ผู้จัดการรายวัน360-บอร์ดรฟม.เคาะมาตรการลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า MRTสายสีม่วงและสีน้ำเงิน เริ่ม 25 ธ.ค. เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อประเมินผลตอบรับ คลอดตั๋วเดือน นั่ง สีน้ำเงินเชื่อมม่วง ลดต่ำสุดเหลือ 47 บาท จาก 70 บาทต่อเที่ยว
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วานนี้ (19 พ.ย.) ที่ประชุมบอร์ดรฟม. เห็นชอบแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ด้วยการลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าMRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง โดยที่ผ่านมาได้ทำการศึกษารายละเอียด รูปแบบตั๋วเดือน ตั๋วเที่ยว โดย การปรับลดราคาค่าโดยสาร ดังกล่าวจะต้องไม่กระทบสัญญาสัมปทานกับเอกชน
ทั้งนี้ จากที่มีกระแสข่าวเรื่องนโยบายการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้ นั้น จากการสำรวจ เสียงตอบรับของประชาชนผ่านสื่อโซเชียล พบว่า ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า ไม่ควรลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้ามากเกินไป เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อภาครัฐ แต่เห็นด้วย กับการจัดทำ โปรโมชั่นตั๋วเดือนหรือตั๋วเที่ยว
ซึ่งการทำโปรโมชั่นตั๋วเดือนและตั๋วเที่ยวนั้น รฟม.ได้หารือกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน เบื้องต้น BEMพร้อมร่วมมือ โดยจะช่วยประชาสัมพันธ์และเสนอโปรโมชั่น การใช้บริการในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน . ส่วนสายสีม่วง
อย่างไรก็ตาม มาตรการในการให้ส่วนลดค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้น จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 62 กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการ ช่วง 3 เดือนโดยจะมีการ ทดลองและประเมินผล ว่า ได้รับการตอบรับจากประชาชนหรือไม่ และมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยจะมีการพิจารณาว่าจะเริ่มดำเนินการก่อนหรือหลังปีใหม่ โดยหลังจากบอรืดเห็นชอบจะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี รับทราบ
“เป้าหมายคือ หากโปรโมชั่นลดราคาหรือแพคเกจดี จะช่วยกระตุ้นทำให้ประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามากขึ้น ประมาณ 10% ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบราง เพื่อลดปัญหาการจราจรทางถนน และลดปัญหามลภาวะ “
สำหรับโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง ) เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ช่วงเวลา 09.00- 17.00 น. และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขกตฤกษ์) ทั้งวัน จากเดิมเก็บค่าโดยสาร 14-42 บาท ต่อเที่ยว สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจะปรับค่าโดยสารเป็น 14-20 บาท สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ซื้อเหรียญโดยสาร (Token) และใช้เดินทางภายในช่วงเวลาที่กำหนด คือ เดินทางเข้าสถานีแรกคิดค่าแรกเข้า 14 บาท เดินทาง 1 สถานี คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 17 บาท เดืนทาง 2 สถานีขึ้นไป คิดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
สำหรับโปรโมชั่นเดินทางแบบ 30 วัน สำหรับรถไฟฟ้า MRT 2 สาย คือสีน้ำเงิน และสีม่วง จากเดิมอัตรารวมสูงสุด70 บาทต่อเที่ยว บัตร MRT Plus ซึ่งปัจจุบันมีการเดินทางข้ามระบบ 4 หมื่นคนต่อวัน
โดยมีตั๋วเดือน กำหนดเที่ยว มีระยะเวลาการใช้ 30 วัน มี 4 ประเภท ได้แก่ 1. ตั๋ว 15 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 780 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว 2. ตั๋ว 25 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,250 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว 3. ตั๋วแบบ 40 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,920 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว 4.ตั๋วแบบ 50 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 2,350 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วานนี้ (19 พ.ย.) ที่ประชุมบอร์ดรฟม. เห็นชอบแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ด้วยการลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าMRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง โดยที่ผ่านมาได้ทำการศึกษารายละเอียด รูปแบบตั๋วเดือน ตั๋วเที่ยว โดย การปรับลดราคาค่าโดยสาร ดังกล่าวจะต้องไม่กระทบสัญญาสัมปทานกับเอกชน
ทั้งนี้ จากที่มีกระแสข่าวเรื่องนโยบายการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้ นั้น จากการสำรวจ เสียงตอบรับของประชาชนผ่านสื่อโซเชียล พบว่า ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า ไม่ควรลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้ามากเกินไป เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อภาครัฐ แต่เห็นด้วย กับการจัดทำ โปรโมชั่นตั๋วเดือนหรือตั๋วเที่ยว
ซึ่งการทำโปรโมชั่นตั๋วเดือนและตั๋วเที่ยวนั้น รฟม.ได้หารือกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน เบื้องต้น BEMพร้อมร่วมมือ โดยจะช่วยประชาสัมพันธ์และเสนอโปรโมชั่น การใช้บริการในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน . ส่วนสายสีม่วง
อย่างไรก็ตาม มาตรการในการให้ส่วนลดค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้น จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 62 กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการ ช่วง 3 เดือนโดยจะมีการ ทดลองและประเมินผล ว่า ได้รับการตอบรับจากประชาชนหรือไม่ และมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยจะมีการพิจารณาว่าจะเริ่มดำเนินการก่อนหรือหลังปีใหม่ โดยหลังจากบอรืดเห็นชอบจะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี รับทราบ
“เป้าหมายคือ หากโปรโมชั่นลดราคาหรือแพคเกจดี จะช่วยกระตุ้นทำให้ประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามากขึ้น ประมาณ 10% ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้ประชาชนเดินทางด้วยระบบราง เพื่อลดปัญหาการจราจรทางถนน และลดปัญหามลภาวะ “
สำหรับโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง ) เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ช่วงเวลา 09.00- 17.00 น. และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขกตฤกษ์) ทั้งวัน จากเดิมเก็บค่าโดยสาร 14-42 บาท ต่อเที่ยว สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจะปรับค่าโดยสารเป็น 14-20 บาท สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ซื้อเหรียญโดยสาร (Token) และใช้เดินทางภายในช่วงเวลาที่กำหนด คือ เดินทางเข้าสถานีแรกคิดค่าแรกเข้า 14 บาท เดินทาง 1 สถานี คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 17 บาท เดืนทาง 2 สถานีขึ้นไป คิดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
สำหรับโปรโมชั่นเดินทางแบบ 30 วัน สำหรับรถไฟฟ้า MRT 2 สาย คือสีน้ำเงิน และสีม่วง จากเดิมอัตรารวมสูงสุด70 บาทต่อเที่ยว บัตร MRT Plus ซึ่งปัจจุบันมีการเดินทางข้ามระบบ 4 หมื่นคนต่อวัน
โดยมีตั๋วเดือน กำหนดเที่ยว มีระยะเวลาการใช้ 30 วัน มี 4 ประเภท ได้แก่ 1. ตั๋ว 15 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 780 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 52 บาทต่อเที่ยว 2. ตั๋ว 25 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,250 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 50 บาทต่อเที่ยว 3. ตั๋วแบบ 40 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 1,920 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 48 บาทต่อเที่ยว 4.ตั๋วแบบ 50 เที่ยว (ราคาจำหน่าย 2,350 บาท) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย 47 บาทต่อเที่ยว