ผู้จัดการรายวัน360- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เตรียมประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ (รอบที่ 23 ) เม.ย.นี้ ครั้งแรกในรอบ 13 ปี เน้นเฉพาะแปลงในทะเลอ่าวไทยรูปแบบ PSC หลังบนบกยังติดปัญหาส.ป.ก. คาดลงนามม.ค.64 สร้างเม็ดเงินลงทุนสำรวจขั้นต่ำ 1,500 ล้านบาท พร้อมเด้งรับนโยบาย"สนธิรัตน์"เจรจาพื้นที่ไทย-กัมพูชากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก.พ.นี้เล็งใช้โมเดล JDA เป็นต้นแบบ
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯเตรียมเปิดให้เอกชนยื่นสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่(รอบที่23) ซึ่งจะเป็นการเปิดครั้งแรกในรอบ 13 ปีนับจากปี 2550 คาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวน(TOR)ให้เอกชนเข้ามายื่นสำรวจฯได้ภายในเดือนเมษายนนี้และจะใช้เวลาในการพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติสเร็จภายในสิ้นปีนี้และลงนามกับเอกชนได้ภายในม.ค. 2564 โดยการเปิดให้ยื่นสำรวจฯครั้งนี้จะเน้นพื้นที่ในทะเลอ่าวไทย ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC)ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนสำรวจขั้นต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท
" หากไม่นับรวมการประมูลให้สิทธิ์สำรวจฯเอราวัณ-บงกชที่จะหมดอายุสัมปทาน เราไม่ได้เปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศมาตั้งแต่ปี 2550 การเปิดครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี โดยปี 2557 ครั้งสุดท้ายจะมีการเปิดให้ยื่นฯแต่ก็ไม่สำเร็จครั้งนั้นกำหนดแปลงในทะเลอ่าวไทยไว้ 6 แปลงก็ต้องมาดูใหม่ครั้งนี้ว่าจะเหลืออย่างไรก็จะสรุปแปลงได้ชัดเจนภายในก.พ.นี้เราหวังว่าเราจะได้รับความสนใจจากเอกชนเพราะเราไม่ได้เปิดมานานแล้วซึ่งแนวทางดำเนินงานก็เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานไทยและยังคงรักษาไว้ซึ่งอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อสร้างงานและเศรษฐกิจ"นายสราวุธกล่าว
สำหรับแปลงบนบกครั้งนี้ที่ยังไม่สามารถนำมาเปิดให้เอกชนยื่นสำรวจฯได้เพราะติดปัญหาระเบียบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ที่ยังไม่อนุญาตให้ผู้รับสัมปททานปิโตรเลียมสามารถขอเข้าไปใช้ประโยชน์ปฏิรูปที่ดินสำหรับกิจกรรมกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้จึงต้องใช้เวลาในการไปเจรจากับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปโดยการสำรวจฯรอบนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมากที่จะเอื้อต่อการสำรวจรอบใหม่
ทั้งนี้ปี 2562 ที่ผ่านมาไทยจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งในประเทศคิดเป็น 40% ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยมีปริมาณการผลิตรวม 821,060 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน มีสัมปทานปิโตรเลียมอยู่ 38 สัมปทาน 48 แปลงสำรวจ แบ่งเป็นสำรวจในทะเลอ่าวไทย 29 แปลงและแปลงสำรวจบนบก 19 แปลง และสามารถส่งรายได้เข้ารัฐรวมในปี 2562 กว่า 1.6 แสนล้านบาทนับเป็นกรมฯที่ส่งรายได้เข้าแผ่นดินสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ
นอกจากนี้กรมฯยังเตรียมหารือกับกระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานความมั่นคงภายในก.พ.เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ตามนโยบายนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงานที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศเนื่องจากพื้นที่ดังคาดว่าจะมีศักยภาพและหากพัฒนาได้จริงก็จะทำให้เกิดความมั่นคงในระบบพลังงานไทยมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการพัฒนาจะอยู่บนเงื่อนไขที่ไม่เสียอธิปไตยทั้งสองประเทศ
"ข้อกังวลของท่านสนธิรัตน์คือ ต้องแน่ใจว่าไม่ว่าเขาหรือเรา ต้องไม่เสียอธิปไตย เราจึงต้องให้ความสำคัญในจุดนี้ ในการคุยกันซึ่งพื้นที่ทับซ้อนมีทั้งหมด 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ดังนั้นแนวทางคงจะต้องออกมาในรูปแบบเดียวกับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียหรือ JDA คือ ไม่ได้แบ่งเส้นเขตแดน แค่กำหนดพื้นที่ขึ้นมาร่วมกันเพื่อพัฒนาปิโตรเลียมและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากไทยและกัมพูชาหาจุดลงตัวได้ว่าพื้นที่นี้แหละที่จะกำหนดในการพัฒนาปิโตรเลียมนำร่องไปอาจจะเหลือไม่กี่พันตารางกม.ก็ได้"นายสราวุธ กล่าว
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯเตรียมเปิดให้เอกชนยื่นสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่(รอบที่23) ซึ่งจะเป็นการเปิดครั้งแรกในรอบ 13 ปีนับจากปี 2550 คาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวน(TOR)ให้เอกชนเข้ามายื่นสำรวจฯได้ภายในเดือนเมษายนนี้และจะใช้เวลาในการพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติสเร็จภายในสิ้นปีนี้และลงนามกับเอกชนได้ภายในม.ค. 2564 โดยการเปิดให้ยื่นสำรวจฯครั้งนี้จะเน้นพื้นที่ในทะเลอ่าวไทย ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC)ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนสำรวจขั้นต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท
" หากไม่นับรวมการประมูลให้สิทธิ์สำรวจฯเอราวัณ-บงกชที่จะหมดอายุสัมปทาน เราไม่ได้เปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศมาตั้งแต่ปี 2550 การเปิดครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี โดยปี 2557 ครั้งสุดท้ายจะมีการเปิดให้ยื่นฯแต่ก็ไม่สำเร็จครั้งนั้นกำหนดแปลงในทะเลอ่าวไทยไว้ 6 แปลงก็ต้องมาดูใหม่ครั้งนี้ว่าจะเหลืออย่างไรก็จะสรุปแปลงได้ชัดเจนภายในก.พ.นี้เราหวังว่าเราจะได้รับความสนใจจากเอกชนเพราะเราไม่ได้เปิดมานานแล้วซึ่งแนวทางดำเนินงานก็เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานไทยและยังคงรักษาไว้ซึ่งอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อสร้างงานและเศรษฐกิจ"นายสราวุธกล่าว
สำหรับแปลงบนบกครั้งนี้ที่ยังไม่สามารถนำมาเปิดให้เอกชนยื่นสำรวจฯได้เพราะติดปัญหาระเบียบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ที่ยังไม่อนุญาตให้ผู้รับสัมปททานปิโตรเลียมสามารถขอเข้าไปใช้ประโยชน์ปฏิรูปที่ดินสำหรับกิจกรรมกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้จึงต้องใช้เวลาในการไปเจรจากับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปโดยการสำรวจฯรอบนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปมากที่จะเอื้อต่อการสำรวจรอบใหม่
ทั้งนี้ปี 2562 ที่ผ่านมาไทยจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งในประเทศคิดเป็น 40% ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยมีปริมาณการผลิตรวม 821,060 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน มีสัมปทานปิโตรเลียมอยู่ 38 สัมปทาน 48 แปลงสำรวจ แบ่งเป็นสำรวจในทะเลอ่าวไทย 29 แปลงและแปลงสำรวจบนบก 19 แปลง และสามารถส่งรายได้เข้ารัฐรวมในปี 2562 กว่า 1.6 แสนล้านบาทนับเป็นกรมฯที่ส่งรายได้เข้าแผ่นดินสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ
นอกจากนี้กรมฯยังเตรียมหารือกับกระทรวงต่างประเทศ และหน่วยงานความมั่นคงภายในก.พ.เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ตามนโยบายนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงานที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศเนื่องจากพื้นที่ดังคาดว่าจะมีศักยภาพและหากพัฒนาได้จริงก็จะทำให้เกิดความมั่นคงในระบบพลังงานไทยมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการพัฒนาจะอยู่บนเงื่อนไขที่ไม่เสียอธิปไตยทั้งสองประเทศ
"ข้อกังวลของท่านสนธิรัตน์คือ ต้องแน่ใจว่าไม่ว่าเขาหรือเรา ต้องไม่เสียอธิปไตย เราจึงต้องให้ความสำคัญในจุดนี้ ในการคุยกันซึ่งพื้นที่ทับซ้อนมีทั้งหมด 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ดังนั้นแนวทางคงจะต้องออกมาในรูปแบบเดียวกับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียหรือ JDA คือ ไม่ได้แบ่งเส้นเขตแดน แค่กำหนดพื้นที่ขึ้นมาร่วมกันเพื่อพัฒนาปิโตรเลียมและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากไทยและกัมพูชาหาจุดลงตัวได้ว่าพื้นที่นี้แหละที่จะกำหนดในการพัฒนาปิโตรเลียมนำร่องไปอาจจะเหลือไม่กี่พันตารางกม.ก็ได้"นายสราวุธ กล่าว