วานนี้ ( 9 ธ.ค.) นายอภินันท์ จันทร์อุปละ ผอ.การเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่าจากกรณีที่ ผอ.การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 7 จ.ขอนแก่น ได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 7 แทนตำแหน่งที่ว่าง ครบทั้ง 4 คน ที่ยื่นสมัครไปเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าในวันที่ 6 ธ.ค.ได้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ยื่นคัดค้านประกาศของผอ.เขตเลือกตั้งที่ 7 โดยเห็นว่า นายธนิก มาสีพิทักษ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัคร เนื่องจากมีชื่อเป็นผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ทางสำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดขอนแก่น จึงได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ส่งไปยังสำนักงานกกต.กลาง เพื่อให้เสนอเรื่องให้ กกต.กลางพิจารณา ซึ่งคาดว่า กกต.จะมีการวินิจฉัยชี้ขาดภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ก่อนการเปิดรับสมัคร เมื่อวันที่ 28 พ.ย. พรรคเพื่อไทย ได้มีหนังสือขอหารือมายัง กกต.เมื่อ 21 พ.ย.ว่า ผู้มีชื่อเป็นผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 62 ที่มีการประกาศรับรองผลเลือกตั้งไปแล้ว จะไปลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ระบบเขต ในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างได้หรือไม่
แต่ กกต. ก็ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจน ระบุเพียงว่า เป็นหน้าที่ของพรรคเมืองที่ต้องพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งในการยื่นสมัครของนายธนิกในวันที่ 28 พ.ย.นั้น มีรายงานว่านอกจากนายธนิก จะยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานต่างๆแล้ว ยังได้ยื่นหนังสือขอถอนชื่อ จากการเป็นผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อด้วย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในการพิจารณาของที่ประชุมกกต. ขณะนั้น มีความเห็นเป็น 2 ทาง โดยทางหนึ่งเห็นว่า ไม่สามารถลงสมัครได้ เนื่องจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 43 ได้เขียนล็อกไว้ให้ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ที่พรรคส่งสมัคร นอกจากจะลงสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขต มิได้ ยังต้องไม่เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ มีโอกาสได้รับการเลื่อนลำดับเป็นส.ส. อยู่ตลอด จะอ้างว่าผลการเลือกตั้งระบบเขตของพรรคเพื่อไทย โอเวอร์แฮงค์ ไม่มีโอกาสได้ ส.ส.ระบบบัญชีแล้ว ผู้สมัครจึงสามารถไปลงในระบบเขตได้ คงไม่ถูกต้อง เพราะคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคนั้น จะยังมีโอกาสขยับได้ หากมีการเลือกตั้งจากเหตุทุจริตภายใน 1 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่พ้นระยะเวลาดังกล่าว
ขณะที่อีกทางหนึ่งเห็นว่า เมื่อการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ก็ถือว่าการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.ได้จบสิ้นไป ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็น่าจะไปลงสมัคร ส.ส.ในระบบเขต ที่มีการเลือกตั้งซ่อมได้ ซึ่งคาดในการประชุมกกต. วันที่ 11 ธ.ค.นี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดย มาตรา 51 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดว่า กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้สมัครผู้ใดเห็นว่า ผู้มีชื่อในประกาศรายชื่อที่ ผอ.เลือกตั้งประจำเขตได้ประกาศให้เป็นผู้สมัคร ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อกกต. ภายใน 7 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อ ในกรณีที่ กกต.มีคำวินิจฉัยให้ถอนการรับสมัครของผู้ใด ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัย กกต. ต่อศาลฎีกาได้ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ถูกถอนการรับสมัคร และในกรณีที่ศาลฎีกายังไม่ได้มีคำวินิจฉัยเป็นประการใดก่อนวันเลือกตั้ง ให้การพิจารณาเป็นอันยุติ และให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามคำสั่งของกกต.
สำหรับการเลือกตั้งส.ส.เขต 7 จ.ขอนแก่น แทนตำแหน่งที่ว่าง มีผู้สมัครทั้งสิ้น 4 คน คือ นายธนิก พรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 นายสมศักดิ์ คุณเงิน พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 2 พ.ต.อ.กิตติกรู กาญจนสกุล พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 3 และ นายสุทัศน์ ผลบุญ พรรคพัฒนาชาติ หมายเลข4
ทั้งนี้ ก่อนการเปิดรับสมัคร เมื่อวันที่ 28 พ.ย. พรรคเพื่อไทย ได้มีหนังสือขอหารือมายัง กกต.เมื่อ 21 พ.ย.ว่า ผู้มีชื่อเป็นผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 62 ที่มีการประกาศรับรองผลเลือกตั้งไปแล้ว จะไปลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ระบบเขต ในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างได้หรือไม่
แต่ กกต. ก็ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจน ระบุเพียงว่า เป็นหน้าที่ของพรรคเมืองที่ต้องพิจารณาคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งในการยื่นสมัครของนายธนิกในวันที่ 28 พ.ย.นั้น มีรายงานว่านอกจากนายธนิก จะยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานต่างๆแล้ว ยังได้ยื่นหนังสือขอถอนชื่อ จากการเป็นผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อด้วย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าในการพิจารณาของที่ประชุมกกต. ขณะนั้น มีความเห็นเป็น 2 ทาง โดยทางหนึ่งเห็นว่า ไม่สามารถลงสมัครได้ เนื่องจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 43 ได้เขียนล็อกไว้ให้ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ที่พรรคส่งสมัคร นอกจากจะลงสมัครรับเลือกตั้งเกินหนึ่งเขต มิได้ ยังต้องไม่เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ มีโอกาสได้รับการเลื่อนลำดับเป็นส.ส. อยู่ตลอด จะอ้างว่าผลการเลือกตั้งระบบเขตของพรรคเพื่อไทย โอเวอร์แฮงค์ ไม่มีโอกาสได้ ส.ส.ระบบบัญชีแล้ว ผู้สมัครจึงสามารถไปลงในระบบเขตได้ คงไม่ถูกต้อง เพราะคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคนั้น จะยังมีโอกาสขยับได้ หากมีการเลือกตั้งจากเหตุทุจริตภายใน 1 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่พ้นระยะเวลาดังกล่าว
ขณะที่อีกทางหนึ่งเห็นว่า เมื่อการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ก็ถือว่าการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.ได้จบสิ้นไป ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็น่าจะไปลงสมัคร ส.ส.ในระบบเขต ที่มีการเลือกตั้งซ่อมได้ ซึ่งคาดในการประชุมกกต. วันที่ 11 ธ.ค.นี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดย มาตรา 51 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดว่า กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้สมัครผู้ใดเห็นว่า ผู้มีชื่อในประกาศรายชื่อที่ ผอ.เลือกตั้งประจำเขตได้ประกาศให้เป็นผู้สมัคร ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อกกต. ภายใน 7 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อ ในกรณีที่ กกต.มีคำวินิจฉัยให้ถอนการรับสมัครของผู้ใด ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัย กกต. ต่อศาลฎีกาได้ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ถูกถอนการรับสมัคร และในกรณีที่ศาลฎีกายังไม่ได้มีคำวินิจฉัยเป็นประการใดก่อนวันเลือกตั้ง ให้การพิจารณาเป็นอันยุติ และให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามคำสั่งของกกต.
สำหรับการเลือกตั้งส.ส.เขต 7 จ.ขอนแก่น แทนตำแหน่งที่ว่าง มีผู้สมัครทั้งสิ้น 4 คน คือ นายธนิก พรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 นายสมศักดิ์ คุณเงิน พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 2 พ.ต.อ.กิตติกรู กาญจนสกุล พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 3 และ นายสุทัศน์ ผลบุญ พรรคพัฒนาชาติ หมายเลข4