ผู้จัดการรายวัน 360 - นายกรัฐมนตรี ประชุมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน เห็นชอบยกระดับการบริหารจัดการด่านชายแดนทั้ง 9 ด่าน ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ พัฒนาด้านการท่องเที่ยว ขยายเส้นทางจราจร ถนน 4 เลน รวมทั้งเพิ่มบริการและเพิ่มจำนวนรถตู้รถไฟ การพัฒนาเส้นทางเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ด่านชายแดน
เวลา 09.30 น.วานนี้ (21ม.ค.) ที่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมืองฯ จ. นราธิวาส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ระหว่างคณะรัฐมนตรีและภาคเอกชนในพื้นที่ ได้แก่ นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส นายตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก และ นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เพื่อรับฟังข้อเสนอและแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ยะลา นราธิวาส ปัตตานี)
ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายกฯ เห็นชอบแนวทางการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการยกระดับการบริหารจัดการด่านชายแดนทั้ง 9 ด่าน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 ด่าน คือ ด่านสุไหงโก-ลก, ด่านบูเก๊ะตา ซึ่งในอนาคตจะเป็นด่านขนส่งสินค้าหลักเชื่อมไทย-มาเลเซีย และ ด่านตากใบ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ใน 4 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำสุไหงโก-ลก ลุ่มน้ำบางนรา ลุ่มน้ำสายบุรี และลุ่มน้ำปัตตานี ด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ ศึกษาการจัดเก็บน้ำ เพื่อเป็นแก้มลิงสำหรับการเกษตรในหน้าแล้ง
โดยนายกฯ เร่งรัดให้ศอ.บต. เสนอแผนยุทธศาสตร์ โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน รวมทั้งให้ดูแลการปิด-เปิดด่าน ให้ทำเท่าที่จำเป็น ไม่ให้กระทบต่อการขนส่ง หรือสร้างความเดือดร้อนกับประชาชน รวมทั้งการส่งเสริมการจับคู่ทางธุรกิจทั้งในพื้นที่ และระหว่างประเทศ
ซึ่งนายกฯ ยังเห็นพ้องกับ 2 ข้อเสนอภาคเอกชนที่สำคัญ คือ 1. ข้อเสนอเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และการตลาด การส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรมและเมืองท่องเที่ยวชายแดน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม
2. ข้อเสนอเพื่อสร้างความยั่งยืน และอยู่ดีมีสุขของภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตร การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว ระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการสร้างความยั่งยืนและอยู่ดีมีสุขของภาคใต้ชายแดน เน้นการบริหารจัดการน้ำ และการยกระดับการบริการสาธารณสุข
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้การสนับสนุนการปลูกพืชเกษตร แต่ต้องคำนึงถึงดีมานด์-ซับพลายของตลาดด้วย ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด
สำหรับแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางรถและทางราง อาทิ การเชื่อมยะลา-เบตง - สนามบินเบตง ซึ่งในช่วงกลางปี 63 สนามบินเบตง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางจราจรเป็น 4 เลน ในโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทางเลี่ยงเมือง จ.ยะลา การเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 410 และ 4326 ตอนตะบิงติงงี - สนามบินเบตง การพัฒนาเส้นทางเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ด่านชายแดน รวมทั้งการบริการรถไฟ ขบวนรถไฟ “ทักษิณารัถย์”ทั้งการเพิ่มระยะทางจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ ไปถึงสถานีสุไหงโก-ลก การเพิ่มจำนวนรถตู้รถไฟ เป็นต้น
เวลา 09.30 น.วานนี้ (21ม.ค.) ที่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมืองฯ จ. นราธิวาส พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ระหว่างคณะรัฐมนตรีและภาคเอกชนในพื้นที่ ได้แก่ นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ นายกิตติ หวังธรรมมั่ง ประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส นายตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก และ นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เพื่อรับฟังข้อเสนอและแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (ยะลา นราธิวาส ปัตตานี)
ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายกฯ เห็นชอบแนวทางการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการยกระดับการบริหารจัดการด่านชายแดนทั้ง 9 ด่าน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 ด่าน คือ ด่านสุไหงโก-ลก, ด่านบูเก๊ะตา ซึ่งในอนาคตจะเป็นด่านขนส่งสินค้าหลักเชื่อมไทย-มาเลเซีย และ ด่านตากใบ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ใน 4 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำสุไหงโก-ลก ลุ่มน้ำบางนรา ลุ่มน้ำสายบุรี และลุ่มน้ำปัตตานี ด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ ศึกษาการจัดเก็บน้ำ เพื่อเป็นแก้มลิงสำหรับการเกษตรในหน้าแล้ง
โดยนายกฯ เร่งรัดให้ศอ.บต. เสนอแผนยุทธศาสตร์ โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน รวมทั้งให้ดูแลการปิด-เปิดด่าน ให้ทำเท่าที่จำเป็น ไม่ให้กระทบต่อการขนส่ง หรือสร้างความเดือดร้อนกับประชาชน รวมทั้งการส่งเสริมการจับคู่ทางธุรกิจทั้งในพื้นที่ และระหว่างประเทศ
ซึ่งนายกฯ ยังเห็นพ้องกับ 2 ข้อเสนอภาคเอกชนที่สำคัญ คือ 1. ข้อเสนอเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตภาคการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และการตลาด การส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรมและเมืองท่องเที่ยวชายแดน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม
2. ข้อเสนอเพื่อสร้างความยั่งยืน และอยู่ดีมีสุขของภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตร การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว ระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการสร้างความยั่งยืนและอยู่ดีมีสุขของภาคใต้ชายแดน เน้นการบริหารจัดการน้ำ และการยกระดับการบริการสาธารณสุข
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้การสนับสนุนการปลูกพืชเกษตร แต่ต้องคำนึงถึงดีมานด์-ซับพลายของตลาดด้วย ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ยางพารา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด
สำหรับแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางรถและทางราง อาทิ การเชื่อมยะลา-เบตง - สนามบินเบตง ซึ่งในช่วงกลางปี 63 สนามบินเบตง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางจราจรเป็น 4 เลน ในโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทางเลี่ยงเมือง จ.ยะลา การเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 410 และ 4326 ตอนตะบิงติงงี - สนามบินเบตง การพัฒนาเส้นทางเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ด่านชายแดน รวมทั้งการบริการรถไฟ ขบวนรถไฟ “ทักษิณารัถย์”ทั้งการเพิ่มระยะทางจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ ไปถึงสถานีสุไหงโก-ลก การเพิ่มจำนวนรถตู้รถไฟ เป็นต้น