ผู้จัดการรายวัน 360- นายกฯไล่สื่อซัก "ชวน" เอง หลังเสนอแก้ รธน.โละโควตา ผบ.เหล่าทัพนั่ง ส.ว. ปัดไม่ยุ่งเกี่ยว "วิษณุ" ชี้ หากจะโละ ผบ.เหล่าทัพออกจาก ส.ว. ต้องเสนอ กมธ.ศึกษาแก้ไขรธน.ก่อนนำเข้าสภาฯ ระบุทำประชาพิจารณ์ขั้นตอนสุดท้าย ใช้งบฯ 2-3 พันล้าน "พรเพชร" เบรกรื้อ ม. 256 ตั้งส.ส.ร.ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ลั่นเสนอเข้ามาก็ไม่ผ่าน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาฯ เสนอแก้ไขรธน. โดยให้โละทิ้ง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจาก ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทั้ง 6 คน ว่า ก็ว่ากันไป เป็นเรื่องของนายชวน ที่เสนอ ต้องไปถามท่าน ตนไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องของ กมธ.วิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการแก้ไขรธน. ซึ่งจะแก้ไขอะไร ได้หรือไม่ อย่างไร ตนไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของกมธ. ไปศึกษา ว่ากันไปตามกระบวนการ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าขึ้นอยู่กับสภาฯ ทั้งหมดแล้วแต่สภาฯ เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ นายชวน ทั้งนี้ การที่คสช. เสนอให้ ผบ.เหล่าทัพ เป็นส.ว. เพราะต้องการให้เหล่าทัพได้ติดตามงานในสภาฯ ที่ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน เพื่อนำไปชี้แจงกับกำลังพลในกองทัพ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับ ส.ว.และ ส.ส.ด้วย แต่ถ้าสภาฯ เห็นชอบ ก็ต้องมีการแก้ไขรธน. ในส่วนทหารไม่ได้เกี่ยวข้อง และคงไม่ต้องเรียกมาพูดคุย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอการแก้ไขรธน. ให้โละส.ว.ที่มาจากผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้ง 6 คน ว่า ตนไม่ทราบ แต่จะเลือกแก้ไขส่วนใด ก็แล้วแต่ ตนไม่มีความเห็น
เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ต้องแก้รธน. และข้อเสนอต่างๆ สามารถเสนอในกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขรธน.ได้ โดยผู้เสนอ ต้องเสนอมาก่อนที่กมธ.เพื่อรวบรวมเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ โดยยังมีขั้นตอนที่จะต้องทำต่อไปอีก เช่น 1. เสนอเป็นร่างแก้ไข 2. เสนอมายังรัฐบาล 3. อื่นๆ ก็ยังไม่รู้
เมื่อถามว่าจะต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ยังอีกยาว เพราะจะต้องมีการยกร่างก่อนที่จะเสนอเข้าสภาฯ รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบในวาระ 1- 2 และ 3 ถ้าตกไปในวาระ1- 2 และ 3 ก็ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ส่วนสามารถทำประชาพิจารณ์ก่อนได้หรือไม่นั้น จะบอกว่าทำไม่ได้ ก็ไม่เชิง เพราะกฎหมายไม่ได้บอกให้ทำ หรือมีผลอย่างไร เนื่องจากการทำประชาพิจารณ์ ต้องใช้งบประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ส่วนรัฐบาลมีประเด็นใดที่จะเสนอแก้ไขรธน.หรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ ยังไม่เคยคุยกัน
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา(ส.ว.) กล่าวถึง แนวทางการแก้ไขรธน.ว่า ขณะนี้มีการตั้งกมธ.ศึกษาวิธีการแก้ไขรธน.แล้ว ซึ่งในขั้นตอนนี้ ส.ว.ไม่ได้เข้าไปร่วมด้วย เพราะยังเป็นชั้นการศึกษา หน้าที่ของ ส.ว.คือ ติดตามดูว่ามีประเด็นใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ส.ว. จะต้องส่งให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องศึกษา ในขั้นตอนการศึกษา ยังไม่มีผลอย่างเป็นทางการ การแก้ไขรธน. จะต้องเสนอเข้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ไม่ใช่ผ่าน ส.ส. และมา ส.ว. นี่เป็นหลักการประการแรก และยังมีเงื่อนไขไว้อีกหลายอย่าง เช่น ต้องมีเสียง ส.ว. ต้องเห็นชอบด้วยอย่างน้อย 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง อยากเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าการแก้ไขรธน.ไปแก้ไขในประเด็นที่ควรแก้ไข ส.ว.ก็คงเห็นด้วย หรือถึงแม้ ส.ว.ไม่เห็นด้วย ก็มาหารือกันได้ การแก้ไขก็ผ่านได้ ส.ว.ไม่ได้ปิดประตูตาย ที่จะไม่แก้
แต่ที่สำคัญที่มีการบอกกัน ที่มีการกลัวกันก็คือ ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง มาตรา 256 ที่ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรธน. เป็นเงื่อนไขทั้งหมด และมีการเสนอว่าถ้าแก้ มาตรา 256 อันเดียว ก็ยกเลิกไปเลย แล้วตั้ง ส.ส.ร.ให้มายกร่างรธน.ใหม่ ส่วนตัวคิดว่า ในทางกฎหมายก็ทำไม่ได้แล้ว หากเสนอเข้ามา คงไม่ได้ ไม่ผ่าน พูดได้เลย อย่าไปคิดเลย ถ้า ส.ส.จะมาคุยก็คุยกันยาก เพราะมาตรานี้ คือกุญแจสำคัญ นี่คือความเห็นส่วนตัวผม และคิดว่าหลายคนก็มีความคิดเหมือนผม เพราะการแก้ มาตรา 256 จะกระทบกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
"ส่วนที่ผมเห็นด้วย ที่ต้องแก้ไขคือ เรื่องระบบคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่มีปัญหา หรือเรื่องคุณสมบัติต่างๆ เอาออกกันง่ายดายเหลือเกิน ส.ว. ก็ยินดีแก้ไข พูดกันได้ทุกเรื่อง ทุกอย่าง ทั้งนี้ก็ต้องแก้ไขไปตามกระบวนการที่ระบุในมาตรา 256 อยากให้เข้าใจว่า ส.ว.ไม่ได้มีเสียงเป็นใหญ่ และ ส.ว.ไม่ได้หวงแหนอะไร ใครจะไม่อยากให้บ้านเมืองดี ดังนั้นรธน. ที่ควรแก้ไข ควรจะเข้าใจด้วยกันทั้งสองสภาฯ ไม่ใช่ไปตั้งคนนั้นคนนี้มา ส่วนที่ ส.ว. มีส่วนสำคัญในการเลือกนายกฯ เรื่องนี้ก็ว่ากันไป เพราะในส่วนนี้เป็นแค่บทเฉพาะกาลเท่านั้น ยังพอคุยกันได้ แต่ถ้าบอกว่าล้มรธน.นี้ แล้วเขียนขึ้นใหม่ โดยใครก็ไม่รู้ ผมว่าไปไม่ได้ หากต้องการ ส.ส.ร. ที่ผ่านการเลือกตั้ง ก็ต้องหาวิธีการที่พอฟังได้ วิธีการที่เสนอมาง่ายๆแบบนี้ ยังถือว่าฟังไม่ได้" นายพรเพชร กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาฯ เสนอแก้ไขรธน. โดยให้โละทิ้ง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจาก ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทั้ง 6 คน ว่า ก็ว่ากันไป เป็นเรื่องของนายชวน ที่เสนอ ต้องไปถามท่าน ตนไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องของ กมธ.วิสามัญศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการแก้ไขรธน. ซึ่งจะแก้ไขอะไร ได้หรือไม่ อย่างไร ตนไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของกมธ. ไปศึกษา ว่ากันไปตามกระบวนการ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าขึ้นอยู่กับสภาฯ ทั้งหมดแล้วแต่สภาฯ เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ นายชวน ทั้งนี้ การที่คสช. เสนอให้ ผบ.เหล่าทัพ เป็นส.ว. เพราะต้องการให้เหล่าทัพได้ติดตามงานในสภาฯ ที่ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน เพื่อนำไปชี้แจงกับกำลังพลในกองทัพ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติแต่อย่างใด อีกทั้งยังได้ทำงานร่วมกับ ส.ว.และ ส.ส.ด้วย แต่ถ้าสภาฯ เห็นชอบ ก็ต้องมีการแก้ไขรธน. ในส่วนทหารไม่ได้เกี่ยวข้อง และคงไม่ต้องเรียกมาพูดคุย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอการแก้ไขรธน. ให้โละส.ว.ที่มาจากผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้ง 6 คน ว่า ตนไม่ทราบ แต่จะเลือกแก้ไขส่วนใด ก็แล้วแต่ ตนไม่มีความเห็น
เมื่อถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ก็ต้องแก้รธน. และข้อเสนอต่างๆ สามารถเสนอในกมธ.ศึกษาแนวทางแก้ไขรธน.ได้ โดยผู้เสนอ ต้องเสนอมาก่อนที่กมธ.เพื่อรวบรวมเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ โดยยังมีขั้นตอนที่จะต้องทำต่อไปอีก เช่น 1. เสนอเป็นร่างแก้ไข 2. เสนอมายังรัฐบาล 3. อื่นๆ ก็ยังไม่รู้
เมื่อถามว่าจะต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ยังอีกยาว เพราะจะต้องมีการยกร่างก่อนที่จะเสนอเข้าสภาฯ รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบในวาระ 1- 2 และ 3 ถ้าตกไปในวาระ1- 2 และ 3 ก็ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ส่วนสามารถทำประชาพิจารณ์ก่อนได้หรือไม่นั้น จะบอกว่าทำไม่ได้ ก็ไม่เชิง เพราะกฎหมายไม่ได้บอกให้ทำ หรือมีผลอย่างไร เนื่องจากการทำประชาพิจารณ์ ต้องใช้งบประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ส่วนรัฐบาลมีประเด็นใดที่จะเสนอแก้ไขรธน.หรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ ยังไม่เคยคุยกัน
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา(ส.ว.) กล่าวถึง แนวทางการแก้ไขรธน.ว่า ขณะนี้มีการตั้งกมธ.ศึกษาวิธีการแก้ไขรธน.แล้ว ซึ่งในขั้นตอนนี้ ส.ว.ไม่ได้เข้าไปร่วมด้วย เพราะยังเป็นชั้นการศึกษา หน้าที่ของ ส.ว.คือ ติดตามดูว่ามีประเด็นใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ส.ว. จะต้องส่งให้ กมธ.ที่เกี่ยวข้องศึกษา ในขั้นตอนการศึกษา ยังไม่มีผลอย่างเป็นทางการ การแก้ไขรธน. จะต้องเสนอเข้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ไม่ใช่ผ่าน ส.ส. และมา ส.ว. นี่เป็นหลักการประการแรก และยังมีเงื่อนไขไว้อีกหลายอย่าง เช่น ต้องมีเสียง ส.ว. ต้องเห็นชอบด้วยอย่างน้อย 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง อยากเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าการแก้ไขรธน.ไปแก้ไขในประเด็นที่ควรแก้ไข ส.ว.ก็คงเห็นด้วย หรือถึงแม้ ส.ว.ไม่เห็นด้วย ก็มาหารือกันได้ การแก้ไขก็ผ่านได้ ส.ว.ไม่ได้ปิดประตูตาย ที่จะไม่แก้
แต่ที่สำคัญที่มีการบอกกัน ที่มีการกลัวกันก็คือ ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง มาตรา 256 ที่ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรธน. เป็นเงื่อนไขทั้งหมด และมีการเสนอว่าถ้าแก้ มาตรา 256 อันเดียว ก็ยกเลิกไปเลย แล้วตั้ง ส.ส.ร.ให้มายกร่างรธน.ใหม่ ส่วนตัวคิดว่า ในทางกฎหมายก็ทำไม่ได้แล้ว หากเสนอเข้ามา คงไม่ได้ ไม่ผ่าน พูดได้เลย อย่าไปคิดเลย ถ้า ส.ส.จะมาคุยก็คุยกันยาก เพราะมาตรานี้ คือกุญแจสำคัญ นี่คือความเห็นส่วนตัวผม และคิดว่าหลายคนก็มีความคิดเหมือนผม เพราะการแก้ มาตรา 256 จะกระทบกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
"ส่วนที่ผมเห็นด้วย ที่ต้องแก้ไขคือ เรื่องระบบคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่มีปัญหา หรือเรื่องคุณสมบัติต่างๆ เอาออกกันง่ายดายเหลือเกิน ส.ว. ก็ยินดีแก้ไข พูดกันได้ทุกเรื่อง ทุกอย่าง ทั้งนี้ก็ต้องแก้ไขไปตามกระบวนการที่ระบุในมาตรา 256 อยากให้เข้าใจว่า ส.ว.ไม่ได้มีเสียงเป็นใหญ่ และ ส.ว.ไม่ได้หวงแหนอะไร ใครจะไม่อยากให้บ้านเมืองดี ดังนั้นรธน. ที่ควรแก้ไข ควรจะเข้าใจด้วยกันทั้งสองสภาฯ ไม่ใช่ไปตั้งคนนั้นคนนี้มา ส่วนที่ ส.ว. มีส่วนสำคัญในการเลือกนายกฯ เรื่องนี้ก็ว่ากันไป เพราะในส่วนนี้เป็นแค่บทเฉพาะกาลเท่านั้น ยังพอคุยกันได้ แต่ถ้าบอกว่าล้มรธน.นี้ แล้วเขียนขึ้นใหม่ โดยใครก็ไม่รู้ ผมว่าไปไม่ได้ หากต้องการ ส.ส.ร. ที่ผ่านการเลือกตั้ง ก็ต้องหาวิธีการที่พอฟังได้ วิธีการที่เสนอมาง่ายๆแบบนี้ ยังถือว่าฟังไม่ได้" นายพรเพชร กล่าว