยทันที ถ้าอย่างนั้น ก็ใช้เวลาเพียง 2 -3 ชั่วโมงก็เสร็จ ไม่ใช่สภาฝักถั่ว แต่นี่คือสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่แต่งตั้งโดยรัฐประหาร ที่จะยกมือตามใบสั่งได้ จึงควรให้เอกสิทธิ์ของคนที่เป็นส.ส.
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง การโหวต ร่าง พ.ร.บ.งบ 63 วาระ 2 และ 3 ของสภาฯ ควรจะให้มีการอภิปรายเพิ่มเติม หรือควรจะให้ลงมติเลยว่า เป็นหน้าที่ของวิปรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่จะหารือร่วมกัน ตามกรอบที่ศาลรธน.ได้วินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ถือเป็นเรื่องของสภาฯ ปัญหาเกิดขึ้นที่จุดไหน ก็ต้องไปแก้ที่จุดนั้น แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากให้ทุกคนคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณด้วย เพราะสถานการณ์วันนี้ มีหลายอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจ รวมทั้งการแก้ปัญหาจากผลกระทบในด้านต่างๆ หลายด้านด้วยกัน