หลายคนเห็นตรงกันแล้วว่า ปีใหม่ปี 2563 เป็นปีแห่งความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกปี เนื่องจากมีปัจจัยต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว บางเรื่องก็จะมีบทสรุปเอาในปีนี้ ทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจที่เหมือนกับว่าเชื่อมโยงสัมพันธ์กันจนแทบแยกไม่ออก
หากพิจารณาเริ่มจากเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโฟกัสกับเรื่อง “ปากท้อง”ก็ต้องยอมรับความจริงว่า“สาหัส”มาตั้งแต่ปีที่แล้ว คือปี 2562 ซึ่งหากพิจารณากันแบบเป็นธรรมกับรัฐบาล “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจบ้านเราล้วนยังต้องพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 70-80 มันก็หลีกเลี่ยงผลกระทบได้ยาก เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่จากปัญหา “สงครามการค้า”ระหว่างสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งกับสองของโลก และลุกลามกลายเป็น “สงครามกีดกันการค้า” มันก็ย่อมสะเทือนมาถึงไทยในแบบที่เข้าใจแบบสรุปตัดตอนคือ ทำให้เราส่งออกได้น้อยหรือ “ติดลบ”อย่างที่เห็น แม้ว่าจะว่าไปแล้วเรายังดีกว่าหลายประเทศที่เรามีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งไม่เช่นนั้นจะหนักกว่านี้อีก
หลายคนมองว่า ทำไมเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านที่มีเศรษฐกิจเติบโต มีจีดีพีสวนกระแสสูงถึงร้อยละ 7 ก็อาจจะจริง แต่หากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วเป็นเพราะขนาดเศรษฐกิจของเรานั้นใหญ่กว่าเวียดนามมาก ยังเป็นแบบอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน ถึงขั้นกลางเท่านั้น หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพของเวียดนามในตอนนี้ ก็เหมือนกับไทยย้อนยุคไปเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน แต่ก็กำลังไล่กวดใกล้ทันไทยเข้ามาทุกทีแล้ว
อย่างไรก็ดี สำหรับเศรษฐกิจในปีใหม่ 2563 หากมองในแง่ดี ก็ต้องบอกว่าเริ่มมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างน้อยในแง่ของเศรษฐกิจโลก นั่นคือ บรรยากาศของสงครามการค้าที่เริ่มคลี่คลายลงมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนจะมีการลงนามยุติสงครามภาษีนำเข้าใน “เฟสหนึ่ง”หรืออาจเรียกตามความจริงในความหมายการ “หยุดยิง”น่าจะถูกต้องกว่า แต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีกว่าเดิม ทำให้คาดหมายกันว่า จะทำให้บรรยากาศในทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับไทยด้วยในด้านการส่งออก และเป็นผลดีต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจภายในประเทศไปด้วย
แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่การที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น มันก็ต้องขึ้นอยู่กับผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการในการยกระดับราคาสินค้าเกษตรหลักๆ จะต้องดีขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีสินค้าเกษตรบางตัว เช่น ปาล์มน้ำมัน ที่ราคาดีขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายการส่งเสริมการใช้น้ำมัน “บี10”ของกระทรวงพลังงาน ที่นำโดย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จนทำให้เวลานี้ราคาปาล์มสูงขึ้นเกินกิโลกรัมละ 6 บาทแล้ว และกำลังเดินหน้าพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น อ้อย กับมันสำปะหลังในปีนี้ เพื่อมาใช้เป็นส่วนผสม ในน้ำมันเบนซิน หากทำได้สำเร็จเหมือนกับปาล์มน้ำมัน ก็จะสร้างความยั่งยืนและสร้างความพอใจให้กับเกษตรกร
จะเหลือก็แต่ปัญหาราคายางพาราที่ยังตกต่ำ ไม่กระเตื้อง ส่วนราคาข้าวก็ถือว่าไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป แต่ปัญหาก็คือ ต้องประสบภัยแล้งเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลงเสียอีก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาท้าทายรัฐบาล และรัฐมนตรีเศรษฐกิจทั้งหลายที่ต้องร่วมมือกัน
แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีโครงการการประกันราคา แต่ก็ถือว่าต้องใช้เงินงบประมาณไปชดเชยราคาส่วนต่าง ซึ่งก็ต้องใช้งบประมาณไปไม่น้อย แต่ก็ถือว่า สำหรับเกษตรกรแล้วก็มีหลักประกันบ้าง และยังเป็นการกระจายรายได้ช่วยรักษาเงินในกระเป๋าได้บ้างในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้
แน่นอนว่าปัญหาเศรษฐกิจหลักๆ อีกสาเหตุหนึ่งที่ซ้ำเติมเข้ามาก็คือปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณปี 2563 ที่ล่าช้า คาดว่าจะมีการอนุมัติใช้ได้ในราวเดือนมีนาคมนี้ และมีเวลาสำหรับเบิกจ่ายประมาณแค่ 7 เดือนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน นั่นคืองบประมาณปี 2564 ที่จะออกมาตามตารางเวลาปกติแล้วมาสมทบมันก็เหมือนกับ“สองเด้ง”ในการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกัน ทำให้เกิดการลงทุน ในโครงการขนาดใหญ่ที่สามารถเดินหน้าได้เต็มกำลัง
ดังนั้นหากให้สรุปว่าปัญหาเศรษฐกิจยังเป็นเรื่องหนักก็อาจจะใช่ แต่อีกมุมหนึ่งมันก็มีแนวโน้มทางบวกมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่จุดชี้ขาดก็ยังเป็นเรื่อง “ปากท้อง”ที่ยังเป็นโจทย์ใหญ่ ซึ่งต้องบริหารจัดการในเรื่องราคาสินค้าเกษตรตัวหลักให้ราคาดีกว่าเดิม เพราะหากสินค้าพวกนี้ราคาดี ก็จะส่งผลต่อรายได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งในด้านการเมือง นั้นแม้จะคาดการณ์กันว่าจะร้อนแรงไม่แพ้กัน แต่เมื่อพิจารณาจากความเป็น “เอกภาพ”ของพรรคร่วมรัฐบาลในปีที่ผ่านมา ถือว่าทำได้ดี อีกทั้งเมื่อได้เสียงฝ่ายรัฐบาลเข้ามาเพิ่มก็ทำให้คลายภาวะ “เสียงปริ่มน้ำ”ลงไปได้บ้าง และแม้ว่าอีกไม่กี่
วันข้างหน้าฝ่ายค้านเตรียมที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในราวปลายเดือนมกราคม เป็นการเพิ่มดีกรีทางการเมือง แต่อย่างที่รู้กันว่าเมื่อมีเสียงเข้ามาเพิ่ม ก็สร้างความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีความกังวลว่าอาจจะบานปลายเหมือนทุกครั้ง แต่หากสามารถบังคับให้เข้าไปในสภาฯได้ ทุกอย่างก็เดินไปตามขั้นตอน
แม้ว่าการเมืองที่ถูกจับตาก็น่าจะมีเพียงกรณีของพรรคอนาคตใหม่ และพวกแกนนำที่โดนคดีสำคัญทั้งคำร้องให้ยุบพรรคจากคดีล้มล้างการปกครอง และ คดีปล่อยเงินกู้ที่งวดเข้ามาทุกขณะ หรือการจับตามองการปลุกระดมจากแกนนำพรรคเพื่อหวังสร้างแรงกดดันกับทั้งศาลรัฐธรรมนูญและฝ่ายรัฐบาล แม้จะน่าห่วง แต่นาทีนี้สังคมมองออกแล้วว่ามันเป็นปัญหาส่วนตัวที่สร้างขึ้นมาเอง จึงไม่ค่อยมีน้ำหนักมากนัก
**ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพรวมๆ ในปีใหม่ 2563 ที่มาถึงแล้วทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องเศรษฐกิจยังน่าเป็นห่วง แต่ยังเชื่อว่าสำหรับ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี น่าจะยังเอาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการเมือง แต่สำหรับปัญหาเศรษฐกิจหากปัจจัยภายนอกเริ่มคลี่คลายประกอบกับสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างทันเวลาในเวลาไล่เลี่ยกันทั้งงบปี 63 และ ปี 64 จนเป็น “สองเด้ง”สองแรงบวกจนทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนได้เต็มที่กว่าเดิม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ “เอกภาพ”ของพรรคร่วมรัฐบาลหากทำได้ดีมันก็ย่อมส่งผลดี โดยเฉพาะปัญหา “ปากท้อง”ที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่สุด มีความเสี่ยงที่สุด หากปล่อยให้ทั้งสองเรื่องผสมโรง มันก็มีสิทธิ์ “ล่องจุ๊น”ได้เหมือนกัน !!
หากพิจารณาเริ่มจากเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโฟกัสกับเรื่อง “ปากท้อง”ก็ต้องยอมรับความจริงว่า“สาหัส”มาตั้งแต่ปีที่แล้ว คือปี 2562 ซึ่งหากพิจารณากันแบบเป็นธรรมกับรัฐบาล “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องยอมรับความจริงว่า เศรษฐกิจบ้านเราล้วนยังต้องพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 70-80 มันก็หลีกเลี่ยงผลกระทบได้ยาก เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่จากปัญหา “สงครามการค้า”ระหว่างสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งกับสองของโลก และลุกลามกลายเป็น “สงครามกีดกันการค้า” มันก็ย่อมสะเทือนมาถึงไทยในแบบที่เข้าใจแบบสรุปตัดตอนคือ ทำให้เราส่งออกได้น้อยหรือ “ติดลบ”อย่างที่เห็น แม้ว่าจะว่าไปแล้วเรายังดีกว่าหลายประเทศที่เรามีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งไม่เช่นนั้นจะหนักกว่านี้อีก
หลายคนมองว่า ทำไมเวียดนาม ประเทศเพื่อนบ้านที่มีเศรษฐกิจเติบโต มีจีดีพีสวนกระแสสูงถึงร้อยละ 7 ก็อาจจะจริง แต่หากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วเป็นเพราะขนาดเศรษฐกิจของเรานั้นใหญ่กว่าเวียดนามมาก ยังเป็นแบบอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน ถึงขั้นกลางเท่านั้น หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพของเวียดนามในตอนนี้ ก็เหมือนกับไทยย้อนยุคไปเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน แต่ก็กำลังไล่กวดใกล้ทันไทยเข้ามาทุกทีแล้ว
อย่างไรก็ดี สำหรับเศรษฐกิจในปีใหม่ 2563 หากมองในแง่ดี ก็ต้องบอกว่าเริ่มมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างน้อยในแง่ของเศรษฐกิจโลก นั่นคือ บรรยากาศของสงครามการค้าที่เริ่มคลี่คลายลงมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนจะมีการลงนามยุติสงครามภาษีนำเข้าใน “เฟสหนึ่ง”หรืออาจเรียกตามความจริงในความหมายการ “หยุดยิง”น่าจะถูกต้องกว่า แต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีกว่าเดิม ทำให้คาดหมายกันว่า จะทำให้บรรยากาศในทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับไทยด้วยในด้านการส่งออก และเป็นผลดีต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจภายในประเทศไปด้วย
แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่การที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น มันก็ต้องขึ้นอยู่กับผลงานของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการในการยกระดับราคาสินค้าเกษตรหลักๆ จะต้องดีขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีสินค้าเกษตรบางตัว เช่น ปาล์มน้ำมัน ที่ราคาดีขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายการส่งเสริมการใช้น้ำมัน “บี10”ของกระทรวงพลังงาน ที่นำโดย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จนทำให้เวลานี้ราคาปาล์มสูงขึ้นเกินกิโลกรัมละ 6 บาทแล้ว และกำลังเดินหน้าพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น อ้อย กับมันสำปะหลังในปีนี้ เพื่อมาใช้เป็นส่วนผสม ในน้ำมันเบนซิน หากทำได้สำเร็จเหมือนกับปาล์มน้ำมัน ก็จะสร้างความยั่งยืนและสร้างความพอใจให้กับเกษตรกร
จะเหลือก็แต่ปัญหาราคายางพาราที่ยังตกต่ำ ไม่กระเตื้อง ส่วนราคาข้าวก็ถือว่าไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป แต่ปัญหาก็คือ ต้องประสบภัยแล้งเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลงเสียอีก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาท้าทายรัฐบาล และรัฐมนตรีเศรษฐกิจทั้งหลายที่ต้องร่วมมือกัน
แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีโครงการการประกันราคา แต่ก็ถือว่าต้องใช้เงินงบประมาณไปชดเชยราคาส่วนต่าง ซึ่งก็ต้องใช้งบประมาณไปไม่น้อย แต่ก็ถือว่า สำหรับเกษตรกรแล้วก็มีหลักประกันบ้าง และยังเป็นการกระจายรายได้ช่วยรักษาเงินในกระเป๋าได้บ้างในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้
แน่นอนว่าปัญหาเศรษฐกิจหลักๆ อีกสาเหตุหนึ่งที่ซ้ำเติมเข้ามาก็คือปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณปี 2563 ที่ล่าช้า คาดว่าจะมีการอนุมัติใช้ได้ในราวเดือนมีนาคมนี้ และมีเวลาสำหรับเบิกจ่ายประมาณแค่ 7 เดือนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน นั่นคืองบประมาณปี 2564 ที่จะออกมาตามตารางเวลาปกติแล้วมาสมทบมันก็เหมือนกับ“สองเด้ง”ในการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกัน ทำให้เกิดการลงทุน ในโครงการขนาดใหญ่ที่สามารถเดินหน้าได้เต็มกำลัง
ดังนั้นหากให้สรุปว่าปัญหาเศรษฐกิจยังเป็นเรื่องหนักก็อาจจะใช่ แต่อีกมุมหนึ่งมันก็มีแนวโน้มทางบวกมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่จุดชี้ขาดก็ยังเป็นเรื่อง “ปากท้อง”ที่ยังเป็นโจทย์ใหญ่ ซึ่งต้องบริหารจัดการในเรื่องราคาสินค้าเกษตรตัวหลักให้ราคาดีกว่าเดิม เพราะหากสินค้าพวกนี้ราคาดี ก็จะส่งผลต่อรายได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปในตัว
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งในด้านการเมือง นั้นแม้จะคาดการณ์กันว่าจะร้อนแรงไม่แพ้กัน แต่เมื่อพิจารณาจากความเป็น “เอกภาพ”ของพรรคร่วมรัฐบาลในปีที่ผ่านมา ถือว่าทำได้ดี อีกทั้งเมื่อได้เสียงฝ่ายรัฐบาลเข้ามาเพิ่มก็ทำให้คลายภาวะ “เสียงปริ่มน้ำ”ลงไปได้บ้าง และแม้ว่าอีกไม่กี่
วันข้างหน้าฝ่ายค้านเตรียมที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในราวปลายเดือนมกราคม เป็นการเพิ่มดีกรีทางการเมือง แต่อย่างที่รู้กันว่าเมื่อมีเสียงเข้ามาเพิ่ม ก็สร้างความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีความกังวลว่าอาจจะบานปลายเหมือนทุกครั้ง แต่หากสามารถบังคับให้เข้าไปในสภาฯได้ ทุกอย่างก็เดินไปตามขั้นตอน
แม้ว่าการเมืองที่ถูกจับตาก็น่าจะมีเพียงกรณีของพรรคอนาคตใหม่ และพวกแกนนำที่โดนคดีสำคัญทั้งคำร้องให้ยุบพรรคจากคดีล้มล้างการปกครอง และ คดีปล่อยเงินกู้ที่งวดเข้ามาทุกขณะ หรือการจับตามองการปลุกระดมจากแกนนำพรรคเพื่อหวังสร้างแรงกดดันกับทั้งศาลรัฐธรรมนูญและฝ่ายรัฐบาล แม้จะน่าห่วง แต่นาทีนี้สังคมมองออกแล้วว่ามันเป็นปัญหาส่วนตัวที่สร้างขึ้นมาเอง จึงไม่ค่อยมีน้ำหนักมากนัก
**ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพรวมๆ ในปีใหม่ 2563 ที่มาถึงแล้วทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องเศรษฐกิจยังน่าเป็นห่วง แต่ยังเชื่อว่าสำหรับ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี น่าจะยังเอาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการเมือง แต่สำหรับปัญหาเศรษฐกิจหากปัจจัยภายนอกเริ่มคลี่คลายประกอบกับสามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างทันเวลาในเวลาไล่เลี่ยกันทั้งงบปี 63 และ ปี 64 จนเป็น “สองเด้ง”สองแรงบวกจนทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนได้เต็มที่กว่าเดิม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ “เอกภาพ”ของพรรคร่วมรัฐบาลหากทำได้ดีมันก็ย่อมส่งผลดี โดยเฉพาะปัญหา “ปากท้อง”ที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่สุด มีความเสี่ยงที่สุด หากปล่อยให้ทั้งสองเรื่องผสมโรง มันก็มีสิทธิ์ “ล่องจุ๊น”ได้เหมือนกัน !!