วานนี้ (15ม.ค.) นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็น ประธานการประชุมการประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้การแก้ปัญหาภัยแล้งว่า รัฐบาลยืนยันน้ำอุปโภคและบริโภค จะมีใช้ตลอดทั้งปี ส่วนน้ำสำหรับทำการเกษตรนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะรณรงค์ขอความร่วมมือเกษตรกร เพื่อสร้างการรับรู้ต่อไป และจะมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบกลาง ในการดำเนินโครงการแก้ปัญหาภัยแล้ง กว่า 2,000 โครงการ
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับเรื่องการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะปีต่อปี หรือแก้เฉพาะหน้า
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พบว่ามีผลกระทบบางพื้นที่ ตอนนี้ความพยายามบูรณาการจากหลายหน่วยงาน เริ่มดำเนินการแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ปัญหาระยะสั้น "แล้งนี้ต้องอยู่รอด" รวมถึงมาตการแก้ระยะกลาง และระยะยาว ขณะเดียวกัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ต้องมีน้ำปะปาใช้ไปตลอดฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ มีเขตประสบภัยแล้งแล้ว 18 จังหวัด นอกจากนี้มีพื้นที่เสี่ยง 31 จังหวัด ที่หากไม่เตรียมแผนรองรับ หรือไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะเกิด ภัยแล้งได้
อย่างไรก็ตามในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อยู่ในเขตการประปานครหลวง มีปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ แต่ได้มีการแก้ปัญหาโดยการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ขับไล่น้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลับสู่ปกติ ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว
นอกจากแผนระยะสั้นแล้ว ยังมีแผนงานที่ต้องดำเนินการต่อโครงการขนาดใหญ่ วงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท รงม 57 โครงการ เพิ่มน้ำต้นทุน 4,398 ล้านลบ.ม. พื้นที่รับผลประโยชน์ 7.34 ล้านไร่
"สถานการณ์ต่างๆ ขณะนี้ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาระยะยาว โดยสัปดาห์หน้า พล.อ.ประวิตร จะนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมงบบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งหมด ที่ได้รับการจัดสรรในงบประมาณ ปี 63 เกือบ 6 หมื่นล้านบาท และ ในปี 64 จะวางรากฐานแหล่งน้ำให้ได้ โดยมีโครงการขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ มีบัญชาอย่างชัดเจนให้ทุกหน่วยงานดำเนินการแก้ปัญหาแบบนี้ โดยสั่งการเป็นพิเศษว่า ในระยะ 10 วัน ต้องรู้ผลแก้ปัญหาไปถึงไหน อย่างไรบ้าง" เลขาธิการ สทนช. กล่าว
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับเรื่องการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะปีต่อปี หรือแก้เฉพาะหน้า
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พบว่ามีผลกระทบบางพื้นที่ ตอนนี้ความพยายามบูรณาการจากหลายหน่วยงาน เริ่มดำเนินการแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ปัญหาระยะสั้น "แล้งนี้ต้องอยู่รอด" รวมถึงมาตการแก้ระยะกลาง และระยะยาว ขณะเดียวกัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ต้องมีน้ำปะปาใช้ไปตลอดฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ มีเขตประสบภัยแล้งแล้ว 18 จังหวัด นอกจากนี้มีพื้นที่เสี่ยง 31 จังหวัด ที่หากไม่เตรียมแผนรองรับ หรือไม่มีการดำเนินการใดๆ ก็จะเกิด ภัยแล้งได้
อย่างไรก็ตามในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อยู่ในเขตการประปานครหลวง มีปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ แต่ได้มีการแก้ปัญหาโดยการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง ขับไล่น้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลับสู่ปกติ ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว
นอกจากแผนระยะสั้นแล้ว ยังมีแผนงานที่ต้องดำเนินการต่อโครงการขนาดใหญ่ วงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท รงม 57 โครงการ เพิ่มน้ำต้นทุน 4,398 ล้านลบ.ม. พื้นที่รับผลประโยชน์ 7.34 ล้านไร่
"สถานการณ์ต่างๆ ขณะนี้ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาระยะยาว โดยสัปดาห์หน้า พล.อ.ประวิตร จะนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมงบบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำทั้งหมด ที่ได้รับการจัดสรรในงบประมาณ ปี 63 เกือบ 6 หมื่นล้านบาท และ ในปี 64 จะวางรากฐานแหล่งน้ำให้ได้ โดยมีโครงการขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ มีบัญชาอย่างชัดเจนให้ทุกหน่วยงานดำเนินการแก้ปัญหาแบบนี้ โดยสั่งการเป็นพิเศษว่า ในระยะ 10 วัน ต้องรู้ผลแก้ปัญหาไปถึงไหน อย่างไรบ้าง" เลขาธิการ สทนช. กล่าว